ทุกยุคทุกวัย
พ่อกับแม่แต่งงานกันในปี 1933 ผมและภรรยาเกิดในยุคเบบี้บูมเมอร์ ลูกสาวของผมเกิดในยุค 70-80 เราเกิดและเติบโตกันคนละยุค เราจึงมีความคิดแตกต่างกันหลายอย่าง วัย ประสบการณ์ชีวิต และค่านิยมก็ต่างกัน แม้แต่ผู้ที่เชื่อพระเยซู แต่ไม่ว่าเราจะชอบใส่เสื้อผ้าหรือฟังเพลงต่างกัน ความผูกพันฝ่ายวิญญาณของเราก็เหนียวแน่น
เรานำอะไรกลับมา
จอห์น เอฟ เบิร์น เขียนข่าวเหตุการณ์โลกให้หนังสือพิมพ์นิวยอร์คไทมส์มานานถึง 40 ปี ในบทความหนึ่งที่เขาเขียนหลังจากเกษียณในปี 2015 เบิร์นเล่าถึงคำพูดของนักข่าวที่เป็นเพื่อนสนิทซึ่งใกล้จะเสียชีวิตเพราะมะเร็งว่า “อย่าลืมว่าไม่สำคัญว่าคุณจะเดินทางไปไกลแค่ไหน แต่สำคัญที่คุณนำอะไรกลับมา”
ไม่เกี่ยง
คริสตจักรในเมืองของผมทำบัตรต้อนรับที่แสดงถึงความรักและพระคุณของพระเจ้าที่มีให้ทุกคน บัตรนั้นเขียนว่า “ถ้าคุณคือ...คนดี คนบาป ผู้แพ้ ผู้ชนะ” ตามด้วยคำที่ใช้เรียกคนที่มีปัญหา เช่น “คนติดเหล้า คนหน้าซื่อใจคด คนขี้โกง คนขี้กลัว คนแปลกแยก...เราขอต้อนรับคุณ” ศิษยาภิบาลบอกผมว่า “ในการนมัสการวันอาทิตย์ เราอ่านออกเสียงข้อความในบัตรนี้ด้วยกัน”
พูดแบบนี้ได้ไหม?
ดร.บาร์บาร่า ฮาเวิร์ด กุมารแพทย์ด้านพัฒนาการพฤติกรรมกล่าวว่า “การมีลูกคนโปรดเป็นปัจจัยใหญ่ที่สุดข้อหนึ่งที่ทำให้พี่น้องทะเลาะกัน” ตัวอย่างจากพระคัมภีร์เดิมก็คือ โยเซฟซึ่งเป็นลูกชายคนโปรดของบิดาที่ทำให้พี่น้องไม่พอใจ (ปฐก.37:3-4) พี่น้องจึงขายโยเซฟให้กับพ่อค้าที่กำลังเดินทางไปอียิปต์ และแกล้งกุเรื่องว่าเขาถูกสัตว์ร้ายฆ่าตาย (ปฐก.37:12-36) ความฝันของเขาแตกสลายและอนาคตมืดดับลงไปทันที
บรรเลงคอนเสิร์ต
ผมประทับใจการบรรเลงเพลงร่วมกันของหลานสาวกับเพื่อนๆ วัย11-12 ปี ในคอนเสิร์ต หากเด็กแต่ละคนต้องการแสดงเดี่ยว แต่ละคนก็จะไม่อาจสำเร็จได้ในแบบที่ทั้งกลุ่มทำได้ร่วมกัน ผู้เล่นเครื่องเป่าไม้ ทองเหลืองและเครื่องประกอบจังหวะต่างก็ทำหน้าที่ของตนและผลลัพธ์คือ ดนตรีที่ไพเราะ!
