ผู้เขียน

ดูทั้งหมด

บทความ โดย Arthur Jackson

รอยแผลของพระองค์

หลังจากพูดคุยกับเกรดี้ ผมก็เข้าใจว่าทำไมเขาจึงชอบทักทายด้วยการ “ชนหมัด” แทนการจับมือ การจับมือทำให้เห็นแผลเป็นบนข้อมือที่เกิดจากการทำร้ายตัวเองหลายครั้งของเขา ไม่ใช่เรื่องแปลกที่เราจะซ่อนแผลเป็นของเรา ไม่ว่าจะเป็นทางร่างกายหรือจิตใจ ทั้งที่เกิดโดยคนอื่นหรือจากตัวเราเอง

หลังจากได้คุยกับเกรดี้ผมคิดถึงแผลเป็นบนพระกายของพระเยซู รอยแผลที่เกิดจากการตอกตะปูเข้าไปในมือและเท้า และรอยแผลที่ถูกหอกแทงที่สีข้าง แทนที่จะทรงซ่อนแผลเป็นนั้น พระเยซูกลับให้ความสำคัญกับมัน

ในตอนแรกโธมัสยังสงสัยในการเป็นขึ้นจากความตายของพระเยซู พระองค์ตรัสกับเขาว่า “จงยื่นนิ้วมาที่นี่และดูมือของเรา จงยื่นมือออกคลำที่สีข้างของเรา อย่าขาดความเชื่อเลยจงเชื่อเถิด” (ยน.20:27) เมื่อโธมัสเห็นรอยแผลด้วยตาตนเองและได้ยินพระสุรเสียงของพระเยซู เขาจึงเชื่อว่าเป็นพระเยซูจริงและร้องว่า “องค์พระผู้เป็นเจ้าของข้าพระองค์และพระเจ้าของข้าพระองค์” (ข้อ 28) พระเยซูจึงทรงอวยพรผู้ที่ไม่ได้เห็นพระองค์แต่ยังคงเชื่อว่า “ผู้ที่ไม่เห็นเราแต่เชื่อก็เป็นสุข” (ข้อ 29)

ข่าวที่ดีที่สุดคือ รอยแผลของพระองค์นั้นก็เพื่อบาปของเรา บาปที่เราทำต่อผู้อื่นหรือต่อตัวเราเอง การสิ้นพระชนม์ของพระเยซูก็เพื่อที่จะยกโทษบาปให้กับบรรดาผู้ที่เชื่อในพระองค์และยอมรับเหมือนกับโธมัสว่า “องค์พระผู้เป็นเจ้าของข้าพระองค์ และพระเจ้าของข้าพระองค์”

ผู้ล้างหนี้

ตกตะลึง เป็นคำๆเดียวที่ใช้อธิบายปฏิกิริยาของผู้เข้าร่วมงานรับปริญญาของวิทยาลัยมอร์เฮาส์ที่เมืองแอตแลนต้า รัฐจอร์เจีย ผู้ให้โอวาทประกาศว่าเขาและครอบครัวจะบริจาคเงินหลายล้านเหรียญเพื่อล้างหนี้ให้ผู้จบการศึกษาทุกคน นักศึกษาคนหนึ่ง ซึ่งมีหนี้ราว 3 ล้านบาทรู้สึกท่วมท้นและแสดงความยินดีร่วมกับคนอื่นๆด้วยน้ำตาและเสียงโห่ร้อง

รวมกันเรามีชัยชนะ

กลางดึกคืนหนึ่ง ศิษยาภิบาลซามูเอล แบ็กกาก้าได้รับโทรศัพท์เรียกให้ไปบ้านของสมาชิกคนหนึ่ง เมื่อไปถึงเขาพบว่าบ้านถูกเพลิงไหม้ ผู้เป็นพ่อวิ่งกลับเข้าไปช่วยลูกแม้ตัวเองจะถูกไฟคลอกและกลับออกมาพร้อมลูกสาวที่หมดสติ โรงพยาบาลในชนบทของอูกันดานี้อยู่ห่างไปสิบกิโลเมตร เพราะไม่มีรถ พ่อกับศิษยาภิบาลจึงอุ้มพาเด็กวิ่งไป เมื่อคนหนึ่งเหนื่อยจากการอุ้มเด็กหญิงที่บาดเจ็บ อีกคนก็ช่วยอุ้มต่อ ทั้งคู่ร่วมมือกันจนสำเร็จ ทั้งพ่อและลูกสาวได้รับการรักษาจนหายดีในเวลาต่อมา

