ผู้เขียน

ดูทั้งหมด

บทความ โดย Tim Gustafson

บทนำ – พระคุณสำหรับวันนี้ | ต่อสู้ได้อย่างดี

ต่อสู้ได้อย่างดี

ผมรักเรื่องราวดีๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเฉลิมฉลองหรือโศกเศร้า บาดแผลหรือชัยชนะ วิตกกังวลหรือซึมเศร้า สำเร็จหรือล้มเหลว แต่ละเรื่องร้อยเรียงด้วยเส้นด้ายหลักถักทอเป็นผืนผ้า ในฐานะที่มีวิชาชีพด้านที่ปรึกษามากว่า 35 ปี ผมได้รับฟังเรื่องราวนับพัน ซึ่งเป็นสิทธิพิเศษที่ผมได้มีส่วนร่วมรับรู้ในชีวิตของแต่ละคนหรือในแต่ละครอบครัว และในการช่วยค้นหาทางออกเมื่อชีวิตต้องพบความท้าทาย หลายเรื่องราวมีส่วนคล้ายกัน รวมถึงชีวิตของผมเอง ซึ่งรายละเอียดอาจแตกต่างกันบ้าง แต่เส้นด้ายหลักยังคงเป็นเส้นเดียวกัน

ทุกชีวิตล้วนต้องต่อสู้ ไม่มีข้อยกเว้น เพียงแต่เราไม่สามารถมีชีวิตอยู่ในสภาวะที่ต้องต่อสู้ตลอดเวลาโดยไม่เห็นจุดจบได้ เราทุกคนมีแรงผลักดันที่ทำให้เราพยายามหาทางออกเสมอ แต่พลังงานส่วนใหญ่ของทั้งตัวเราและคนรอบข้างถูกใช้ไปเพื่อหลีกเลี่ยงสิ่งที่เลี่ยงไม่ได้ การทำให้ความทุกข์น้อยลงเป็นสิ่งแรกที่ทุกคนพยายามทำ และเราหวังว่าเมื่อถึงจุดหนึ่ง สุขภาพใจของเราจะแข็งแรง คือเป็นสภาวะที่มีสันติสุข มีความรื่นรมย์ในชีวิต และรู้สึกเติมเต็ม ปราศจากความเครียดและการดิ้นรนต่อสู้

อย่าเพิ่งเข้าใจผมผิด โลกนี้ยังคงเต็มไปด้วยความสวยงามมากมาย แต่ก็เหมือนที่ความงามไม่สามารถบดบังความแตกสลายทั้งหมดที่เราเห็นทั้งรอบตัวและในตัวเรา ความแตกสลายก็ไม่สามารถทำลายความงามทั้งหมดได้เช่นกัน สภาวะตึงเครียดระหว่างสองสิ่งนี้เป็นเหมือนเชื้อเพลิงที่ทำให้ความท้าทายนี้เกิดขึ้นเสมอในชีวิต พระเยซูคริสต์ทรงสอนให้สาวกเตรียมพร้อมสำหรับ “การทดลองและความโศกเศร้า” ในโลกนี้ (ยอห์น 16:33) เพราะพระองค์ทรงรู้ว่าพวกเขาจะพบความทุกข์ยากในชีวิต

ทำไมเราต้องต่อสู้ดิ้นรน? มีสองเหตุผลคือ ชีวิตเป็นเรื่องยาก และชีวิตมีความเจ็บปวด

ชีวิตเป็นเรื่องยาก ประโยคนี้อาจฟังดูเย็นชา แต่มันคือความจริง หากพูดกันตามตรง เราทุกคนไม่สมบูรณ์ อาศัยอยู่ในโลกที่ไม่สมบูรณ์ เต็มไปด้วยผู้คนที่ไม่สมบูรณ์ และความจริงคือ ชีวิตเป็นเรื่องยาก ไม่มีอะไรที่ได้มาง่ายๆ การดิ้นรนในชีวิตเป็นเรื่องปกติ แต่ในที่สุดทุกสิ่งจะสูญสลายไป รวมถึงการแก้ปัญหาแบบเร็วๆ หาคำตอบแบบเอาที่ง่าย เหมือนใช้เทปกาวซ่อมเท่าที่ทำได้ ที่พอแก้ปัญหาเฉพาะหน้า แต่ไม่ใช่ทางแก้ที่ยั่งยืนสำหรับความแตกสลายที่ร้าวลึกในตัวเราและรอบตัวเรา…

