ผู้เขียน

ดูทั้งหมด
Lisa M. Samra

Lisa Samra

Lisa desires to see Christ glorified in her life and in the ministries where she serves. Born and raised in Texas, Lisa is always on the lookout for sweet tea and brisket. She graduated with a Bachelor of Journalism from the University of Texas and earned a Master of Biblical Studies degree from Dallas Theological Seminary. Lisa now lives in Grand Rapids, Michigan, with her husband, Jim, and their four children. In addition to writing, she is passionate about facilitating mentoring relationships for women, and developing groups focused on spiritual formation and leadership development. Lisa has been blessed to travel extensively and often finds inspiration from experiencing the beauty of diverse cultures, places, and people. Lisa enjoys good coffee, running, and reading—just not all at the same time.

บทความ โดย Lisa Samra

ข้าพระองค์ได้เห็นความสัตย์ซื่อของพระเจ้า

ตลอดประวัติศาสตร์เจ็ดสิบปีในฐานะประมุขของสหราชอาณาจักร พระราชินีเอลิซาเบธที่ 2 ได้ทรงเขียนคำนำเกี่ยวกับชีวิตของพระองค์ไว้ในหนังสือพระราชประวัติเพียงเล่มเดียวที่ชื่อ ราชินีผู้รับใช้และกษัตริย์ที่เธอรับใช้ หนังสือเล่มนี้จัดพิมพ์เพื่อฉลองวันคล้ายวันพระราชสมภพครบรอบ 90 พรรษา โดยเล่าถึงความเชื่อของพระองค์ที่ได้นำพระองค์ให้ทรงรับใช้ประเทศชาติ ในคำนำพระองค์แสดงความขอบคุณที่ทุกคนอธิษฐานเผื่อพระองค์ และขอบคุณพระเจ้าในความรักมั่นคงของพระองค์ พระราชินีทรงสรุปว่า “ฉันได้เห็นความสัตย์ซื่อของพระองค์จริงๆ”

ถ้อยแถลงที่เรียบง่ายของพระราชินีสะท้อนคำพยานของชายและหญิงในตลอดประวัติศาสตร์ ที่ได้มีประสบการณ์ส่วนตัวถึงความสัตย์ซื่อของพระเจ้าในการดูแลชีวิตของพวกเขา นี่เป็นหัวข้อสำคัญที่แฝงอยู่ในบทเพลงอันไพเราะที่กษัตริย์ดาวิดประพันธ์เมื่อทรงไตร่ตรองถึงชีวิตของตนเอง บทเพลงที่บันทึกในพระธรรม 2 ซามูเอล 22 นี้กล่าวถึงความสัตย์ซื่อของพระเจ้าในการปกป้องดาวิด ทรงจัดเตรียมเพื่อพระองค์และทรงช่วยชีวิตพระองค์เมื่อทรงตกอยู่ในอันตราย (ข้อ 3-4, 44) เพื่อเป็นการตอบสนองต่อความสัตย์ซื่อของพระเจ้า ดาวิดจึงได้เขียนว่า “ข้าพระองค์...ร้องเพลงสรรเสริญพระนามของพระองค์” (ข้อ 50)

เมื่อความสัตย์ซื่อของพระเจ้าเป็นที่ประจักษ์มาตลอดชั่วชีวิตอันยาวนานของเรา พร้อมกับความงดงามที่เพิ่มเติมเข้ามาในชีวิตนั้น เราก็ไม่จำเป็นต้องรอที่จะเล่าถึงการดูแลของพระองค์ เมื่อเรารู้ว่าไม่ใช่ความสามารถของเราเองที่จะช่วยให้ผ่านพ้นอุปสรรคไปได้ แต่เป็นการดูแลอย่างซื่อสัตย์ของพระบิดาผู้ทรงรัก จิตใจของเราจึงถูกนำไปสู่การสรรเสริญและขอบคุณพระองค์

คำพูดที่ทำให้ชื่นใจ

ขณะยืนอยู่ในครัว ลูกสาวของฉันร้องขึ้นมาว่า “แม่คะ! มีแมลงวันอยู่ในน้ำผึ้ง!” ฉันตอบกลับด้วยคำคมที่คุ้นเคยว่า “น้ำผึ้งจับแมลงวันได้ดีกว่าน้ำส้มสายชู” แม้ว่านี่เป็นครั้งแรกที่ฉันจับแมลงวันได้ (โดยบังเอิญ)ด้วยน้ำผึ้ง แต่ฉันพบว่าตัวเองอ้างสุภาษิตสมัยใหม่นี้ขึ้นมาก็เพราะคำสอนของสุภาษิตนี้ที่ว่า คำขอร้องที่อ่อนหวานมักจะโน้มน้าวใจผู้อื่นได้ดีกว่าท่าทีที่ขุ่นเคือง

