ในละครเพลงยอดนิยมเรื่อง แฮมิลตัน พระเจ้าจอร์จที่ 3 กษัตริย์แห่งอังกฤษถูกนำเสนอในแนวขบขันว่าเป็นวายร้ายที่ฟั่นเฟือน อย่างไรก็ตามชีวประวัติใหม่ของพระเจ้าจอร์จบอกว่าพระองค์ไม่ใช่ทรราชย์ที่บรรยายไว้ใน คำประกาศอิสรภาพของแฮมิลตันหรือของอเมริกา หากพระเจ้าจอร์จเป็นเผด็จการที่โหดร้ายอย่างที่ชาวอเมริกันกล่าวว่าพระองค์เป็น พระองค์คงหยุดการเรียกร้องเอกราชของพวกเขาด้วยมาตรการทางทหารที่หนักหน่วงเพื่อหวังทำลายทุกสิ่ง แต่ก็ทรงยับยั้งไว้ด้วยภาวะจิตใจอย่างผู้ที่ “มีอารยธรรม นิสัยดี”

ไม่มีใครรู้ว่าพระเจ้าจอร์จทรงสิ้นพระชนม์ไปด้วยความเสียใจไหม รัชกาลของพระองค์อาจประสบความสำเร็จมากกว่านี้หรือไม่หากทรงแข็งกร้าวต่อประชาชนของพระองค์

นั่นไม่จำเป็นเลย ในพระคัมภีร์เราอ่านเรื่องกษัตริย์เยโฮรัมผู้ซึ่งสถาปนาบัลลังก์ของพระองค์ให้มั่นคงโดย “ประหารพระอนุชาของพระองค์เสียหมดด้วยดาบ ทั้งเจ้านายบางคนของยูดาห์ด้วย” (2พศด.21:4) กษัตริย์เยโฮรัม “กระทำสิ่งที่ชั่วร้ายในสายพระเนตรพระเจ้า” (ข้อ 6) การปกครองที่โหดเหี้ยมทำให้เกิดความแตกแยกในหมู่ประชาชน ผู้ซึ่งมิได้ร่ำไห้ต่อการสิ้นพระชนม์อันน่าสยดสยองของพระองค์ และมิได้ “ก่อเพลิงถวายเกียรติแก่พระองค์” (ข้อ 19)

นักประวัติศาสตร์อาจถกเถียงกันว่าพระเจ้าจอร์จผ่อนปรนเกินไปหรือไม่ แต่กษัตริย์เยโฮรัมรุนแรงเกินไปอย่างแน่นอน วิธีที่ดีกว่าคือวิธีของพระเยซูองค์กษัตริย์ผู้ “บริบูรณ์ด้วยพระคุณและความจริง” (ยน.1:14) ความคาดหวังของพระคริสต์นั้นเด็ดขาด (ทรงเรียกร้องความจริง) ทว่าพระองค์ทรงโอบกอดผู้ที่ล้มเหลว (ประทานพระคุณ) พระเยซูทรงเรียกเราที่เชื่อในพระองค์ให้ทำตามการทรงนำจากนั้นพระองค์ประทานกำลังให้เราทำได้โดยการนำขององค์พระวิญญาณ