ผู้เขียน

ดูทั้งหมด

บทความ โดย David C. McCasland

เลือกทีหลัง

ในบางวัฒนธรรม คนที่อายุน้อยกว่าต้องให้ผู้อาวุโสเดินเข้าห้องไปก่อน แต่บางวัฒนธรรม คนสำคัญหรือคนที่มีตำแหน่งสูงสุดจะได้เดินเข้าไปก่อน แต่ไม่ว่าประเพณีของเราจะเป็นอย่างไร มีหลายครั้งที่เป็นเรื่องยากที่จะยอมให้สิทธิ์คนอื่นเลือกก่อนในเรื่องสำคัญๆ โดยเฉพาะเมื่อสิทธิ์นั้นเป็นของเราโดยชอบธรรม

เมย์เดย์!

สัญญาณแจ้งเหตุร้ายแบบสากลจะพูดซ้ำสามครั้งวา่ “เมยเ์ดย ์ เมย์เดย์ เมย์เดย์” เพื่อสื่อชัดเจนว่าเป็นเหตุฉุกเฉินถึงชีวิต คำนี้คิดขึ้นในปี1923 โดยเฟรเดริก แสตนลีย์ ม็อกฟอร์ด เจ้าหน้าที่วิทยุอาวุโสของสนามบินครอยดอนในลอนดอน ซึ่งปิดให้บริการแล้วจากที่เคยมีหลายเที่ยวบินไปกลับจากสนามบินเลอ บูร์คเจห์ในปารีส พิพิธภัณฑ์เนชันแนลมาริไทม์ให้ข้อมูลว่า ม็อกฟอร์ดนำคำนี้มาจากภาษาฝรั่งเศสว่า m’aidez ที่แปลว่า “ช่วยด้วย”

คนหนึ่งในพวกเรา

ในพิธีศพของชาลส์ ชูลซ์ (1922-2000) ผู้สร้างการ์ตูนสั้นพีนัตส์ มีนักเขียนการ์ตูนชื่อเคธี กุยส์ไวท์ซึ่งเป็นเพื่อนและผู้ร่วมงานได้พูดถึงความมีมนุษยธรรมและความเห็นอกเห็นใจของเขาว่า “เขามอบตัวละครแก่เราทุกคนในโลก ตัวละครที่รู้ว่าแท้จริงแล้วเราทุกคนรู้สึกอย่างไร เราจึงรู้สึกว่าเราไม่ได้โดดเดี่ยว เขายังได้อุทิศตนเองให้กับบรรดานักเขียนการ์ตูน เขาทำให้เรารู้สึกว่าไม่ได้อยู่ลำพัง...เขาให้กำลังใจ เห็นอกเห็นใจเรา ทำให้เรารู้สึกว่าเขาก็เป็นเหมือนกับเรา”

สุดใจ

คาเลบเป็นคนที่ “สุดใจ” เขาเป็นคนหนึ่งในสิบสองคนที่ไปสอดแนมดินแดนพันธสัญญาและบอกโมเสสและประชาชนว่า “ให้เราขึ้นไปทันทีและยึดเมืองนั้น เพราะพวกเรามีกำลังสามารถที่จะเอาชัยชนะได้” (กดว.13:30) แต่อีกสิบคนบอกว่าไม่มีทางสำเร็จแม้พระเจ้าจะทรงสัญญาไว้ พวกเขาก็มองเห็นแต่อุปสรรค (ข้อ 31-33)

พระกิตติคุณที่ถูกแชร์

โครงการไวรัลเท็กซ์ของมหาวิทยาลัยนอร์ธอีสเทิร์นในบอสตัน ศึกษาเรื่องการเผยแพร่เนื้อหาด้วยสิ่งพิมพ์ในทศวรรษที่ 1800 ผ่านทางหนังสือพิมพ์ซึ่งถือเป็นสื่อสังคมยุคนั้น บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ซ้ำมากกว่า 50 ครั้งถือว่าเป็นบทความที่ “ถูกแชร์”มากที่สุดในยุคอุตสาหกรรมนั้น บริตต์ ปีเตอร์สันเขียนในนิตยสารสมิธโซเนียนว่า มีบทความสมัยศตวรรษที่ 19 บทความหนึ่งเกี่ยวกับสาวกของพระเยซูและการสละชีวิตเพื่อความเชื่อปรากฏในสิ่งพิมพ์ต่างๆ มากกว่า 110 ฉบับ

