ผู้เขียน

ดูทั้งหมด

บทความ โดย Bill Crowder

ต้องการการทรงนำ

สำหรับนักวิชาการเคนเน็ธ เบลี่ย์นั้นคุณลุงซากิเป็นมากกว่าเพื่อน ท่านเป็นไกด์ที่ไว้วางใจได้ในการเดินทางฝ่าทะเลทรายซาฮาร่าอันกว้างใหญ่ เบลี่ย์บอกว่าการที่เขาและทีมติดตามลุงซากินั้นแสดงถึงความเชื่อใจโดยสิ้นเชิง กล่าวคือ พวกเขายอมรับว่า “เราไม่รู้ทางไปสู่ที่ที่เรากำลังไป และถ้าคุณพาหลง พวกเราทุกคนก็ตาย เราเชื่อใจการนำของคุณเต็มที่”

ความทรงจำของชุมชน

ในหนังสือศรัทธาที่ไม่หยุดนิ่ง นักศาสนศาสตร์ริชาร์ด มูว์พูดถึงความสำคัญของการจดจำบทเรียนในอดีต เขาอ้างคำพูดของโรเบิร์ต เบลลาห์ นักสังคมวิทยาที่ว่า “ประเทศที่แข็งแรงจะต้องเป็น ‘ชุมชนแห่งความทรงจำ’” เบลลาห์ขยายหลักการนี้ไปยังความสัมพันธ์ทางสังคมในรูปแบบอื่น เช่น ครอบครัว การจดจำเป็นส่วนสำคัญของการใช้ชีวิตในชุมชน

พระคัมภีร์สอนถึงคุณค่าแห่งความทรงจำของชุมชนเช่นกัน ชนอิสราเอลฉลองเทศกาลปัสกาเพื่อระลึกถึงการช่วยกู้พวกเขาจากการเป็นทาสในอียิปต์ (ดูอพย.12:1-30) จนถึงทุกวันนี้ ชาวยิวทั่วโลกยังคงกลับมาเพื่อทบทวนความทรงจำของชุมชนที่มีคุณค่านี้ในทุกฤดูใบไม้ผลิ

เทศกาลปัสกาก็มีความหมายยิ่งต่อผู้ติดตามพระคริสต์ เพราะชี้ถึงสิ่งที่พระเมสสิยาห์ทำบนกางเขน ในคืนก่อนจะถูกตรึง ซึ่งเป็นช่วงของเทศกาลปัสกา พระเยซูทรงตั้งพิธีรำลึกของพระองค์เองขึ้น ลูกา 22:19 บันทึกว่า “พระองค์ทรงหยิบขนมปัง โมทนาพระคุณ แล้วหักส่งให้แก่เขาทั้งหลายตรัสว่า ‘นี่เป็นกายของเราซึ่งได้ให้สำหรับท่านทั้งหลาย จงกระทำอย่างนี้ให้เป็นที่ระลึกถึงเรา’”

ทุกครั้งที่เรารวมตัวกันที่โต๊ะขององค์พระผู้เป็นเจ้าเพื่อเฉลิมฉลองพิธีมหาสนิท เราจะระลึกได้ว่าพระคริสต์ทรงช่วยกู้เราจากการเป็นทาสของบาปและประทานชีวิตนิรันดร์ให้กับเรา ขอให้ความรักของพระเยซูช่วยย้ำเตือนเราว่า กางเขนของพระองค์นั้นมีคุณค่าควรแก่การจดจำร่วมกัน

การปฏิวัติด้วยบทเพลง

สิ่งใดจุดชนวนการปฏิวัติขึ้น ปืน ระเบิด หรือสงครามกองโจร สำหรับเอสโตเนียช่วงปลายทศวรรษ 1980 มันคือบทเพลง หลังจากผู้คนต้องอยู่ภายใต้ระบอบของโซเวียต การเคลื่อนไหวเริ่มขึ้นจากการร้องเพลงถึงความรักชาติ จนนำไปสู่ “การปฏิวัติด้วยบทเพลง” ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการกอบกู้อิสรภาพในปี 1991

