ผู้เขียน

ดูทั้งหมด

บทความ โดย John Blase

มากกว่าที่คิด

ถ้าได้ดูการแข่งขี่ม้าคล้องปศุสัตว์ คุณจะเห็นคนเหล่านั้น คือ ผู้เข้าแข่งขันที่มือหนึ่งมีสี่นิ้ว และตรงที่ควรจะเป็นนิ้วโป้งมีเพียงปุ่มเล็กๆ นี่เป็นการบาดเจ็บทั่วไปของกีฬาประเภทนี้ คือนิ้วโป้งติดอยู่ในห่วงต้องยื้อยุดกับปลายเชือกอีกด้านหนึ่งที่มีแรงดึงรุนแรง ซึ่งนิ้วโป้งมักจะเป็นฝ่ายแพ้ การบาดเจ็บนี้ไม่ถึงขั้นต้องจบอาชีพ แต่การไม่มีนิ้วโป้งทำให้หลายสิ่งเปลี่ยนไป ให้ลองทำสิ่งเหล่านี้โดยไม่ใช้นิ้วโป้ง ได้แก่แปรงฟัน ติดกระดุมเสื้อ หวีผม ผูกเชือกรองเท้า หรือรับประทานอาหาร ส่วนเล็กๆของร่างกายที่ถูกมองข้ามไปมีความสำคัญ

เปาโลชี้ให้เห็นสิ่งคล้ายกันนี้ในคริสตจักร บางครั้งคนเหล่านั้นที่ไม่ค่อยมีบทบาท หรือมักไม่ค่อยออกเสียงอาจพบกับท่าทีที่ว่า “ฉันไม่ต้องการคุณ” จากผู้อื่น (1 คร.12:21) โดยทั่วไปมักไม่มีใครพูดแบบนั้น แต่แสดงออกอย่างชัดเจน

พระเจ้าทรงเรียกให้เราเคารพและห่วงใยทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน (ข้อ 25) ทุกคนเป็นส่วนหนึ่งในพระกายของพระคริสต์ ไม่ว่าเราจะมีของประทานอะไร (ข้อ 27) และเราต้องการกันและกัน บางคนเป็นตาและหู และบางคนเป็น นิ้วโป้ง แต่ทุกคนมีบทบาทสำคัญในพระกายพระคริสต์ และบางครั้งมากกว่าที่เราเห็นเสียอีก

เราเป็นแต่ผงคลี

คุณพ่อวัยหนุ่มกำลังจนปัญญา ขณะที่ลูกชายวัยเตาะแตะร้องเสียงดังว่า “ไอติม ไอติม” ความงอแงกลางห้างสรรพสินค้าที่คนแน่นเริ่มเป็นที่สนใจของลูกค้าในบริเวณนั้น “ได้ แต่เราต้องทำอะไรให้คุณแม่ก่อน ตกลงไหม” ผู้เป็นพ่อกล่าว “ไม่เอา ไม่เอา ผมจะกินไอติม” แล้วผู้หญิงร่างเล็กแต่งตัวดีสวมรองเท้าเข้ากับกระเป๋าถือก็เดินเข้ามาหาสองพ่อลูก “เขาชอบใช้อารมณ์” ผู้เป็นพ่อกล่าว หญิงคนนั้นยิ้มและตอบว่า “แต่ฉันว่าอารมณ์กำลังใช้เขามากกว่า อย่าลืมนะคะว่าเขายังเล็กมาก คุณต้องอดทนและดูแลเขาใกล้ชิด” สถานการณ์ไม่ได้คลี่คลายอย่างน่าอัศจรรย์ แค่เพียงการหยุดพักสักครู่ที่จำเป็นสำหรับพ่อลูกคู่นี้ในเวลานั้น

คำพูดของสตรีที่มีปัญญาผู้นี้ดังก้องอยู่ในสดุดี 103 ดาวิดกล่าวถึงพระเจ้าผู้ทรง “พระกรุณาและมีพระคุณ ทรงกริ้วช้าและอุดมด้วยความรักมั่นคง” (ข้อ 8) แล้วยกภาพของบิดาในโลกที่ยังรู้จัก “สงสารบุตรของตน” ยิ่งกว่านั้นสักเท่าใด “พระเจ้าทรงสงสารบรรดาคนที่ยำเกรงพระองค์ฉันนั้น” (ข้อ 13) พระเจ้าพระบิดาทรง “ทราบโครงร่างของเรา ทรงระลึกว่าเราเป็นแต่ผงคลี” (ข้อ 14) ทรงทราบว่าเรายังเล็กและบอบบาง