Grace for Today - พระคุณสำหรับวันนี้

10 บทความเพื่อความหวังและสุขภาพใจที่เข้มแข็งจากพันธกิจมานาประจำวัน

เสียงที่โดดเดี่ยว

หลังการประชุมสันติภาพ ณ กรุงปารีสซึ่งเป็นการยุติสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง นายพลเฟอร์ดินานด์ ฟอคชาวฝรั่งเศสตั้งข้อสังเกตอย่างขมขื่นว่า “นี่ไม่ใช่สันติภาพ แต่เป็นการพักรบไปยี่สิบปี” มุมมองของฟอคขัดแย้งกับความคิดเห็นของคนทั่วไปที่ว่าสงครามน่าสะพรึงกลัวครั้งนี้จะเป็น “สงครามเพื่อยุติสงครามทั้งปวง” ยี่สิบปีกับอีกสองเดือนต่อมาสงครามโลกครั้งที่สองก็ปะทุขึ้น ฟอคพูดถูก

นานมาแล้ว มีคายาห์ผู้เผยพระวจนะแท้เพียงคนเดียวของพระเจ้าในเวลานั้น ได้เผยพระวจนะซ้ำๆแก่คนอิสราเอลถึงผลร้ายในการสงคราม (2 พศด.18:7) ตรงกันข้ามกับผู้เผยพระวจนะเท็จสี่ร้อยคนของอาหับที่พยากรณ์ถึงชัยชนะ ข้าราชการในราชสำนักจึงกล่าวกับมีคายาห์ว่า “ดูเถิด ถ้อยคำของบรรดาผู้เผยพระวจนะก็พูดสิ่งที่เป็นมงคลแก่พระราชาดุจปากเดียวกัน ขอให้ถ้อยคำของท่านเหมือนอย่างถ้อยคำของคนหนึ่งในพวกนั้น และพูดแต่สิ่งที่เป็นมงคล” (ข้อ 12)

มีคายาห์ตอบว่า “พระเจ้าของข้าพเจ้าตรัสว่าอย่างไรข้าพเจ้าจะพูดอย่างนั้น” (ข้อ 13) ท่านเผยพระวจนะว่าได้เห็นคนอิสราเอล “กระจัดกระจายอยู่บนภูเขา อย่างแกะที่ไม่มีผู้เลี้ยง” (ข้อ 16) และมีคายาห์พูดถูก พวกอารัมสังหารอาหับและกองทัพของพระองค์แตกพ่ายไป (ข้อ 33-34, 1 พกษ.22:35-36)

เช่นเดียวกับมีคายาห์ พวกเราที่ติดตามพระเยซูก็แบ่งปันข่าวสารที่ขัดแย้งกับความเห็นของคนทั่วไป พระเยซูตรัสว่า “ไม่มีผู้ใดมาถึงพระบิดาได้นอกจากจะมาทางเรา” (ยน.14:6) หลายคนไม่ชอบถ้อยคำนั้นเพราะมันดูใจแคบไม่น่าฟัง และดูมี เอกสิทธิ์ เกินไป กระนั้นพระคริสต์ประทานถ้อยคำที่เล้าโลมใจสำหรับ ทุกคน นั่นคือพระองค์ทรงต้อนรับทุกคนที่หันมาหาพระองค์

บทนำ - พระคุณสำหรับวันนี้ | ต่อสู้ได้อย่างดี

ต่อสู้ได้อย่างดี

ผมรักเรื่องราวดีๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเฉลิมฉลองหรือโศกเศร้า บาดแผลหรือชัยชนะ วิตกกังวลหรือซึมเศร้า สำเร็จหรือล้มเหลว แต่ละเรื่องร้อยเรียงด้วยเส้นด้ายหลักถักทอเป็นผืนผ้า ในฐานะที่มีวิชาชีพด้านที่ปรึกษามากว่า 35 ปี ผมได้รับฟังเรื่องราวนับพัน ซึ่งเป็นสิทธิพิเศษที่ผมได้มีส่วนร่วมรับรู้ในชีวิตของแต่ละคนหรือในแต่ละครอบครัว และในการช่วยค้นหาทางออกเมื่อชีวิตต้องพบความท้าทาย หลายเรื่องราวมีส่วนคล้ายกัน รวมถึงชีวิตของผมเอง ซึ่งรายละเอียดอาจแตกต่างกันบ้าง แต่เส้นด้ายหลักยังคงเป็นเส้นเดียวกัน