พระธรรมสุภาษิตนั้นเป็นการรวบรวมสุภาษิตและคำคมแห่งสติปัญญาที่ได้รับการดลใจจากพระวิญญาณของพระเจ้า คำพูดที่ได้รับการดลใจเหล่านี้ช่วยนำทางเราและสอนเราถึงสัจจะความจริงที่สำคัญในการใช้ชีวิตในแบบที่ถวายเกียรติแด่พระเจ้า สุภาษิตหลายข้อเน้นที่การมีความสัมพันธ์กับผู้อื่น รวมถึงผลกระทบอย่างมากจากคำพูดของเราที่มีต่อผู้อื่น

ในส่วนของสุภาษิตที่น่าจะเขียนโดยกษัตริย์ซาโลมอนนั้น พระองค์ได้เตือนถึงอันตรายที่เกิดจากการพูดเป็นพยานเท็จกล่าวโทษเพื่อนบ้าน (สภษ.25:18) พระองค์แนะนำว่า “ลิ้นที่ส่อเสียด” ส่งผลให้เกิดความสัมพันธ์ที่โกรธขึ้งกัน (ข้อ 23) ซาโลมอนเตือนถึงความเย็นชาซึ่งเป็นผลที่เกิดจากการพร่ำบ่นตลอดเวลา (ข้อ 24) และพระองค์ได้หนุนใจผู้อ่านว่าพระพรจะเกิดขึ้นเมื่อคำพูดของเรานำมาซึ่งข่าวดี (ข้อ 25)

เมื่อเรามองหาวิธีที่จะนำสุภาษิตเหล่านี้ไปประยุกต์ใช้ เรามีพระวิญญาณของพระเจ้าผู้ที่จะช่วยเราให้มอบ “คำตอบที่ถูกต้อง” (16:1 TNCV) ด้วยการเสริมกำลังจากพระเจ้า คำพูดของเราจะเป็นคำพูดที่หวานหูและทำให้สดชื่นได้

พระพรในวันขอบคุณพระเจ้า

ในปี 2016 แวนด้า เดนช์ได้ส่งข้อความชวนหลานชายให้มารับประทานอาหารเย็นในวันขอบคุณพระเจ้า โดยไม่รู้ว่าหลานชายเพิ่งเปลี่ยนเบอร์โทรศัพท์ ข้อความนั้นจึงถูกส่งไปถึงคนแปลกหน้าชื่อจามัล หลังจากคุยกันจนเข้าใจว่าเขาเป็นใครแล้ว จามัลซึ่งว่างก็ถามว่าเขายังจะมาร่วมรับประทานอาหารเย็นได้หรือไม่ แวนด้าบอกว่า “ได้แน่นอน” จามัลจึงไปร่วมรับประทานอาหารกับครอบครัวของแวนด้า ซึ่งได้กลายเป็นธรรมเนียมปฏิบัติของเขาทุกปีนับแต่นั้นมา คำเชิญที่ส่งผิดกลับกลายเป็นพระพรประจำปี

ความเมตตาของแวนด้าที่ได้เชิญคนแปลกหน้าให้มาร่วมรับประทานอาหารทำให้ฉันคิดถึงคำหนุนใจของพระเยซูในพระกิตติคุณลูกา ในระหว่างเสวยพระกระยาหารที่บ้านของฟาริสี “คนสำคัญ” (ลก.14:1) พระเยซูทรงเห็นคนทั้งหลายที่ได้รับเชิญนั้นแย่งกันนั่งในที่นั่งอันมีเกียรติ (ข้อ 7) พระองค์จึงบอกคนที่เชิญพระองค์ว่า การเชิญคนโดยคำนึงถึงสิ่งที่คนเหล่านั้นจะสามารถตอบแทนให้ได้ (ข้อ 12) หมายความว่าพระพรจะอยู่ในวงจำกัด แทนที่จะทำอย่างนั้น พระเยซูทรงบอกเขาว่าการเชิญคนที่ไม่มีอะไรที่จะตอบแทนได้จะนำมาซึ่งพระพรที่ยิ่งใหญ่ (ข้อ 14)