เรามักจะล้มเหลวและถูกโถมทับโดยสิ่งที่โลกกว้างใหญ่ใบนี้หยิบยื่นให้ เป็นความมั่นใจอันน่าอัศจรรย์ที่ได้รู้ว่า พระบิดาของเราทรงอดทน อยู่กับเราเสมอ และอุดมด้วยความรัก - JB

ชีวิตที่ครบบริบูรณ์

ปีนั้นเป็นปี 1918 สงครามโลกครั้งที่หนึ่งใกล้จะสิ้นสุดลง ช่างภาพชื่อว่าเอริค เอ็นสตรอมรวบรวมผลงานของเขา เขาอยากจะให้มีภาพหนึ่งที่สื่อความรู้สึกเต็มอิ่มทั้งที่คนมากมายรู้สึกว่างเปล่า ภาพที่บัดนี้กลายมาเป็นภาพที่เขารักมากเป็นรูปของชายชราไว้เครานั่งอยู่ที่โต๊ะ ก้มศีรษะและพนมมืออธิษฐาน เบื้องหน้าเขามีเพียงหนังสือหนึ่งเล่ม แว่นตา ข้าวต้มหนึ่งถ้วย ขนมปังหนึ่งก้อน และมีดหนึ่งด้าม ไม่มากและไม่น้อยไปกว่านั้น

บางคนอาจบอกว่าภาพถ่ายนั้นแสดงถึงความขาดแคลน แต่เอ็นสตรอมกลับเห็นตรงกันข้าม ว่านี่คือชีวิตที่ครบบริบูรณ์ ชีวิตที่มีการขอบพระคุณ ชีวิตที่คุณและผมมีได้ไม่ว่าสถานการณ์จะเป็นเช่นไร พระเยซูประกาศข่าวดีในยอห์น 10 ว่า “ชีวิต...ครบบริบูรณ์” (10) เราทำความเสียหายอย่างร้ายแรงต่อข่าวดีนั้นโดยการเอาความบริบูรณ์ไปเทียบกับสิ่งของมากมาย ความบริบูรณ์ที่พระเยซูหมายถึงไม่อาจวัดโดยมาตรฐานของโลกเช่น ความร่ำรวย หรือบ้านและที่ดิน แต่เป็นหัวใจ ความคิด จิตวิญญาณ และกำลังที่เต็มด้วยการขอบพระคุณที่พระผู้เลี้ยงผู้ประเสริฐได้ประทาน “ชีวิตของตนเพื่อฝูงแกะ” (ข้อ 11) และทรงดูแลเราและความต้องการประจำวันของเรา นี่คือชีวิตที่บริบูรณ์ ชีวิตที่ชื่นชมยินดีในความสัมพันธ์กับพระเจ้า ที่เราแต่ละคนมีได้

วิถีชีวิตที่สรรเสริญ

แม่ของวอลเลซ สเต็กเนอร์เสียชีวิตตอนอายุ 50 ปี เมื่อวอลเลซอายุ 80 ปีเขาจึงได้เขียน “จดหมายที่สายเกินไป” ถึงท่าน ซึ่งยกย่องคุณความดีของสตรีคนหนึ่งที่เติบโต แต่งงาน และเลี้ยงลูกชายสองคนในยุคเริ่มต้นของอเมริกาตะวันตกอันยากลำบาก ท่านเป็นภรรยาและแม่ผู้ให้กำลังใจ แม้กระทั่งกับคนที่ไม่มีใครต้องการ วอลเลซยังจดจำความเข้มแข็งของแม่ที่รับรู้ได้จากน้ำเสียงของท่าน เขาเขียนว่า “แม่ไม่เคยพลาดโอกาสร้องเพลง” แม่ของสเต็กเนอร์ร้องเพลงด้วยใจขอบพระคุณสำหรับพระพรทั้งน้อยใหญ่ตลอดชีวิตของท่าน