บทเรียนจากเด็กเล็กๆ

ขณะที่ฉันและเพื่อนนั่งรถเข้าไปที่สลัมแห่งหนึ่งในกรุงไนโรบี ประเทศ เคนยา เราหดหู่ใจมากเมื่อเห็นภาพความยากจนเบื้องหน้า แต่แล้วเราก็สดชื่นขึ้นดั่งมีน้ำชโลมใจเมื่อเห็นเด็กๆวิ่งมาพร้อมส่งเสียงว่า “Mchungaji, Mchungaji!” (ภาษาสวาฮีลีที่ใช้เรียก “ศิษยาภิบาล”) นั่นคือการตอบสนองที่เต็มไปด้วยความสุข เมื่อได้เห็นผู้นำฝ่ายวิญญาณของพวกเขานั่งอยู่ในรถกับเรา เด็กๆร้องตะโกนอย่างสุภาพเพื่อต้อนรับผู้ที่พวกเขารู้ว่าคอยห่วงใยดูแลพวกเขา

เมื่อพระเยซูเสด็จเข้ากรุงเยรูซาเล็มโดยทรงลา เด็กๆที่ชื่นชมยินดีก็อยู่ท่ามกลางผู้คนที่เฉลิมฉลองพระองค์ด้วย “โฮซันนา แก่ราชโอรสของดาวิด ขอให้ท่านผู้ที่เสด็จมาในพระนามขององค์พระผู้เป็นเจ้าทรงพระเจริญ” (มธ.21:9,15) เสียงที่ดังก้องอยู่นั้นไม่ได้มีแค่เสียงสรรเสริญพระเยซู แต่ยังมีเสียงความโกลาหลของผู้รับแลกเงินที่พระเยซูขับไล่จากพระวิหารด้วย (ข้อ 12-13) นอกจากนั้น ผู้นำศาสนาที่เห็นพระเยซูสำแดงพระเมตตาออกมาเป็นการกระทำก็มีความ “แค้นเคือง” (ข้อ 14-15) พวกเขาแสดงความไม่พอใจเมื่อเด็กๆพากันสรรเสริญพระองค์ (ข้อ 16) ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความขัดสนในใจของพวกเขาเอง

เราเรียนรู้ได้จากความเชื่อของบรรดาลูกๆของพระเจ้าที่ยอมรับพระเยซูเป็นพระผู้ช่วยให้รอดของโลก ไม่ว่าเขาจะมีอายุเท่าไหร่หรืออยู่ที่ใดก็ตาม พระองค์เป็นผู้เดียวที่ได้ยินคำสรรเสริญและเสียงร้องทูลของเรา และทรงห่วงใยช่วยเหลือเราเมื่อเข้ามาหาพระองค์ด้วยความไว้วางใจอย่างเด็กๆ

เป็นไทจริงๆ

ภาพยนตร์เรื่อง หัวใจทาสสะท้านโลก เล่าเรื่องที่เกิดในปี 1839 เมื่อทาสชาวแอฟริกันยึดเรือค้าทาสและฆ่ากัปตันกับลูกเรือบางคน ต่อมาพวกเขาถูกจับขังและถูกไต่สวน ฉากที่ลืมไม่ลงคือฉากในห้องสอบสวน ซิงเกผู้นำกลุ่มทาสร้องขออิสรภาพอย่างน่าสะเทือนใจ คำสามคำที่ชายผู้ติดโซ่ตรวนนี้พูดซ้ำด้วยความรู้สึกที่บีบคั้นมากขึ้นเป็นลำดับนั้นเป็นภาษาอังกฤษผิดไวยกรณ์ แต่ทำให้ทั้งห้องตกอยู่ในความเงียบ “ให้ เรา อิสระ!” พวกเขาได้รับความยุติธรรมและเป็นอิสระ