เว็บไซต์หนึ่งพูดถึงการเคลื่อนไหวนี้ว่า “นี่เป็นการปฏิวัติโดยสงบที่ล้มล้างการปกครองที่ใช้ความรุนแรง การร้องเพลงคือการรวมพลังของชาวเอสโตเนียในระยะเวลาห้าสิบปีภายใต้การปกครองของโซเวียต”

ดนตรีมีส่วนสำคัญที่ช่วยเราฝ่าฟันช่วงเวลาอันเลวร้ายได้ นั่นอาจเป็นเหตุผลที่เราเชื่อมโยงกับพระธรรมสดุดีได้ดี ในค่ำคืนแห่งความมืดมิดฝ่ายวิญญาณ ผู้เขียนสดุดีร้องว่า “จิตใจของข้าพเจ้าเอ๋ยไฉนเจ้าจึงฝ่ออยู่ ไฉนเจ้าจึงกระสับกระส่ายภายในข้าพเจ้า จงหวังใจในพระเจ้า เพราะข้าพเจ้าจะถวายสดุดีแด่พระองค์อีก ผู้ทรงเป็นความอุปถัมภ์และพระเจ้าของข้าพเจ้า” (สดด.42:5) เวลาที่อาสาฟผู้นำนมัสการท้อแท้สิ้นหวัง ท่านเตือนตนเองว่า “แท้จริงพระเจ้าทรงดีต่ออิสราเอล ต่อบุคคลผู้มีใจบริสุทธิ์” (73:1)

ในยามทุกข์ยาก ขอให้เราร่วมกับผู้เขียนสดุดีในการปฏิวัติหัวใจเราด้วยการร้องเพลง เพื่อจะเอาชนะความสิ้นหวังและความสับสนที่ครอบงำด้วยพลังความเชื่อมั่นในความรักและความสัตย์ซื่อของพระเจ้า

ทักษะอันน่าทึ่ง

หัวหน้าคณะนักร้องของมหาวิทยาลัยทำหน้าที่อำนวยเพลงพร้อมทั้งเล่นเปียโนประกอบได้อย่างยอดเยี่ยม หลังจบการแสดงเขาดูเหนื่อยมาก ผมจึงถามว่าเขาสบายดีไหม เขาตอบว่า “ผมไม่เคยต้องทำอะไรอย่างนี้มาก่อน เปียโนเสียงเพี้ยนมากจนผมต้องเล่นถึงสองบันไดเสียงตลอดทั้งคอนเสิร์ต มือซ้ายเล่นบันไดเสียงหนึ่ง ส่วนมือขวาก็เล่นอีกบันไดเสียงหนึ่ง” ผมประทับใจทักษะอันน่าทึ่งของเขา และรู้สึกอัศจรรย์ใจในพระเจ้าผู้ทรงสร้างมนุษย์ให้สามารถทำแบบนั้นได้

กษัตริย์ดาวิดประหลาดใจยิ่งกว่าโดยทรงบันทึกว่า “ข้าพระองค์โมทนาพระคุณพระองค์เพราะพระองค์ทรงกระทำให้ข้าพระองค์แปลกประหลาดอย่างน่ากลัว พระราชกิจของพระองค์อัศจรรย์ พระองค์ทรงทราบข้าพระองค์ดี” (สดด.139:14) ไม่ว่าจะเป็นความสามารถของมนุษย์หรือความน่าพิศวงของธรรมชาติ ความมหัศจรรย์เหล่านี้ชี้ให้เห็นความยิ่งใหญ่ขององค์พระผู้สร้าง

วันหนึ่งเมื่อเราอยู่ต่อหน้าพระเจ้า คนทุกชั่วอายุจะนมัสการพระองค์ว่า “องค์พระผู้เป็นเจ้าของข้าพระองค์ทั้งหลาย พระองค์ทรงสมควรที่จะได้รับคำสรรเสริญ พระเกียรติและฤทธิ์เดช เพราะว่าพระองค์ได้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งปวงและสรรพสิ่งทั้งปวงนั้นก็ทรงสร้างขึ้นแล้วและดำรงอยู่ตามชอบพระทัยของพระองค์” (วว.4:11) ทักษะอันน่าทึ่งที่พระเจ้าประทานให้ และความงดงามที่พระเจ้าทรงสร้างเป็นเหตุผลเพียงพอให้เรานมัสการพระองค์