ผู้เขียนสดุดีฉวยโอกาสร้องเพลงเช่นกัน ท่านร้องเพลงทั้งในวันที่ดีและไม่ค่อยดี ไม่ใช่เพลงที่ถูกบังคับหรือข่มขู่ให้ร้อง แต่เป็นการตอบสนองอย่างเป็นธรรมชาติต่อ “ผู้ได้ทรงสร้างฟ้าสวรรค์และแผ่นดินโลก” (146:6) และการที่พระองค์ “ประทานอาหารแก่คนที่หิว” (ข้อ 7) และ “ทรงเบิกตาของคนตาบอด” (ข้อ 8) และ “ทรงชูลูกกำพร้าพ่อและหญิงม่าย” (ข้อ 9) นี่เป็นวิถีชีวิตการขับร้องที่แท้จริง ซึ่งสร้างความแข็งแกร่งเหนือกาลเวลา ความวางใจในแต่ละวันอยู่ใน “พระเจ้าของยาโคบ” ผู้ “รักษาความสัตย์สุจริตไว้เป็นนิตย์” (ข้อ 5-6)

สิ่งสำคัญไม่ใช่คุณภาพเสียงของเรา แต่คือการตอบสนองของเราต่อความดีอันยั่งยืนของพระเจ้าด้วยการมีวิถีชีวิตที่สรรเสริญ เช่นที่บทเพลงนมัสการเก่าแก่บอกไว้ว่า “มีทำนองเพลงบรรเลงอยู่ภายใน”

อย่าลืมพระผู้ประทานให้

ตอนนั้นเป็นช่วงก่อนคริสต์มาส ลูกๆของเธอกำลังมีปัญหาเรื่องการรู้จักขอบคุณ เธอรู้ว่าความคิดแบบนี้เกิดขึ้นได้ง่าย แต่เธออยากมอบสิ่งที่ดีกว่าให้กับจิตใจของลูกๆ เธอจึงติดโบว์สีแดงไว้ทั่วบ้าน คือที่สวิตซ์ไฟ ตู้กับข้าว ตู้เย็น เครื่องซักผ้า เครื่องอบผ้า และก๊อกน้ำ มีข้อความผูกอยู่ที่โบว์เขียนว่า “เรามักมองข้ามของขวัญบางอย่างที่พระเจ้าให้ แม่เลยติดโบว์ที่สิ่งเหล่านั้น พระองค์ทรงแสนดีต่อครอบครัวเรา อย่าลืมว่าของขวัญเหล่านี้มาจากไหน”

ในเฉลยธรรมบัญญัติบทที่ 6 เราเห็นว่าอนาคตของชนชาติอิสราเอลขึ้นอยู่กับการยึดแผ่นดินที่มีอยู่แล้ว เพื่อพวกเขาจะได้ย้ายเข้าสู่เมืองใหญ่โตและดีซึ่งเขาไม่ได้สร้าง (ข้อ 10) และเรือนที่มีของดีเต็ม ซึ่งพวกเขามิได้สะสม และบ่อขังน้ำที่มิได้ขุดและสวนองุ่นกับสวนมะกอกเทศซึ่งเขามิได้ปลูกไว้ (ข้อ 11) พระพรทั้งหมดนี้ล้วนมาจากแหล่งเดียว คือ “พระเยโฮวาห์พระเจ้าของพวกท่าน” (ข้อ 10) และขณะที่พระเจ้าทรงจัดเตรียมสิ่งเหล่านี้และอีกมากมายให้ด้วยความรัก โมเสสไม่ต้องการให้ประชาชนลืม (ข้อ 12)

ในบางช่วงของชีวิต เราหลงลืมได้ง่าย แต่อย่าละสายตาจากความดีของพระเจ้าผู้ทรงเป็นแหล่งพระพรของเรา