จังหวะแห่งพระคุณ
เพื่อนของผมกับภรรยาซึ่งทั้งคู่อายุ 90 ต้นๆ และแต่งงานกันมา 66 ปีแล้ว ได้เขียนประวัติศาสตร์ครอบครัวไว้ให้ลูกหลานรุ่นต่อไปได้อ่าน บทสุดท้ายชื่อว่า “จดหมายจากพ่อกับแม่” มีบทเรียนชีวิตสำคัญๆ ที่ท่านได้เรียนรู้ มีเรื่องหนึ่งที่ทำให้ผมหยุดและทบทวนชีวิตตัวเอง “ถ้าคุณพบว่าคริสตศาสนาทำให้คุณเหนื่อย ทำให้หมดพลัง แสดงว่าคุณกำลังปฏิบัติศาสนกิจแทนที่จะมีความสุขในความสัมพันธ์กับพระเยซูคริสต์ การเดินกับพระเจ้าจะไม่ทำให้คุณเหนื่อย แต่จะทำให้คุณมีกำลัง ฟื้นเรี่ยวแรงและทำให้มีชีวิตชีวา” (มธ.11:28-29)
ท้าทายตัวเองสิบห้านาที
ดร.ชาร์ลส์ ดับเบิลยู. อีเลียต อธิการบดีมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดหลายสมัย เชื่อว่าคนธรรมดาที่อ่านวรรณกรรมเอกของโลกเป็นประจำแม้จะวันละไม่กี่นาทีจะได้วิชาความรู้อันมีค่า ในปี 1910 เขาได้รวบรวมบทอ่านที่เลือกจากหนังสือประวัติศาสตร์ วิทยาศาสตร์ปรัชญาและศิลปะเข้าเป็นหนังสือชุด 50 เล่มชื่อว่า ฮาร์วาร์ด คลาสสิคส์ แต่ละชุดมีคำแนะนำจากดร.อีเลียตชื่อว่า “วันละสิบห้านาที” ซึ่งมีตอนที่แนะนำให้อ่านวันละ 8-10 หน้าตลอดทั้งปี
ทุกสิ่งที่จำเป็น
ผมมักรู้สึกไม่เก่งพอสำหรับงานที่ต้องทำ ไม่ว่าจะเป็นการสอนรวีฯ การให้คำปรึกษาเพื่อนหรือเขียนบทความมานาประจำวัน ความท้าทายดูจะใหญ่กว่าความสามารถที่ผมมี ผมต้องเรียนรู้อีกมาก เช่นเดียวกับเปโตร
ความบกพร่อง
คำว่า บกพร่อง ใช้อธิบายถึงคน ครอบครัว ความสัมพันธ์ องค์กร และแม้แต่รัฐบาล คำว่า สมบูรณ์แบบ หมายถึงการทำงานตามหน้าที่อย่างเหมาะสม ส่วนคำว่า บกพร่อง มีความหมายตรงกันข้ามคือ เสีย ทำงานไม่ปกติ ไม่สามารถทำตามที่ออกแบบมา
ในจดหมายที่เปาโลเขียนถึงชาวโรม ท่านเริ่มต้นด้วยการบรรยายถึงมนุษยชาติที่บกพร่องฝ่ายวิญญาณ (รม.1:18-32) เราทุกคนล้วนมีส่วนในการกบฎนั้น “เขาทุกคนหลงผิดไปหมด เขาทั้งปวงเลวทรามเหมือนกันสิ้น ไม่มีสักคนเดียวที่กระทำดี ไม่มีเลย....เพราะว่าทุกคนทำบาปและเสื่อมจากพระสิริของพระเจ้า” (รม.3:12,23 )
ข่าวดีคือ “พระเจ้าทรงพระกรุณาให้เขาเป็นผู้ชอบธรรมโดยไม่คิดมูลค่าโดยที่พระเยซูคริสต์ทรงไถ่เขาให้พ้นบาปแล้ว...โดยความเชื่อจึงได้ผล” (รม.3:24-25) เมื่อเราเชิญพระคริสต์เขามาในชีวิตและยอมรับข้อเสนอแห่งการอภัยโทษและชีวิตใหม่จากพระเจ้า เรากำลังก้าวไปสู่การเป็นบุคคลในแบบที่พระเจ้าทรงสร้างให้เป็น เราจะไม่ได้สมบูรณ์แบบขึ้นในทันทีทันใด แต่เราไม่ต้องเป็นคนที่ล้มเหลวและบกพร่องอีกต่อไป
ทุกวันพระวิญญาณบริสุทธิ์จะประทานกำลังให้เราถวายเกียรติพระเจ้าในคำพูดและการกระทำ และ “ทิ้งตัวเก่า...และจงให้วิญญาณจิตของท่านเปลี่ยนใหม่และให้ท่านสวมสภาพใหม่ซึ่งทรงสร้างขึ้นใหม่ตามแบบอย่างของพระเจ้าในความชอบธรรมและความบริสุทธิ์ที่แท้จริง” (อฟ.4:22-24)