ทุกชีวิตล้วนต้องต่อสู้ ไม่มีข้อยกเว้น เพียงแต่เราไม่สามารถมีชีวิตอยู่ในสภาวะที่ต้องต่อสู้ตลอดเวลาโดยไม่เห็นจุดจบได้ เราทุกคนมีแรงผลักดันที่ทำให้เราพยายามหาทางออกเสมอ แต่พลังงานส่วนใหญ่ของทั้งตัวเราและคนรอบข้างถูกใช้ไปเพื่อหลีกเลี่ยงสิ่งที่เลี่ยงไม่ได้ การทำให้ความทุกข์น้อยลงเป็นสิ่งแรกที่ทุกคนพยายามทำ และเราหวังว่าเมื่อถึงจุดหนึ่ง สุขภาพใจของเราจะแข็งแรง คือเป็นสภาวะที่มีสันติสุข มีความรื่นรมย์ในชีวิต และรู้สึกเติมเต็ม ปราศจากความเครียดและการดิ้นรนต่อสู้

อย่าเพิ่งเข้าใจผมผิด โลกนี้ยังคงเต็มไปด้วยความสวยงามมากมาย แต่ก็เหมือนที่ความงามไม่สามารถบดบังความแตกสลายทั้งหมดที่เราเห็นทั้งรอบตัวและในตัวเรา ความแตกสลายก็ไม่สามารถทำลายความงามทั้งหมดได้เช่นกัน สภาวะตึงเครียดระหว่างสองสิ่งนี้เป็นเหมือนเชื้อเพลิงที่ทำให้ความท้าทายนี้เกิดขึ้นเสมอในชีวิต พระเยซูคริสต์ทรงสอนให้สาวกเตรียมพร้อมสำหรับ “การทดลองและความโศกเศร้า” ในโลกนี้ (ยอห์น 16:33) เพราะพระองค์ทรงรู้ว่าพวกเขาจะพบความทุกข์ยากในชีวิต

ทำไมเราต้องต่อสู้ดิ้นรน? มีสองเหตุผลคือ ชีวิตเป็นเรื่องยาก และชีวิตมีความเจ็บปวด

ชีวิตเป็นเรื่องยาก ประโยคนี้อาจฟังดูเย็นชา แต่มันคือความจริง หากพูดกันตามตรง เราทุกคนไม่สมบูรณ์ อาศัยอยู่ในโลกที่ไม่สมบูรณ์ เต็มไปด้วยผู้คนที่ไม่สมบูรณ์ และความจริงคือ ชีวิตเป็นเรื่องยาก ไม่มีอะไรที่ได้มาง่ายๆ การดิ้นรนในชีวิตเป็นเรื่องปกติ แต่ในที่สุดทุกสิ่งจะสูญสลายไป รวมถึงการแก้ปัญหาแบบเร็วๆ หาคำตอบแบบเอาที่ง่าย เหมือนใช้เทปกาวซ่อมเท่าที่ทำได้ ที่พอแก้ปัญหาเฉพาะหน้า แต่ไม่ใช่ทางแก้ที่ยั่งยืนสำหรับความแตกสลายที่ร้าวลึกในตัวเราและรอบตัวเรา…

ทูตแห่งสันติของพระเจ้า

นอร่าไปเข้าร่วมการประท้วงอย่างสันติเพราะเธอรู้สึกอย่างแรงกล้าต่อปัญหาเรื่องความยุติธรรม การประท้วงเกิดขึ้นเงียบๆตามที่วางแผนไว้ ผู้ประท้วงเดินผ่านใจกลางเมืองด้วยความเงียบอันทรงพลัง

แล้วรถบัสสองคันก็มาจอด ผู้ก่อกวนจากนอกเมืองมาถึง การจลาจลเกิดขึ้นตามมา นอร่าจึงออกมาด้วยความผิดหวัง ดูเหมือนว่าความตั้งใจดีของพวกเขาไม่เกิดผล

เมื่ออัครทูตเปาโลไปเยี่ยมวิหารที่กรุงเยรูซาเล็ม บรรดาคนที่ต่อต้านท่านเห็นท่านที่นั่น พวกเขา “มาจากแคว้นเอเชีย” (กจ.21:27) และมองว่าพระเยซูเป็นศัตรูต่อวิถีชีวิตของพวกเขา พวกเขาป่าวประกาศข่าวลือและเรื่องโกหกเกี่ยวกับเปาโลซึ่งก่อปัญหาขึ้นอย่างรวดเร็ว (ข้อ 28-29) ฝูงชนลากเปาโลออกจากพระวิหารและทุบตีท่าน ทหารพากันวิ่งมา