สำหรับแวนด้า การเชิญจามัลมาร่วมรับประทานอาหารกับครอบครัวของเธอในวันขอบคุณพระเจ้าส่งผลเป็นพระพรที่ไม่คาดคิด เนื่องด้วยมิตรภาพอันยาวนานซึ่งเป็นกำลังใจยิ่งใหญ่แก่แวนด้าหลังจากที่สามีของเธอเสียชีวิต เมื่อเราเอื้อมมือออกไปหาผู้อื่น ไม่ใช่เพราะเราจะได้รับอะไรตอบแทน แต่เพราะความรักของพระเจ้าไหลล้นผ่านเรา เราก็จะได้รับพระพรและกำลังใจที่ยิ่งใหญ่กว่ามากนัก

มีค่ายิ่งกว่าทองคำ

คุณเคยดูสินค้าราคาถูกที่นำมาเปิดท้ายขายของแล้วฝันว่าคุณจะพบของมีค่าอย่างเหลือเชื่อไหม มันเกิดขึ้นที่รัฐคอนเนคทิคัต เมื่อชามโบราณลายดอกไม้จีนที่ซื้อในราคาพันกว่าบาท ได้ถูกขายในงานประมูลในปี 2021
ด้วยราคากว่ายี่สิบสามล้านบาท ของชิ้นนี้กลายเป็นศิลปวัตถุชิ้นสำคัญทางประวัติศาสตร์ที่หายากจากศตวรรษที่ 15 เป็นเครื่องเตือนใจที่น่าทึ่งว่าสิ่งที่บางคนมองว่ามีค่าเพียงเล็กน้อยกลับมีคุณค่าที่ยิ่งใหญ่

เปโตรเขียนถึงผู้เชื่อที่กระจัดกระจายไปทั่วโลกเวลานั้น ท่านอธิบายว่าความเชื่อของพวกเขาในพระเยซูคือความเชื่อในพระองค์ผู้ซึ่งถูกปฏิเสธโดยสังคมส่วนใหญ่ ถูกดูหมิ่นโดยผู้นำทางศาสนาชาวยิวและถูกตรึงกางเขนโดยรัฐบาลโรม พระคริสต์ถูกคนจำนวนมากมองว่าไร้ค่าเพราะไม่ทรงตอบสนองความคาดหวังและความปรารถนาของพวกเขา แต่ถึงแม้คนอื่นจะเมินเฉยต่อคุณค่าของพระเยซู แต่พระองค์เป็นผู้ที่พระเจ้า “ทรงเลือกไว้และทรงค่าอันประเสริฐ” (1ปต.2:4) คุณค่าของพระองค์ที่มีต่อเรามีค่ายิ่งกว่าเงินหรือทอง (1:18-19) และเราได้รับการรับรองว่า ผู้ใดที่เลือกเชื่อวางใจในพระเยซูจะไม่ได้รับความอับอายในสิ่งที่ตนเลือก (2:6)

เมื่อคนอื่นมองว่าพระเยซูไร้ค่า ขอให้เราลองมองอีกครั้ง พระวิญญาณของพระเจ้าทรงช่วยให้เราเห็นของประทานอันประเมินค่ามิได้จากพระคริสต์ ผู้ประทานคำเชื้อเชิญอันมีค่าแก่ทุกคนให้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในครอบครัวของพระเจ้า (ข้อ 10)

ความหวังสำหรับผู้ที่เจ็บปวด

“คนส่วนใหญ่มีรอยแผลเป็นที่ผู้อื่นไม่สามารถมองเห็นหรือเข้าใจ” คำพูดที่ออกมาจากใจส่วนลึกนี้มาจากผู้เล่นเบสบอลเมเจอร์ลีกชื่อแอนเดรลตัน ซิมมอนส์ ผู้เลือกที่จะไม่ลงแข่งในฤดูกาลปกติเมื่อปลายปี 2020 เนื่องจากมีปัญหาด้านสุขภาพจิต เมื่อซิมมอนส์ทบทวนถึงการตัดสินใจนั้น เขารู้สึกว่าจะต้องแบ่งปันเรื่องราวของเขาเพื่อหนุนใจผู้ที่กำลังเผชิญกับปัญหาที่คล้ายกันนี้และเพื่อเตือนคนอื่นๆให้แสดงความเห็นใจ