ค้นพบชีวิตที่สงบ

"โตขึ้นหนูอยากเป็นอะไร” เราทุกคนเคยได้ยินคำถามนี้ตอนเป็นเด็กและแม้แต่ตอนที่เป็นผู้ใหญ่ เป็นคำถามที่เกิดจากความสนใจใคร่รู้และคำตอบบ่งบอกความมุ่งหมาย คำตอบของผมเปลี่ยนไปเรื่อยๆ ในช่วงหลายปี เริ่มจากโคบาล เป็นคนขับรถบรรทุก ตามด้วยทหารแล้วผมก็เข้ามหาวิทยาลัยโดยมีเป้าหมายที่จะเป็นแพทย์ แต่ไม่มีแม้สักครั้งที่มีคนแนะนำผมให้ใฝ่หา “ชีวิตที่สงบ” และผมก็นึกไม่ออกว่ามีใครใฝ่หาชีวิตเช่นนั้น

เหตุผลที่จะร้องเพลง

จะว่าไปแล้ว ถ้าเป็นคนที่เคร่งครัดในระเบียบวินัย ก็จะรู้สึกว่าตัวเองล้มเหลว ผมทำอะไรหรือ คือผมเผลอหลับไป เวลาลูกๆ ออกไปข้างนอกตอนเย็น พวกเขาต้องกลับบ้านภายในเวลาที่กำหนด ลูกๆ เป็นเด็กดี แต่ผมเคยชินที่ต้องรอจนกว่าจะได้ยินเสียงลูกบิดประตู ผมต้องการแน่ใจว่าลูกๆ กลับถึงบ้านอย่างปลอดภัย ผมไม่จำเป็นต้องทำแบบนั้น แต่ผมอยากทำ คืนหนึ่งผมรู้สึกตัวตื่นขึ้นตอนที่ลูกสาวพูดกับผมยิ้มๆ ว่า “พ่อคะ หนูปลอดภัยดี พ่อไปนอนเถอะ” ถึงแม้จะตั้งใจแน่วแน่ แต่คนที่เป็นพ่อก็เผลอหลับระหว่างปฎิบัติหน้าที่ ซึ่งทำให้เราต้องถ่อมใจและเป็นเรื่องธรรมดาของมนุษย์

มีเรื่องให้โอ้อวด

การสำแดงตัวตนแท้คืออะไร นั่นคือคำถามใหญ่ที่มีคำตอบในหนังสือเด็กเล่มเล็กๆ ชื่อกระต่ายกำมะหยี่เทียม ซึ่งเป็นเรื่องราวของของเล่นในสถานเลี้ยงเด็กกับการเดินทางของกระต่ายกำมะหยี่ตัวหนึ่ง ที่จะได้กลายเป็นกระต่ายจริงเมื่อมีเด็กคนหนึ่งรักมัน ของเล่นอีกชิ้นหนึ่งคือม้าล้อลากทำด้วยหนังซึ่งสูงอายุและฉลาด มัน “ได้เห็นของเล่นที่มีกลไกรุ่นแล้วรุ่นเล่าที่มาแล้วก็โอ้อวดและคุยโว แล้วค่อยๆ พังและจากไป” ของเล่นเหล่านั้นมีหน้าตาและเสียงน่าประทับใจ แต่การโอ้อวดของพวกมันในที่สุดแล้วไม่มีความหมายใดๆ เมื่อพูดถึงแง่ของความรัก

ปฏิบัติสิ่งที่ตนสอน

ยูจีน ปีเตอร์สัน ศิษยาภิบาลและนักเขียน ได้ฟังการบรรยายของพอล ตูนีเยร์ นายแพทย์ชาวสวิสและผู้ให้คำปรึกษาแบบอภิบาลที่ได้รับความนับถืออย่างสูง ปีเตอร์สัน เคยอ่านงานของเขาและชื่นชมแนวทางการรักษาของเขา ปีเตอร์สันประทับใจการบรรยายอย่างยิ่ง ขณะที่ฟัง เขารู้สึกว่าตูนีเยร์ดำเนินชีวิตตามสิ่งที่พูดและพูดสิ่งที่เขาทำ ปีเตอร์สันเลือกคำมาบรรยายประสบการณ์นั้น “สอดคล้อง เป็นคำที่เหมาะที่สุดที่ผมนึกออก”

เราใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ หากท่านใช้บริการเว็บไซต์นี้ต่อไป นั่นเป็นการแสดงว่าท่านยอมรับ นโยบายการใช้คุกกี้ของเรา