เมื่อเปาโลถูกจับ ท่านขอนายพันชาวโรมันเพื่อจะพูดกับประชาชน (ข้อ 37-38) เมื่อได้รับอนุญาต ท่านพูดกับประชาชนด้วยภาษาของพวกเขา ซึ่งทำให้พวกเขาประหลาดใจและรู้สึกสนใจ (ข้อ 40) และด้วยวิธีนั้น เปาโลได้เปลี่ยนการจลาจลให้เป็นโอกาสที่จะแบ่งปันเรื่องราวที่ท่านได้รับการช่วยกู้จากศาสนาที่ตายไปแล้ว (22:2-21)

คนบางคนรักความรุนแรงและการแบ่งแยก จงอย่าท้อใจ พวกเขาจะไม่ชนะ พระเจ้าทรงมองหาผู้เชื่อที่กล้าหาญซึ่งจะแบ่งปันแสงสว่างและสันติสุขของพระองค์ให้แก่โลกที่สิ้นหวังของเรา สิ่งที่ดูเหมือนเป็นวิกฤตอาจจะเป็นโอกาสให้คุณได้สำแดงความรักของพระเจ้ากับใครบางคนก็เป็นได้

บังเกิดใหม่ในพระเยซู

เรารู้ว่าลีโอนาร์โด ดาวินชี เป็นคนในยุคเรอเนสซองส์ (ยุคฟื้นฟูศิลปวิทยา) ความอัจฉริยะรอบรู้ของเขานำไปสู่ความก้าวหน้าทางการศึกษาและศิลปะหลายแขนง แต่ลีโอนาร์โดกลับบันทึกถึง “วันอันน่าสังเวชของเรา” และคร่ำครวญว่าเราตาย “โดยไม่ได้ทิ้งความทรงจำใดๆเกี่ยวกับตัวเราไว้กับมนุษย์เลย”

“เมื่อข้าพเจ้าคิดว่ากำลังเรียนรู้ถึงการมีชีวิต” ลีโอนาร์โดกล่าว “ข้าพเจ้าก็กำลังเรียนรู้ถึงการตาย” เขาเข้าใกล้ความจริงยิ่งกว่าที่คิด การเรียนรู้จักความตายคือหนทางของชีวิต หลังจากที่พระเยซูเสด็จเข้ากรุงเยรูซาเล็มอย่างผู้พิชิต (ซึ่งปัจจุบันคือเทศกาลฉลองวันอาทิตย์ทางตาล; ดู ยน.12:12-19) พระองค์ตรัสว่า “ถ้าเมล็ดข้าวไม่ได้ตกลงไปในดินและเปื่อยเน่าไป ก็จะคงอยู่เป็นเมล็ดเดียว แต่ถ้าเปื่อยเน่าไปแล้ว ก็จะงอกขึ้นเกิดผลมาก” (ข้อ 24) พระองค์ตรัสถึงการสิ้นพระชนม์ของพระองค์เองแต่ทรงขยายให้ครอบคลุมถึงเราทุกคนด้วย “ผู้ใดที่รักชีวิตของตนก็ต้องเสียชีวิต และผู้ที่ชังชีวิตของตนในโลกนี้ ก็จะธำรงชีวิตนั้นไว้นิรันดร์” (ข้อ 25)

เปาโลเขียนถึงการถูก “ฝัง” ไว้กับพระคริสต์ “โดยการรับบัพติศมาเข้าส่วนในการตายนั้น เพื่อว่าเมื่อพระคริสต์ได้ทรงถูกชุบให้เป็นขึ้นมาจากความตายโดยเดชพระสิริของพระบิดาแล้ว เราก็จะได้ดำเนินตามชีวิตใหม่ด้วยเหมือนกัน เพราะว่าถ้าเราเข้าสนิทกับพระองค์แล้วในการตายอย่างพระองค์ เราก็จะเข้าสนิทกับพระองค์ ในการเป็นขึ้นมาอย่างพระองค์ได้ทรงเป็นขึ้นมาจากความตายด้วย” (รม.6:4-5)

พระเยซูประทานการบังเกิดใหม่แก่เราผ่านการสิ้นพระชนม์ของพระองค์ นี่คือความหมายที่แท้จริงของเรอเนสซองส์ พระองค์ทรงสร้างหนทางไปสู่ชีวิตนิรันดร์กับพระบิดา