แผลเป็นที่ซ่อนอยู่นั้นคือความเจ็บปวดและบาดแผลในส่วนลึก ที่แม้มองไม่เห็นแต่ก็ยังเป็นสาเหตุของความเจ็บปวดและความทุกข์ทรมาน ในสดุดี 6 ดาวิดเขียนถึงความทุกข์ลำบากยิ่งของตน ด้วยถ้อยคำที่เต็มไปด้วยความเจ็บปวดและตรงไปตรงมา ท่านอยู่ใน “ความปวดร้าวแสนสาหัส” (ข้อ 2 TNCV) และ “ทุกข์ยากลำบากอย่างยิ่ง” (ข้อ 3) ท่าน “อ่อนเปลี้ย” จากการคร่ำครวญและที่เอนกายก็ชุ่มไปด้วยน้ำตา (ข้อ 6) แม้ดาวิดไม่ได้พูดถึงสาเหตุของความทุกข์ทนนี้ แต่เราหลายคนก็เข้าใจได้ถึงความเจ็บปวดของท่าน

เราเองก็อาจได้รับการหนุนใจจากท่าทีที่ดาวิดตอบสนองต่อความเจ็บปวดท่ามกลางความทุกข์ทรมานอย่างเหลือล้นนี้ ดาวิดได้ร้องทูลต่อพระเจ้า ท่านเทใจอธิษฐานขอการรักษา (ข้อ 2) การช่วยให้รอด (ข้อ 4) และความเมตตา (ข้อ 9 TNCV) แม้ยังมีคำถามที่ว่า “อีกนานสักเท่าใด” (ข้อ 3) กับเวลาที่ต้องอยู่ในสถานการณ์นั้น แต่ดาวิดยังคงมั่นใจว่าพระเจ้า “ทรงได้ยินเสียงร้องทูลขอความเมตตาของข้าพเจ้า” (ข้อ 9 TNCV) และพระองค์จะตอบในเวลาของพระองค์ (ข้อ 10) เพราะพระเจ้าของเราทรงเป็นเช่นนี้ เราจึงมีความหวังอยู่เสมอ

รู้จักพระเจ้า

เมื่อไปเยือนไอร์แลนด์ ฉันรู้สึกตื่นตาตื่นใจกับการประดับตกแต่งไปทั่วด้วยใบแชมร็อกซึ่งเป็นสัญลักษณ์ประจำชาติ พืชไม้ดอกที่มีกลีบใบสีเขียวเล็กๆสามกลีบพบเห็นได้ในร้านค้าทุกแห่ง บนข้าวของทุกอย่าง เสื้อผ้า หมวก เครื่องประดับและอื่นๆ!

ยิ่งกว่าการเป็นพืชไม้ดอกที่แพร่หลายทั่วไอร์แลนด์ ใบแชมร็อกนั้นได้รับการยอมรับมาหลายยุคสมัยว่าเป็นรูปแบบง่ายๆในการอธิบายถึงตรีเอกานุภาพ ซึ่งเป็นหลักข้อเชื่อสำคัญของคริสเตียนในประวัติศาสตร์ ที่ว่าพระเจ้าทรงเป็นพระเจ้าองค์เดียว ผู้ทรงดำรงอยู่ชั่วนิรันดร์โดยทรงปรากฏในสามบุคคลที่แยกจากกัน คือพระเจ้าพระบิดา พระเจ้าพระบุตรและพระเจ้าพระวิญญาณบริสุทธิ์ ขณะที่คำอธิบายทั้งหมดของมนุษย์เกี่ยวกับตรีเอกานุภาพนั้นไม่สมบูรณ์ แต่ใบแชมร็อกก็เป็นสัญลักษณ์ที่ช่วยให้เข้าใจ เพราะมันเป็นพืชใบหนึ่งสายพันธุ์ที่เกิดจากลำต้นเดียวกัน โดยมีกลีบใบแยกจากกันสามกลีบ

คำว่า ตรีเอกานุภาพ ไม่มีในพระคัมภีร์ แต่เป็นการสรุปความจริงทางศาสนศาสตร์ที่เราเห็นอย่างชัดเจนในพระวจนะตอนต่างๆเมื่อมีบุคคลทั้งสามในตรีเอกานุภาพปรากฏในเวลาเดียวกัน ขณะที่พระเยซูพระบุตรของพระเจ้ารับบัพติศมา จะเห็นพระเจ้าพระวิญญาณเสด็จลงมาจากฟ้าสวรรค์ “ดุจนกพิราบ” แล้วได้ยินพระสุรเสียงของพระเจ้าพระบิดาว่า “ท่านเป็นบุตรที่รักของเรา” (มก.1:10-11)