เปลี่ยนแปลงที่คาดไม่ถึง

ในเดือนมกราคม 1943 ลมร้อนชีนุก พัดเข้าหาเมืองสเปียร์ฟิช รัฐเซาท์ดาโคตา ทำให้อุณหภูมิสูงขึ้นอย่างรวดเร็วจาก -20 เป็น 7 องศาเซลเซียส การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศอย่างรุนแรงถึง 27 องศา เกิดขึ้นในเวลาเพียงสองนาที การเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิในช่วง 24 ชั่วโมงที่มีการบันทึกไว้ในสหรัฐอเมริกาคือ 40 องศาซึ่งเป็นเรื่องเหลือเชื่อ วันที่ 15 มกราคม 1972 ชาวเมืองโลมา รัฐมอนแทนา ได้เห็นอุณหภูมิกระโดดจาก -48 เป็น 9 องศาเซลเซียส

แต่การเปลี่ยนแปลงกะทันหันไม่ใช่ปรากฏการณ์ภูมิอากาศเท่านั้น บางครั้งเป็นธรรมชาติของชีวิตด้วย ยากอบเตือนว่า “นี่แน่ะ ท่านที่พูดว่า ‘วันนี้หรือพรุ่งนี้เราจะเข้าไปในเมืองนี้เมืองนั้น จะอยู่ที่นั่นปีหนึ่งและจะค้าขายได้กำไร’ แต่ว่าท่านไม่รู้เรื่องของพรุ่งนี้” (4:13-14) เช่น ความสูญเสียที่ไม่คาดคิด ผลวินิจฉัยโรคที่น่าตกใจ การเงินที่ผกผัน การเปลี่ยนแปลงกะทันหัน

ชีวิตคือการเดินทางที่มีองค์ประกอบที่คาดเดาไม่ได้มากมาย ยากอบจึงต้องเตือนเราให้หันกลับจาก “การโอ้อวดด้วยความทะนงตน” (ข้อ 16) โดยไม่ได้คำนึงถึงองค์ผู้ทรงมหิทธิฤทธิ์ ยากอบแนะนำเราว่า “พวกท่านควรจะพูดว่า ‘ถ้าองค์พระผู้เป็นเจ้าทรงโปรด เราจะมีชีวิตอยู่ และจะกระทำสิ่งนี้หรือสิ่งนั้น’” (ข้อ 15) เหตุการณ์ในชีวิตเราอาจไม่แน่นอน แต่สิ่งหนึ่งที่แน่นอนก็คือ ทุกช่วงเวลาที่ไม่คาดคิดของชีวิต…

นักล่าพายุ

วอร์เรน เฟดลีย์ กล่าวว่า “การล่าทอร์นาโดก็เหมือนกับการเล่นเกมหมากรุกสามมิติบนเนื้อที่หลายพันตารางกิโลเมตร” นักถ่ายภาพและนักล่าพายุกล่าวต่อว่า “การอยู่ถูกที่ถูกเวลาเป็นความสอดคล้องกันของการพยากรณ์อากาศและการเคลื่อนที่ โดยต้องคอยหลบตั้งแต่ลูกเห็บขนาดเท่าลูกบอลไปจนถึงพายุฝุ่นและอุป-กรณ์ทำไร่ที่เคลื่อนมาช้าๆ”

คำพูดของเฟดลีย์ทำให้มือของผมชุ่มเหงื่อและหัวใจเต้นแรง ใจหนึ่งผมชื่นชมในความกล้าบ้าบิ่นและความกระหายข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ที่บรรดานักล่าพายุแสดงออก แต่ผมจะไม่พาตัวเองเข้าไปอยู่ในสภาพอากาศที่เลวร้ายถึงขั้นเป็นอันตรายต่อชีวิต