คนส่วนใหญ่ในปัจจุบันไม่ได้มีอันตรายจากพันธนาการทางร่างกาย แต่การเป็นไทอย่างแท้จริงจากพันธนาการฝ่ายวิญญาณนั้นยังเป็นเรื่องยากที่จะเข้าใจ คำตรัสของพระเยซูในยอห์น 8:36 ทำให้เราอุ่นใจ “ถ้าพระบุตรทรงกระทำให้ท่านทั้งหลายเป็นไท ท่านก็เป็นไทจริงๆ” พระเยซูตรัสว่าพระองค์คือผู้ปลดปล่อยที่แท้จริง เพราะพระองค์ทรงเสนอการอภัยโทษแก่ทุกคนที่เชื่อ แม้บางคนในฝูงชนจะอ้างว่าตนมีอิสรภาพ (ข้อ 33) แต่คำพูด ทัศนคติ และการกระทำของพวกเขาที่มีต่อพระเยซูนั้นกลับตรงกันข้าม

พระเยซูปรารถนาที่จะได้ยินเสียงสะท้อนคำอ้อนวอนของซิงเกที่บอกว่า “ขออิสรภาพให้ฉัน!” ด้วยพระเมตตา พระองค์ทรงรอคอยผู้ที่อยู่ภายใต้พันธนาการแห่งความไม่เชื่อ ความกลัว หรือความล้มเหลว อิสรภาพเป็นเรื่องของหัวใจ ความเป็นไทนี้มีให้เฉพาะผู้ที่เชื่อว่าพระเยซูทรงเป็นพระบุตรของพระเจ้า ผู้เสด็จมาในโลกเพื่อทำลายอำนาจครอบงำของบาป โดยการสิ้นพระชนม์และเป็นขึ้นของพระองค์

ทรงช่วยได้

การพัก” จากงานดูแลเหตุวิกฤติของคริสตจักรในเมืองนิวยอร์กเป็นเวลา 8 สัปดาห์ของโจไม่ใช่การพักผ่อน แต่เขาบอกว่าเป็น “การที่เขาจะได้กลับไปใช้ชีวิตท่ามกลางคนไร้บ้านอีกครั้ง เพื่อไปเป็นส่วนหนึ่งกับพวกเขา เพื่อรำลึกว่าความหิว ความเหนื่อย และการถูกลืมเป็นอย่างไร” การใช้ชีวิตข้างถนนของโจเกิดขึ้นครั้งแรกเมื่อ 9 ปีก่อน เขามาถึงเมืองพิทซ์เบิร์กโดยไม่มีทั้งงานและที่พัก เขาอดนอนใช้ชีวิตข้างถนนกับอาหารเพียงเล็กน้อยอยู่ 13 วัน พระเจ้าทรงเตรียมเขาสำหรับการทำพันธกิจกับผู้ยากไร้

เมื่อพระเยซูเสด็จเข้ามาในโลก พระองค์ก็ทรงเลือกที่จะใช้ชีวิตแบบเดียวกับผู้ที่พระองค์มาช่วย “บุตรทั้งหลายร่วมสายโลหิตกันฉันใด พระองค์ก็ทรงเป็นเช่นนั้นด้วย เพื่อโดยทางความตายนั้นเองพระองค์จะได้ทรงทำลายผู้ที่มีอำนาจแห่งความตายคือมารเสียได้” (ฮบ.2:14) พระเยซูทรงมีประสบการณ์แบบมนุษย์ทุกอย่างนับตั้งแต่เกิดจนตาย ยกเว้นความบาป (4:15) เพราะพระองค์มีชัยเหนือบาป พระองค์จึงทรงช่วยได้เมื่อเราถูกทดลอง

พระเยซูไม่ต้องมาทำความคุ้นเคยกับภาระฝ่ายโลกของเราอีก พระองค์ผู้ทรงช่วยกู้เรายังคงผูกพันกับเราและสนพระทัยในเราอย่างลึกซึ้ง ไม่ว่าจะเกิดอะไรในชีวิต เรามั่นใจได้ว่าพระองค์ผู้ทรงช่วยชีวิตเราจากศัตรูตัวฉกาจ คือมารนั้น (2:14) ทรงพร้อมที่จะช่วยเมื่อเราตกอยู่ในความจำเป็นที่สุด