อัจฉริยะลานขยะ

โนอาห์ เพียวริฟอยเริ่มการเป็นศิลปิน “ผสมผเส” ด้วยเศษซากจากการจลาจลปี 1965 จำนวนสามตันในแถบวัตต์ เมืองลอสแอนเจลิส เขาและเพื่อนร่วมงานนำสิ่งที่ใช้ไม่ได้แล้วตั้งแต่ล้อจักรยาน ลูกโบว์ลิ่ง ยางรถยนต์ไปจนถึงโทรทัศน์เสียมาสรรค์สร้างเป็นงานประติมากรรมที่สื่อถึงผู้คนที่ถูกปฏิบัติราวกับเป็น “ของถูกทิ้ง” ในสังคมสมัยใหม่ได้อย่างมีพลัง ผู้สื่อข่าวคนหนึ่งเรียกเพียวริฟอยว่า “อัจฉริยะลานขยะ”

มันสร้างความสุขไหม

หนังสือเกี่ยวกับการจัดบ้านที่เขียนโดยหญิงสาวชาวญี่ปุ่นคนหนึ่งขายได้กว่าสองล้านเล่มทั่วโลก สิ่งที่มาริเอะ คนโดะถ่ายทอด ได้ช่วยผู้คนให้กำจัดสิ่งของที่ไม่จำเป็นในบ้านและในตู้เก็บของ หรือสิ่งที่ถ่วงพวกเขาอยู่ เธอบอกว่า “ให้เอาแต่ละชิ้นมาถือไว้ในมือและถามว่า ‘สิ่งนี้สร้างความสุขไหม’” ถ้าใช่ก็เก็บไว้ ถ้าไม่ใช่ก็ทิ้งไป

ห่วงใยเสมอ

วันที่ลูกสาวคนเล็กของเราบินจากมิวนิคไปบาร์เซโลนา ผมใช้เว็บไซต์ติดตามเส้นทางบินเพื่อดูว่าเธอถึงที่ไหนแล้ว พอผมใส่หมายเลขเที่ยวบิน หน้าจอคอมพิวเตอร์ก็ขึ้นว่าเครื่องบินผ่านออสเตรียไปแล้วและกำลังบินเลียบทางเหนือของอิตาลี จากนั้น เครื่องจะบินข้ามทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ทางใต้ของชายฝั่งเฟรนช์ริวีเอราเข้าสู่สเปน และจะลงจอดตรงเวลา ดูเหมือนสิ่งเดียวที่ผมไม่รู้คือพนักงานต้อนรับเสริฟอะไรเป็นอาหารกลางวัน!

สร้างใหม่

เมื่อเอ็ดเวิร์ด คลีเดินทางกลับไปเบอร์ลินหลังจากจากมาหลายปี เมืองที่เขาเคยรักและจดจำก็ไม่อยู่ที่นั่นแล้ว เบอร์ลินเปลี่ยนไปมาก เขาเองก็เช่นกัน คลีเขียนในนิตยสาร เฮมิสเฟียร์ส ว่า “การกลับไปเมืองที่คุณเคยรักถือได้ว่าห้าสิบห้าสิบ...คุณอาจผิดหวัง” การกลับไปยังสถานที่ในอดีตอาจทำให้รู้สึกโศกเศร้าหรือสูญเสีย เราไม่ใช่คนเดิมที่เราเคยเป็น สถานที่ที่เคยสำคัญสำหรับชีวิตเราก็ไม่เหมือนเดิม

เราใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ หากท่านใช้บริการเว็บไซต์นี้ต่อไป นั่นเป็นการแสดงว่าท่านยอมรับ นโยบายการใช้คุกกี้ของเรา