ผู้เขียน

ดูทั้งหมด

บทความ โดย Patricia Raybon

เก้าอี้มิตรภาพ

ในซิมบับเว่ทวีปแอฟริกา บาดแผลจากสงครามและอัตราการว่างงานสูงทำให้ผู้คนสิ้นหวัง จนกระทั่งพวกเขาได้พบความหวังในโครงการ “เก้าอี้มิตรภาพ” คนที่หมดหวังสามารถไปนั่งพูดคุยกับ “คุณยาย” ที่ได้รับการอบรมให้รับฟังคนที่มีภาวะซึมเศร้า หรือที่ภาษาโชนาเรียกว่า คูฟุงกิซิสซา หรือ “การคิดมากเกินไป”

โครงการเก้าอี้มิตรภาพเกิดขึ้นที่อื่นด้วย เช่น ซันซิบาร์ ลอนดอน และนิวยอร์ก นักวิจัยชาวลอนดอนกล่าวว่า “พวกเราตื่นเต้นมากกับผลที่เกิดขึ้น” ผู้ให้คำปรึกษาจากนิวยอร์กเสริมว่า “ไม่นานคุณจะรู้สึกว่าไม่ใช่เพียงแค่เก้าอี้ แต่กำลังพูดสนทนาอย่างอบอุ่นกับคนที่ห่วงใยคุณ”

โครงการนี้ทำให้คิดถึงความอบอุ่นและความอัศจรรย์เมื่อได้พูดคุยกับพระเจ้าผู้ทรงฤทธิ์ โมเสสตั้งเต็นท์นัดพบเพื่อพูดคุยกับพระเจ้า ที่นั่น “พระเจ้าเคยตรัสสนทนากับโมเสสสองต่อสอง เหมือนมิตรสหายสนทนากัน” (อพย. 33:11) โยชูวาผู้ช่วยของโมเสสมักอยู่ในเต็นท์ อาจเป็นเพราะท่านให้ความสำคัญกับการใช้เวลากับพระเจ้ามาก (ข้อ 11)

ปัจจุบันนี้เราไม่ต้องมีเต็นท์นัดพบ พระเยซูทรงนำพระบิดาเข้ามาใกล้ ดังที่ทรงบอกกับสาวกว่า “เราเรียกท่านว่ามิตรสหาย เพราะว่าทุกสิ่งที่เราได้ยินจากพระบิดาของเรา เราได้สำแดงแก่ท่านแล้ว” (ยน.15:15) พระเจ้าทรงรอคอยเรา ทรงเป็นผู้เยียวยาจิตใจที่ชาญฉลาดและเป็นเพื่อนที่เข้าใจ จงพูดคุยกับพระองค์ในเวลานี้

ชะลอเวลา

หลายอย่างเปลี่ยนแปลงไปหลังมีการประดิษฐ์นาฬิกาไฟฟ้าขึ้นในช่วงทศวรรษ 1840 ทุกวันนี้เราดูเวลาจากนาฬิกาอัจฉริยะ โทรศัพท์สมาร์ทโฟนและคอมพิวเตอร์พกพา ทุกย่างก้าวชีวิตดูเหมือนจะเร็วขึ้น แม้แต่การเดิน “เล่น” ก็เร่งรีบขึ้น โดยเฉพาะชีวิตในเมืองซึ่งส่งผลเสียต่อสุขภาพ นักวิชาการกล่าวว่า “เราก็แค่เคลื่อนไหวเร็วขึ้นและเร็วขึ้น และตอบสนองต่อผู้คนให้เร็วที่สุดเท่าที่ทำได้” ศาสตราจารย์ริชาร์ด ไวส์แมน ให้ข้อสังเกตว่า “นั่นทำให้เราคิดว่าทุกสิ่งต้องเกิดขึ้นทันที”

โมเสส ผู้เขียนสดุดีที่เก่าแก่ที่สุดบทหนึ่ง ใคร่ครวญถึงเวลา ท่านเตือนเราว่าพระเจ้าทรงควบคุมย่างก้าวของชีวิต “พันปีในสายพระเนตรของพระองค์ เป็นเหมือนวานนี้ซึ่งผ่านไปแล้ว หรือเหมือนยามเดียวในกลางคืน” (สดด.90:4)

ดังนั้น เคล็ดลับในการบริหารเวลาคือต้องไม่เร็วหรือช้าเกินไป คือการใกล้ชิดพระเจ้าและใช้เวลากับพระองค์มากขึ้น จากนั้นพวกเราจึงก้าวไปพร้อมกัน แต่ก่อนอื่นเราต้องก้าวไปพร้อมกับพระองค์ ผู้ทรงสร้างเรา (139:13) และทรงทราบวัตถุประสงค์และแผนการในชีวิตของเรา (ข้อ 16)

เวลาของเราในโลกไม่ยืนยาวตลอดไป แต่เราสามารถจัดการเวลาอย่างฉลาด ไม่ใช่โดยการมองนาฬิกา แต่โดยการมอบแต่ละวันไว้กับพระเจ้า เช่นที่โมเสสกล่าว “ขอพระองค์ทรงสอนให้นับวันของข้าพระองค์ เพื่อข้าพระองค์ทั้งหลายจะมีจิตใจที่มีปัญญา” (90:12) โดยพระเจ้า เราจะทันเวลาเสมอตั้งแต่บัดนี้และตลอดไป