มรดกนิรันดร์

ขณะที่พายุทรายดัสท์ โบว์พัดถล่มสหรัฐอเมริกาในช่วงภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ จอห์น มิลเบิร์น เดวิสซึ่งอาศัยอยู่ในเมืองไฮวาธา รัฐแคนซัสได้ตัดสินใจสร้างชื่อเสียงให้กับตัวเอง เดวิสเป็นเศรษฐีที่สร้างฐานะมาด้วยตนเองและไม่มีลูก เขาอาจใช้เงินเพื่อทำการกุศลหรือการพัฒนาเศรษฐกิจ แต่เขากลับจ่ายเงินจำนวนมหาศาลเพื่อสร้างรูปปั้นขนาดเท่าตัวจริงของเขาเองและภรรยาผู้ล่วงลับไปแล้วจำนวนสิบเอ็ดรูปไว้ในสุสานท้องถิ่น

“คนในแคนซัสเกลียดผม” เดวิสบอกกับนักข่าวที่ชื่อเออร์นี่ ไพล์ ชาวเมืองต้องการให้เขาสร้างสิ่งอำนวยความสะดวก เช่น โรงพยาบาล สระว่ายน้ำ หรือสวนสาธารณะ แต่เขาพูดเพียงว่า “มันเป็นเงินของผม ผมจะใช้จ่ายมันตามที่ผมพอใจ”

กษัตริย์ซาโลมอนผู้มั่งคั่งที่สุดในยุคสมัยของพระองค์ได้เขียนไว้ว่า “คนรักเงินย่อมไม่อิ่มเงิน” และ “เมื่อของดีเพิ่มพูนขึ้น คนกินก็มีคับคั่งขึ้น” (ปญจ.5:10-11) ซาโลมอนตระหนักดีถึงแนวโน้มที่เสื่อมทรามของความมั่งคั่ง

อัครทูตเปาโลเองก็เข้าใจถึงการล่อลวงของความมั่งคั่งและเลือกที่จะลงทุนชีวิตของท่านเพื่อเชื่อฟังพระเยซู ขณะรอการประหารชีวิตในคุกโรมัน ท่านเขียนอย่างผู้มีชัยชนะว่า “เพราะว่าข้าพเจ้ากำลังจะตกเป็นเครื่องบูชาอยู่แล้ว...ข้าพเจ้าได้แข่งขันจนถึงที่สุด ข้าพเจ้าได้รักษาความเชื่อไว้แล้ว” (2 ทธ.4:6-7)

สิ่งที่คงอยู่ไม่ใช่สิ่งที่เราสกัดด้วยหินหรือสะสมไว้เพื่อตัวเราเอง แต่เป็นสิ่งที่เรามอบให้แก่กันด้วยความรักและมอบให้กับพระองค์ ผู้ทรงสำแดงให้เราเห็นถึงวิธีที่จะรัก

แม้แต่พระธรรมเลวีนิติ

หัวข้อคือพระธรรมเลวีนิติ และผมมีเรื่องจะสารภาพ “ผมอ่านข้ามไปเยอะมาก” ผมบอกกับกลุ่มศึกษาพระคัมภีร์ “ผมจะไม่อ่านเกี่ยวกับเรื่องโรคผิวหนังอีก”

นั่นคือตอนที่เดฟเพื่อนของผมพูดขึ้นว่า “ผมรู้จักชายคนหนึ่งที่เชื่อในพระเยซูเพราะพระธรรมตอนนั้น” เดฟอธิบายว่า เพื่อนของเขาเป็นแพทย์และเป็นพวกที่เชื่อว่าไม่มีพระเจ้า เขาตัดสินใจว่าก่อนที่เขาจะปฏิเสธพระคัมภีร์อย่างสิ้นเชิง เขาควรอ่านด้วยตัวเองดีกว่า หมวดเรื่องโรคผิวหนังในพระธรรมเลวีนิติทำให้เขาประทับใจ มีรายละเอียดที่น่าประหลาดใจเกี่ยวกับแผลที่แพร่เชื้อได้และที่ไม่แพร่เชื้อ (13:1-46) และวิธีการรักษา (14:8-9) เขารู้ว่าความรู้ในเรื่องนี้ล้ำหน้ากว่าการแพทย์ในสมัยนั้นมาก แต่กลับมีเรื่องนี้ในพระธรรมเลวีนิติ เขาคิดว่า ไม่มีทางที่โมเสสจะรู้เรื่องทั้งหมดนี้ได้ นายแพทย์เริ่มพิจารณาว่าโมเสสได้รับข้อมูลจากพระเจ้าจริงๆ ในที่สุดเขาจึงเชื่อในพระเยซู