ชาวไอริชที่เชื่อในพระเยซูใช้ใบแชมร็อกเพราะต้องการช่วยให้ผู้คนรู้จักพระเจ้า เมื่อเราเข้าใจความงดงามของตรีเอกานุภาพอย่างถ่องแท้มากขึ้น ก็จะช่วยให้เรารู้จักพระเจ้าและนมัสการพระองค์ได้อย่างลึกซึ้งยิ่งขึ้น “ด้วยจิตวิญญาณและความจริง” (ยน.4:24)

เดียวดายแต่ไม่ถูกลืม

เมื่อคุณฟังเรื่องราวของพวกเขา เป็นที่ชัดเจนว่าสิ่งที่ยากที่สุดของการเป็นนักโทษคือความโดดเดี่ยวและความเหงา อันที่จริงแล้ว มีการศึกษาหนึ่งแสดงให้เห็นว่านักโทษส่วนใหญ่ไม่ว่าจะถูกจองจำนานแค่ไหน จะมีเพื่อนหรือผู้ที่รักมาเยี่ยมเพียง 2 ครั้งในตลอดช่วงเวลาที่อยู่ในห้องขัง ความเหงาจึงเป็นความจริงที่เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา

ผมคิดภาพว่าโยเซฟคงรู้สึกเจ็บปวดขณะที่อยู่ในเรือนจำ ท่านถูกกล่าวโทษความผิดอย่างไม่เป็นธรรม ท่านมีความหวังอันริบหรี่จากการที่พระเจ้าทรงช่วยให้ท่านแก้ความฝันได้อย่างถูกต้องให้กับเพื่อนผู้ต้องขังที่บังเอิญเป็นคนที่กษัตริย์ไว้วางใจ โยเซฟบอกกับเขาว่า เขาจะได้กลับไปรับตำแหน่งเดิมและขอให้คนนั้นบอกกับฟาโรห์เรื่องของโยเซฟเพื่อโยเซฟจะได้รับอิสรภาพ (ปฐก.40:14) แต่ชายคนนั้น “มิได้ระลึกถึงโยเซฟ กลับลืมเขาเสีย” (ข้อ 23) โยเซฟต้องรออีกสองปี ในช่วงสองปีแห่งการรอคอยโดยไม่มีสัญญาณใดว่าสถานการณ์ของท่านจะเปลี่ยนแปลง โยเซฟไม่เคยอยู่ตัวคนเดียว เพราะพระเจ้าทรงอยู่กับท่าน ในที่สุด คนรับใช้ของฟาโรห์ก็จำได้ถึงคำสัญญาของเขาและโยเซฟก็ได้ถูกปล่อยตัวหลังจากแก้ความฝันได้ถูกต้องอีกครั้ง (41:9-14)

ไม่ว่าสถานการณ์อะไรที่ทำให้รู้สึกว่าเราถูกลืม และความรู้สึกเหงาหรือเดียวดายใดๆที่คืบคลานเข้ามา เราสามารถยึดพระสัญญาที่พระเจ้าทรงยืนยันกับลูกๆของพระองค์ไว้ได้ว่า “เราจะไม่ลืมเจ้า” (อสย.49:15)

ระลึกถึงในคำอธิษฐาน

มัลคอล์ม เคลาต์ได้รับการเสนอชื่อให้เป็นผู้รับพระราชทานเหรียญ Maundy Money ประจำปี 2021 จากสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบ็ธที่ 2 ซึ่งเป็นรางวัลสำหรับงานปรนนิบัตรับใช้ที่มอบให้กับชายหญิงชาวอังกฤษเป็นประจำทุกปี เคลาต์ ผู้มีอายุหนึ่งร้อยปีในปีนั้นที่เขาได้รับเหรียญจากการแจกพระคัมภีร์จำนวนหนึ่งพันเล่มตลอดชีวิตของเขา และเขาได้จดรายชื่อของทุกคนที่ได้รับพระคัมภีร์ไว้และอธิษฐานเผื่อพวกเขาเป็นประจำ