นำโดยพระวจนะ

ที่สำนักข่าวบีบีซีในลอนดอน งานแรกของพอล อาร์โนลด์ที่ออกอากาศคือการทำ “เสียงเดิน” ให้กับละครวิทยุ ขณะที่นักแสดงอ่านบทในฉากที่มีการเดิน พอลที่เป็นผู้จัดการเวทีต้องทำเสียงจากเท้าให้เข้ากัน ระวังให้จังหวะเหมาะกับเสียงและบทสนทนาของนักแสดง เขาอธิบายว่า สิ่งที่ยากคือการยอมตามนักแสดงในเรื่อง “เพื่อเราสองคนจะทำงานร่วมกัน”

ทูลขอต่อพระเจ้า

เมื่อสามีของฉันได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็ง ฉันไม่รู้วิธีเหมาะสมที่จะอธิษฐาน “ทูลขอ” เพื่อเขา ฉันคิดเพียงว่าคนอื่นในโลกนี้มีปัญหาที่ร้ายแรงอย่างสงคราม การกันดารอาหาร ความยากจน ภัยธรรมชาติ แล้ววันหนึ่งขณะที่เราอธิษฐานตอนเช้า ฉันได้ยินเขาทูลขอด้วยใจถ่อมว่า “พระเจ้า ขอทรงรักษาผมด้วย”

รักคนแปลกหน้า

สมาชิกคนหนึ่งในครอบครัวของฉันเปลี่ยนไปนับถือศาสนาอื่น เพื่อนคริสเตียนจึงบอกให้ฉัน “โน้มน้าว” เธอให้กลับมาหาพระเยซู ฉันพบว่าตัวเองเริ่มรักคนในครอบครัวอย่างที่พระคริสต์รัก รวมทั้งในที่สาธารณะที่ผู้คนจ้องมองเธออย่างเดียดฉันท์ที่เธอสวมเสื้อผ้า “แปลกประหลาด” บางคนถึงกับวิจารณ์อย่างหยาบคาย ชายคนหนึ่งตะโกนใส่เธอจากรถว่า “กลับบ้านไปซะ” โดยไม่รู้หรือไม่สนใจเลยว่าเธออยู่ที่ “บ้าน” อยู่แล้ว

เข้มแข็งด้วยบทเพลง

ชาวบ้านฝรั่งเศสที่ช่วยซ่อนผู้อพยพชาวยิวจากนาซีช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ร้องเพลงในป่าทึบเพื่อบอกผู้อพยพว่าปลอดภัยออกมาจากที่ซ่อนได้ ชาวเมืองที่กล้าหาญในเลอชอมบงเซอลิยอง ทำตามคำขอของศิษยาบาลท้องถิ่น อองเดร ทรอคเม และแมกดาซึ่งเป็นภรรยา โดยให้ที่หลบภัยช่วงสงครามแก่ชาวยิวบนที่ราบสูงชื่อ “ลามองตาจน์ โปเตสตองท์” บทเพลงนี้สื่อถึงความกล้าหาญของชาวบ้านที่ช่วยชีวิตชาวยิวมากกว่า 3,000 คนที่เกือบจะต้องตาย

แสงนำทาง

ร้านอาหารร้านนั้นสวยแต่มืด แต่ละโต๊ะมีเพียงเทียนเล่มเดียวที่ให้แสงริบหรี่ ลูกค้าต้องใช้แสงไฟจากโทรศัพท์มือถือส่องอ่านเมนู มองดูเพื่อนร่วม โต๊ะ และแม้แต่มองอาหารที่ตนกำลังกินอยู่

มีโอกาสอีกครั้ง

ที่ร้านจักรยานมือสองเพื่อการกุศลใกล้บ้านเรา มีอาสาสมัครมาซ่อมจักรยานเก่าแล้วบริจาคให้เด็กผู้ยากไร้ เออร์นี่ คลาร์กผู้ก่อตั้งได้บริจาคจักรยานให้คนยากจน ทั้งคนไร้บ้าน ผู้พิการ และทหารผ่านศึก จักรยานได้กลับมาเป็นประโยชน์ และผู้ที่รับจักรยานก็ได้เริ่มต้นชีวิตใหม่ อดีตทหารคนหนึ่งขี่จักรยานที่ได้รับไปสัมภาษณ์งาน

จากไร้ค่าสู่ล้ำค่า

บ้านของคนเก็บขยะตั้งอยู่บนถนนสูงชันในย่านโบโกตาที่เสื่อมโทรมไม่มีอะไรดูพิเศษ แต่บ้านอิฐธรรมดาในเมืองหลวงของโคลัมเบีย หลังนี้เป็นห้องสมุดที่ไม่คิดค่าบริการ ซึ่งมีหนังสือ 25,000 เล่ม เป็นหนังสือที่มีคนทิ้ง แล้วโฮเซ่อัลเบอร์โต วูเกียเร รวบรวมมาแบ่งปันให้เด็กยากจนในชุมชนของเขา

เราใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ หากท่านใช้บริการเว็บไซต์นี้ต่อไป นั่นเป็นการแสดงว่าท่านยอมรับ นโยบายการใช้คุกกี้ของเรา