ดีกว่าชีวิต

แม้แมรี่จะรักพระเยซู แต่ชีวิตของเธอก็ลำบากมาก ลูกชายสองคนและหลานสองคนล้วนตกเป็นเหยื่อถูกยิงและเสียชีวิต แมรี่ทุกข์ทรมานเพราะเส้นเลือดอุดตันทำให้ร่างกายซีกหนึ่งเป็นอัมพาต แต่ทันทีที่เธอสามารถไปนมัสการที่โบสถ์ได้ เธอจะไปสรรเสริญพระเจ้า “จิตวิญญาณของฉันรักพระเยซู สรรเสริญพระนามของพระองค์” แม้จะกระท่อนกระแท่นและทำได้ยากก็ตาม

นานมาแล้วก่อนที่แมรี่จะสรรเสริญพระเจ้า ดาวิดได้เขียนสดุดี 63 ขึ้นตอนต้นของสดุดีระบุว่าดาวิดเขียน “เมื่อท่านอยู่ในถิ่นทุรกันดารยูดาห์” แม้จะเป็นสถานการณ์ที่ไม่น่ายินดี จนถึงขั้นสิ้นหวัง แต่ท่านก็ไม่สิ้นหวัง เพราะท่านหวังใจในพระเจ้า “ข้าแต่พระเจ้า พระองค์ทรงเป็นพระเจ้าของข้าพระองค์ ข้าพระองค์แสวงพระองค์ จิตวิญญาณของข้าพระองค์กระหายหาพระองค์ ... ในดินแดนที่แห้งและอ่อนโหยที่ที่ไม่มีน้ำ” (ข้อ 1)

คุณอาจพบว่าตัวเองตกอยู่ในสถานการณ์ยากลำบาก ที่ไม่มีทิศทางชัดเจนหรือปัจจัยที่เพียงพอ ความยากลำบากอาจทำให้เราสับสน แต่ไม่จำเป็นต้องทำให้เราหลงทางเมื่อเรายึดพระองค์ผู้ทรงรักเรา (ข้อ 3) ผู้ทำให้เราอิ่มใจ (ข้อ 5) ช่วยเรา (ข้อ 7) และชูเราไว้ด้วยพระหัตถ์ขวาของพระองค์ (ข้อ 8) เพราะความรักมั่นคงของพระเจ้าดีกว่าชีวิต เราจึงสามารถแสดงความชื่นบานด้วยริมฝีปากที่สรรเสริญยกย่องพระองค์ได้เช่นเดียวกับแมรี่และดาวิด (ข้อ 3-5)

เป็นไทโดยพระเยซู

ผมอาศัยอยู่กับแม่นานมากจนแม่ต้องเป็นฝ่ายย้ายออกไป” นี่เป็นคำพูดของเคซีซึ่งมีชีวิตที่ไม่ค่อยดีนักก่อนที่จะได้คิดและยอมจำนนต่อพระเยซู เขายอมรับตามตรงว่าหาเงินมาซื้อยาเสพโดยการลักขโมยแม้แต่จากคนที่เขารัก ตอนนี้ชีวิตเช่นนั้นเป็นอดีตสำหรับเขาแล้ว เขาเล่าเรื่องนี้และบอกได้ถึงวัน เดือน ปี ที่เขาได้รับการชำระให้สะอาด ตอนที่เคซีมานั่งศึกษาพระคำพระเจ้ากับฉันเป็นประจำ ฉันได้เห็นชายที่เปลี่ยนแปลงไป

