ผู้เขียน

ดูทั้งหมด

บทความ โดย Patricia Raybon

การเติบโตในพระเจ้า

ในช่วงปีแรกๆของการเป็นนักเขียนคริสเตียน เกลมักจะได้รับของขวัญจากสำนักพิมพ์ของเธอบ่อยๆ ไม่ว่าจะเป็นช่อดอกไม้ ช็อกโกแลต หรือกล่องชาสมุนไพร ซึ่งล้วนแต่เป็นของดีๆ แต่เมื่อเวลาผ่านไปสำนักพิมพ์ของเธอเริ่มส่งของขวัญซึ่งมีคุณค่าที่เป็นนิรันดร์ ไม่ว่าจะเป็นพระคัมภีร์ หนังสือเฝ้าเดี่ยว หรือสมุดบันทึกคำอธิษฐานสำหรับหนึ่งปี เมื่อเธอใช้สิ่งเหล่านี้ เกลก็เริ่มเป็นผู้ใหญ่ฝ่ายวิญญาณมากขึ้นและไม่ถูกทำให้ไขว้เขวด้วยของขวัญที่มีราคา และเธอเริ่มมีความมุ่งมั่นมากขึ้นที่จะใช้ชีวิตเพื่อนำผู้อื่นมาหาพระคริสต์

วิธีการนี้ทำให้นึกถึงการเติบโตของทิโมธีภายใต้การเลี้ยงดูของอัครทูตเปาโล ผู้ซึ่งเน้นย้ำถึงความเป็นผู้ใหญ่ฝ่ายวิญญาณ โดยบอกว่า “จงอุตส่าห์สำแดงตนว่าได้ทรงพิสูจน์แล้ว เป็นคนงานที่ไม่ต้องอาย ใช้พระวจนะแห่งความจริงอย่างถูกต้อง” (2 ทธ.2:15)

เปาโลกล่าวต่อไปว่า “จงหลีกเสียจากคำสอนที่ไร้คุณธรรม เพราะคำอย่างนั้นจะนำคนไปสู่อธรรมมากยิ่งขึ้น” (ข้อ 16) และกล่าวอีกว่า “จงหลีกหนีเสียจากราคะตัณหาของคนหนุ่ม...อย่าข้องแวะกับปัญหาอันโง่เขลาและไม่เป็นสาระ...ผู้รับใช้ขององค์พระผู้เป็นเจ้าต้องไม่เป็นคนที่ชอบการทะเลาะวิวาท แต่ต้องมีใจเมตตาต่อทุกคน เป็นครูที่เหมาะสมและมีความอดทน” (ข้อ 22-24)

คำแนะนำอันชาญฉลาดของเปาโลทำให้ผู้เชื่อได้รับประโยชน์ที่สำคัญอีกประการหนึ่ง แม้แต่ฝ่ายตรงข้ามกับพระคริสต์เมื่อได้เห็นความเป็นผู้ใหญ่ของเรา พวกเขาก็อาจจะ “มาถึงซึ่งความจริงและหลุดพ้นบ่วงของมาร ผู้ซึ่งดักจับเขาไว้” (ข้อ 26) ดังนั้น การ “เติบโต” ในพระเจ้าจึงมีผลนิรันดร์ที่ไม่ได้จบแค่ตัวเราเอง ขออย่ารอช้าที่จะเติบโตในความเชื่อ เพื่อผู้อื่นจะได้รับประโยชน์จากเราด้วย

วางแผนด้วยความหยั่งรู้

เอซดาน เป็นแพทย์ในเมืองเล็กๆที่มีความฝันยิ่งใหญ่ให้เอเลนอร์ลูกสาวที่ยังเล็ก เธอเป็นโรคดาวน์ซินโดรมและเขาหวังที่จะเปิดธุรกิจเพื่อสร้างรายได้ในอนาคตให้เธอ เขารู้สึก “กลัว” ที่จะไล่ตามความฝันนี้ จึงลงเรียนหลักสูตรออนไลน์เกี่ยวกับวิธีเริ่มต้นธุรกิจ จากนั้นเขากับภรรยาเปิดร้านเบเกอรี่ของครอบครัวในเมืองไวโอมิ่งและประสบความสำเร็จ “มันกลายเป็นธุรกิจจริงๆที่มีพนักงาน” เอซดานกล่าว ตอนนี้เอเลนอร์ซึ่งโตแล้วทำหน้าที่เป็นพนักงานเก็บเงินและติดต่อกับลูกค้าออนไลน์ “ทุกคนในเมืองรู้ว่าเธอเป็นใคร” เอซดานเล่า ความเชื่อแบบก้าวกระโดดของเขาในการวางแผนอนาคตของเอเลนอร์สะท้อนถึงการตัดสินใจอย่างสุขุมด้วยความหยั่งรู้

นี่เป็นคุณสมบัติพื้นฐานในพระคัมภีร์ การหยั่งรู้เป็นองค์ประกอบของปัญญาที่พระเจ้าทรงกำหนดไว้เพื่อการวางแผนของเราทั้งในปัจจุบันและอนาคต สุภาษิต 14:8 กล่าวว่า “ปัญญาของคนหยั่งรู้คือการเข้าใจทางของเขา แต่ความโง่ของคนโง่เป็นที่หลอกลวง” แทนที่จะกังวลถึงอนาคตหรือว่าไม่ทำอะไรเลย คนที่หยั่งรู้จะพึ่งพาสติปัญญาจากพระเจ้าในการวางแผนสำหรับอนาคต