แต่จากประสบการณ์ชีวิตที่ผ่านมา ผมไม่เคยต้องไล่ล่าพายุ ดูเหมือนพายุจะเป็นฝ่ายไล่ล่าผม เหมือนสดุดี 107 ที่เล่าถึงคนเดินเรือที่ติดอยู่กลางพายุ พวกเขาถูกไล่ล่าเพราะผลของการตัดสินใจผิด แต่ผู้เขียนสดุดีกล่าวว่า “แล้วในความยากลำบากของเขาเมื่อเขาร้องทูลพระเจ้า พระองค์ทรงช่วยนำเขาออกจากความทุกข์ใจของเขา พระองค์ทรงกระทำให้พายุสงบลงและคลื่นทะเลก็นิ่ง แล้วเขาก็ยินดีเพราะเขามีความเงียบ” (สดด.107:28-30)

ไม่ว่ามรสุมชีวิตจะเกิดจากการกระทำของเราเอง หรือเป็นผลของการอาศัยอยู่ในโลกที่แตกสลาย พระเจ้าของเราทรงยิ่งใหญ่กว่า เมื่อเราถูกมรสุมไล่ล่า พระองค์ผู้เดียวทรงสามารถสยบพายุนั้น หรือสงบพายุที่อยู่ภายในใจเราได้

ใจขอบพระคุณ

ในรัฐที่ผมอยู่ที่อเมริกาบางครั้งฤดูหนาวก็โหดร้าย อุณหภูมิติดลบและหิมะตกไม่หยุด วันหนึ่งที่หนาวเหน็บ ผมกำลังกวาดหิมะที่ผมรู้สึกเหมือนว่าเป็นรอบที่หนึ่งพัน บุรุษไปรษณีย์แวะถามทุกข์สุข ผมบอกเขาว่าผมไม่ชอบฤดูหนาวและเบื่อหิมะที่ตกหนัก แล้วผมก็แสดงความคิดเห็นว่าเขาคงทำงานลำบากในสภาพอากาศที่หนักหนาแบบนี้ เขาตอบว่า “ใช่ครับ แต่อย่างน้อยผมก็ยังมีงานทำ มีคนอีกมากที่ตกงาน ผมรู้สึกสำนึกในบุญคุณที่ได้ทำงาน”

ความเห็นชอบจากผู้หนึ่ง

เมื่อจูเซปเป แวร์ดิ นักแต่งเพลงระดับตำนาน (1813-1901) ยังเยาว์วัย ความกระหายการยอมรับ ผลักดันเขาให้ประสบความสำเร็จ วอร์เรน ไวเออร์สบีเขียนเกี่ยวกับเขาว่า “เมื่อเขาแสดงโอเปร่าเป็นครั้งแรกที่ฟลอเรนซ์ แวร์ดิยืนคนเดียวอยู่ในเงามืดและมองไปที่ใบหน้าของชายคนหนี่งในกลุ่มผู้ชม ซึ่งคือรอสซินีผู้ยิ่งใหญ่ ไม่ว่าผู้คนที่นั่นจะชื่นชมหรือเยาะเย้ยก็ไม่สำคัญสำหรับแวร์ดิ เขาต้องการเพียงแค่รอยยิ้มที่เห็นชอบจากนักดนตรีผู้เป็นปรมาจารย์”

เหล็กกล้าและกำมะหยี่

กวีชื่อ คาร์ล แซนด์เบิร์ก เขียนเกี่ยวกับอับราฮัม ลินคอล์น อดีตประธานาธิบดีสหรัฐว่า “ไม่บ่อยนักในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติที่จะมีชายที่เป็นทั้งเหล็กกล้าและกำมะหยี่ในคนเดียว...มีทั้งพายุร้ายและสันติสุขสมบูรณ์ที่เกินคำบรรยายย้อนแย้งกันอยู่ในความคิดและจิตใจ” คำว่า “เหล็กกล้าและกำมะหยี่” อธิบายว่าลินคอล์นทำอย่างไรในการสร้างสมดุลระหว่างอำนาจในตำแหน่งหน้าที่ของเขากับความห่วงใยที่เขามีต่อทุกคนที่โหยหาเสรีภาพ

เราใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ หากท่านใช้บริการเว็บไซต์นี้ต่อไป นั่นเป็นการแสดงว่าท่านยอมรับ นโยบายการใช้คุกกี้ของเรา