มาระโก 5:15 พูดถึงคนที่เคยถูกผีเข้าและได้รับการเปลี่ยนแปลงเช่นกัน ก่อนที่เขาจะได้รับการเยียวยา สภาพไร้ที่พึ่ง สิ้นหวัง ไร้บ้าน และอับจนเป็นคำที่เหมาะกับชายคนนี้ (ข้อ 3-5) แต่สิ่งเหล่านั้นเปลี่ยนไปหลังจากพระเยซูปลดปล่อยเขา (ข้อ 13) เช่นเดียวกับเคซี ก่อนจะมาพบพระเยซู ชีวิตของชายคนนี้ห่างไกลจากชีวิตปกติอย่างยิ่ง ความสับสนในจิตใจที่เขาแสดงออก ไม่ได้ต่างไปจากที่คนในยุคปัจจุบัน คนที่เจ็บปวดอาศัยอยู่ตามตึกร้าง ซากรถยนต์ หรือสถานที่อื่นๆ บางคนอาศัยอยู่ในบ้านของตนเองแต่กลับรู้สึกโดดเดี่ยว โซ่ตรวนที่มองไม่เห็นจองจำหัวใจและความคิดจนทำให้พวกเขาแยกตัวออกจากผู้อื่น

ในพระเยซู เรามีผู้ที่เราฝากมอบความเจ็บปวดและความละอายของอดีตและปัจจุบันไว้ได้ และเช่นเดียวกับชีวิตของชายในพระคัมภีร์ที่ถูกผีเข้ากับเคซี พระองค์ทรงรอคอยด้วยอ้อมแขนแห่งพระเมตตาสำหรับทุกคนที่เข้ามาหาพระองค์ในวันนี้ (ข้อ 19) - ALJ

มีส่วนร่วมกัน

ในช่วง 2 เดือนแรกปี 1994 ชาวทุตซี่ในรวันดาถูกสังหารมากถึงหนึ่งล้านคนโดยสมาชิกของเผ่าฮูตูซึ่งมักสังหารเพื่อนร่วมชาติ ในพิธีไว้อาลัยผู้ที่ถูกฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ที่น่ากลัว บิชอปเจฟฟรีย์ รวูบูซีซี ได้ขอให้ภรรยาของเขาช่วยเหลือผู้หญิงที่คนรักถูกสังหาร แมรี่ตอบว่า “ฉันไม่อยากทำอะไรทั้งนั้นนอกจากร้องไห้” เธอสูญเสียสมาชิกในครอบครัวเช่นกัน คำตอบของบิชอปเป็นคำตอบของผู้นำที่ฉลาดและสามีที่ห่วงใย “แมรี่ คุณรวมกลุ่มกับพวกผู้หญิงแล้วร้องไห้กับพวกเธอ” เขารู้ดีว่าความเจ็บปวดของภรรยาช่วยเตรียมเธออย่างเฉพาะเจาะจงให้ร่วมในความเจ็บปวดกับผู้อื่น

คริสตจักรซึ่งเป็นครอบครัวของพระเจ้า เป็นที่ซึ่งทุกชีวิตสามารถแบ่งปันทั้งสิ่งที่ดีและไม่ดีแก่กัน คำว่า “กันและกัน” ในพันธสัญญาใหม่แสดงถึงการพึ่งพากันและกัน “จงรักกันฉันพี่น้อง ส่วนการที่ให้เกียรติแก่กันและกันนั้น จงถือว่าผู้อื่นดีกว่าตัว...จงเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน” (รม.12:10,16) ความผูกพันของเรากว้างขวางเพียงใดปรากฏอยู่ในข้อ 15 “จงชื่นชมยินดีกับผู้ที่มีความชื่นชมยินดี จงร้องไห้กับผู้ที่ร้องไห้”

ในขณะที่ความเจ็บปวดของเราอาจไม่มากและรุนแรงเท่ากับผู้ที่ถูกฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ แต่ก็เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นจริงกับเรา และเช่นเดียวกับความเจ็บปวดของแมรี่ เรายอมรับและหนุนใจรวมทั้งทำเพื่อประโยชน์ของผู้อื่นได้เพราะสิ่งที่พระเจ้าทรงกระทำเพื่อเรา - ALJ

เราใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ หากท่านใช้บริการเว็บไซต์นี้ต่อไป นั่นเป็นการแสดงว่าท่านยอมรับ นโยบายการใช้คุกกี้ของเรา