ความสัตย์ซื่อในการอธิษฐานของเคลาต์เป็นตัวอย่างอันทรงพลังของความรักแบบที่เราพบตลอดงานเขียนของเปาโลในพันธสัญญาใหม่ เปาโลมักจะสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้รับจดหมายว่าท่านอธิษฐานเผื่อพวกเขาเป็นประจำ ท่านเขียนถึงฟีเลโมนสหายของท่านว่า “เมื่อข้าพเจ้านึกถึงท่านในคำอธิษฐาน ข้าพเจ้าขอบพระคุณพระเจ้าเสมอ” (ฟม.1:4 TNCV) และในจดหมายถึงทิโมธี เปาโลเขียนว่า “ข้าพเจ้าระลึกถึงท่านในคำอธิษฐานอยู่เสมอทั้งวันทั้งคืน” (2ทธ.1:3 TNCV) ส่วนคริสตจักรในกรุงโรม เปาโลย้ำว่าท่านระลึกถึงพวกเขาในคำอธิษฐาน “เสมอ” และ “ทุกครั้ง” (รม.1:9-10 TNCV)

แม้ว่าเราอาจไม่มีผู้คนนับพันให้อธิษฐานเผื่อเหมือนเคลาต์ แต่การตั้งใจอธิษฐานเผื่อคนที่เรารู้จักนั้นมีพลัง เพราะพระเจ้าทรงตอบสนองต่อท่าทีในการอธิษฐานเช่นนั้น เมื่อพระวิญญาณทรงกระตุ้นเตือนให้อธิษฐานเผื่อใครบางคน ฉันพบว่าปฏิทินอธิษฐานแบบเรียบง่ายเป็นเครื่องมือที่มีประโยชน์ การแบ่งรายชื่อเป็นรายวันหรือรายสัปดาห์ในปฏิทินช่วยให้ฉันอธิษฐานอย่างสัตย์ซื่อ ช่างเป็นการสำแดงความรักที่สวยงามเมื่อเราระลึกถึงผู้อื่นในคำอธิษฐาน

เสริมกำลังในทุกวัน

บริสุทธิ์ทุกโมงยาม เป็นหนังสือคำอธิษฐานที่ดีสำหรับกิจกรรมต่างๆรวมถึงเรื่องทั่วไป เช่น การเตรียมอาหารหรือซักผ้า การงานที่จำเป็นต่างๆ ซึ่งเราอาจรู้สึกจำเจหรือเป็นเรื่องสามัญ หนังสือเล่มนี้ทำให้ฉันนึกถึงคำพูดของจี.เค.เชสเตอร์ตัน ผู้เขียนที่กล่าวว่า “ท่านอธิษฐานก่อนมื้ออาหาร นั่นก็ดี แต่ข้าพเจ้าอธิษฐานก่อนร่างภาพ ระบายสี ว่ายน้ำ ฟันดาบ ชกมวย เดิน เล่น เต้นรำ และก่อนที่ข้าพเจ้าจะจุ่มปากกาลงในหมึก”

คำหนุนใจเช่นนั้นปรับมุมมองเกี่ยวกับกิจกรรมต่างๆในสมัยของฉัน บางครั้งฉันมักจำแนกกิจกรรมต่างๆ ออกเป็นกิจกรรมที่ดูมีคุณค่าฝ่ายวิญญาณ เช่น การอ่านบทเฝ้าเดี่ยวก่อนรับประทานอาหาร และบางกิจกรรมที่มีคุณค่าฝ่ายวิญญาณเพียงเล็กน้อย เช่น การล้างจาน ในจดหมายที่เปาโลเขียนถึงชาวโคโลสีผู้เลือกที่จะมีชีวิตอยู่เพื่อพระเยซูนั้น ท่านได้ขจัดเอาการแบ่งแยกนี้ออกไป ท่านหนุนใจพวกเขาด้วยถ้อยคำเหล่านี้ “และเมื่อท่านจะกระทำสิ่งใดด้วยวาจาหรือด้วยกายก็ตาม จงกระทำทุกสิ่งในพระนามของพระเยซูเจ้า” (3:17) การทำสิ่งต่างๆในพระนามของพระเยซูหมายถึงทั้งการถวายเกียรติแด่พระองค์ขณะที่เราทำสิ่งเหล่านั้น และมั่นใจว่าพระวิญญาณของพระองค์ทรงเสริมกำลังให้เราทำสิ่งนั้นสำเร็จ

“เมื่อท่านจะกระทำสิ่งใด” กิจกรรมธรรมดาทุกอย่างในชีวิตของเราในทุกช่วงเวลานั้น จะได้รับการเสริมกำลังจากพระวิญญาณของพระเจ้าและกระทำให้สำเร็จได้ในหนทางที่ถวายเกียรติแด่พระเยซู

เราใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ หากท่านใช้บริการเว็บไซต์นี้ต่อไป นั่นเป็นการแสดงว่าท่านยอมรับ นโยบายการใช้คุกกี้ของเรา