ถ้าบางส่วนของพระคัมภีร์ทำให้คุณเบื่อหน่าย ผมก็รู้สึกเช่นกัน แต่ทุกอย่างที่กล่าวในนั้นมีเหตุผล พระธรรมเลวีนิติเขียนขึ้นเพื่อให้คนอิสราเอลรู้ว่าจะดำเนินชีวิตกับพระเจ้าและมีชีวิตอยู่ต่อไปอย่างไร เมื่อเราเรียนรู้มากขึ้นเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างพระเจ้ากับประชากรของพระองค์ เราก็ได้เรียนรู้จักพระเจ้าพระองค์เอง

อัครทูตเปาโลบันทึกว่า “พระคัมภีร์ทุกตอนได้รับการดลใจจากพระเจ้า และเป็นประโยชน์ในการสอน การตักเตือนว่ากล่าว การปรับปรุงแก้ไขคนให้ดี และการอบรมในทางธรรม” (2ทธ.3:16) ขอให้เราอ่านต่อไป แม้ว่าจะเป็นพระธรรมเลวีนิติก็ตาม

ส่งเสริมศักดิ์ศรี

เพื่อนสาวของแม็กกี้ปรากฏตัวในคริสตจักรด้วยชุดที่ดูน่าตกใจ แต่ก็ไม่ควรมีใครแปลกใจเพราะเธอเป็นหญิงขายบริการ เพื่อนผู้มาเยือนของแม็กกี้ขยับตัวในที่นั่งของเธออย่างกระสับกระส่าย สลับกับคอยดึงกระโปรงที่สั้นเกินไปและกอดอกอย่างระวังตัว

“โอ เธอหนาวเหรอ” แม็กกี้ถาม เพื่อหันเหความสนใจจากการแต่งตัวของเธออย่างชาญฉลาด “เอานี่! เอาผ้าคลุมไหล่ของฉัน” แม็กกี้ได้แนะนำให้คนจำนวนหลายสิบคนมารู้จักพระเยซูอย่างง่ายๆ โดยชวนพวกเขามาคริสตจักรและช่วยให้พวกเขารู้สึกสบายใจ ข่าวประเสริฐมีหนทางส่องสว่างผ่านวิธีการที่เธอทำให้พวกเขารู้สึกสบายใจ เธอปฏิบัติต่อทุกคนอย่างมีศักดิ์ศรี

เมื่อผู้นำทางศาสนานำตัวผู้หญิงคนหนึ่งมาอยู่ต่อพระพักตร์พระเยซูด้วยข้อหารุนแรงฐานล่วงประเวณี (ซึ่งถูกต้อง) พระคริสต์ก็ไม่ได้แสดงความสนใจเธอจนกระทั่งทรงทำให้พวกผู้กล่าวหาเธอละจากไป เมื่อพวกเขาไปแล้วพระองค์จะทรงต่อว่าเธอก็ได้ แต่กลับทรงถามคำถามง่ายๆ สองข้อ “หญิงเอ๋ย พวกเขาไปไหนหมด” และ “ไม่มีใครเอาโทษเจ้าหรือ” (ยน.8:10) แน่นอนว่าคำตอบของคำถามข้อหลัง คือ ไม่มีใครเลย พระเยซูจึงประทานข่าวประเสริฐแก่เธอด้วยข้อความสั้นๆ เพียงประโยคเดียวว่า “เราก็ไม่เอาโทษเจ้าเหมือนกัน” และคำเชื้อเชิญที่ว่า “จงไปเถิดและอย่าทำผิดอีก” (ข้อ 11)

อย่าประเมินพลังของความรักแท้ที่มีต่อผู้คนต่ำเกินไป เพราะความรักเช่นนั้นจะไม่กล่าวโทษ ทั้งยังส่งเสริมความมีศักดิ์ศรีและการให้อภัยแก่ทุกคน

เราใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ หากท่านใช้บริการเว็บไซต์นี้ต่อไป นั่นเป็นการแสดงว่าท่านยอมรับ นโยบายการใช้คุกกี้ของเรา