อันที่จริงการหยั่งรู้เป็นคำศัพท์ที่มาจากภาษาลาติน prudentia แปลว่า “มองเห็นการณ์ไกล” “คนเขลาเชื่อถือทุกอย่าง แต่คนหยั่งรู้มองดูว่าเขากำลังไปทางไหน” (ข้อ 15) พวกเขามองเห็นล่วงหน้าถึงสิ่งที่อาจเกิดขึ้น จึงทำงานอย่างรอบคอบเพื่อสร้างตาข่ายนิรภัย ซึ่งก็คือแผนการทำงานอย่างรัดกุมสำหรับคนมีปัญญา!

ขอให้เรามีความเฉียบแหลมในความเชื่อ ที่จะดำเนินชีวิตด้วยความหยั่งรู้ โดยการก้าวเดินไปพร้อมกับพระเจ้า

รักคนต่างด้าว

ภรรยาของเพื่อนฉันเป็นช่างเย็บผ้าฝีมือดี เธอวางแผนไว้ด้วยความรักก่อนที่จะเสียชีวิตจากอาการป่วยเรื้อรัง เธอบริจาคอุปกรณ์ตัดเย็บทั้งหมดให้กับสมาคมช่างเย็บผ้าของเมืองเรา ทำให้มีจักรเย็บผ้า โต๊ะตัดผ้า และอื่นๆ สำหรับการสอนผู้อพยพที่เพิ่งมาอยู่ใหม่ “ผมนับเฉพาะกล่องผ้าได้ 28 กล่อง” สามีของเธอบอกเรา “มีผู้หญิงหกคนมารับเอาของทั้งหมดไป นักเรียนของพวกเธอเป็นคนขยันขันแข็งและกระตือรือร้นที่จะเรียนรู้”

คนอื่นๆจะพูดถึงคนที่มาอยู่ใหม่ในทางที่ไม่ค่อยดีนัก ความทุกข์ยากของผู้อพยพกลายเป็นประเด็นที่ทำให้เกิดความแตกแยก

อย่างไรก็ตาม โมเสสได้เปิดเผยมุมมองของพระเจ้าว่า “อย่า​ข่ม​เหง​คน​ต่างด้าว ตัว​เจ้า​เองรับรู้รสชาติการเป็น​คน​ต่างด้าว​มาแล้ว” (อพย.23:9TNCV) นอกจากนี้ ท่านยังกล่าวถึงกฎของพระเจ้าที่เกี่ยวกับคนต่างด้าวอีกว่า “เมื่อ​เจ้า​ทั้ง​หลาย​เกี่ยว​ข้าว​ใน​นา...อย่า​เ​ก็​บ​ผล​ที่​สวน​องุ่น​ให้​หมด เจ้า​อย่า​เ​ก็​บ​องุ่น​ที่​ตก​ใน​สวน​ของ​เจ้า จง​เหลือ​ไว้​ให้​คน​ยากจน​และ​คน​ต่างด้าว​บ้าง เรา​คือ​พระ​เยโฮวาห์​พระ​เจ้า​ของ​เจ้า” (ลนต.19:9-10)

นอกจากนี้พระเจ้ายังทรงประกาศด้วยว่า “เมื่อ​คน​ต่างด้าว​อาศัย​อยู่​กับ​เจ้า​ใน​แผ่นดิน​ของ​เจ้า อย่า​ข่ม​เหง​เขา​ คน​ต่างด้าว​ที่​อาศัย​อยู่​กับ​เจ้า​นั้น​ก็​เหมือนกับ​ชาว​เมือง​ของ​เจ้า เจ้า​จง​รัก​เขา​เหมือนกับ​รัก​ตัวเอง เพราะ​ว่า​เจ้า​เคย​เป็น​คน​ต่างด้าว​ใน​แผ่นดิน​อียิปต์ เรา​คือ​พระ​เยโฮวาห์​พระ​เจ้า​ของ​เจ้า” (ข้อ 33-34)

พระเจ้าทรงวางมาตรฐานเอาไว้ ขอพระองค์ทรงอวยพรจิตใจของเราให้แสดงความรักต่อคนต่างด้าวที่อยู่ท่ามกลางเรา

มีกันและกันดีกว่า

การใช้สารเสพติดเป็นเวลาถึงสิบปีทำให้เม็กกี้ต้องเข้าๆออกๆเรือนจำ ถ้าชีวิตของเธอไม่เปลี่ยน อีกไม่ช้าเธอก็จะต้องกลับเข้าคุกอีก แล้วเธอก็ได้พบกับฮันส์ อดีตคนติดยาที่เกือบจะเสียมือของเขาไปจากอาการเส้นเลือดแตกเนื่องจากติดสารเสพติด “นั่นเป็นครั้งแรกที่ผมเรียกหาพระเจ้า” ฮันส์กล่าว คำตอบของพระเจ้าทำให้เขาได้มาเป็นผู้ช่วยการบำบัดในองค์กรที่ประสานงานด้านการฟื้นฟูสำหรับผู้ติดยาที่ถูกคุมขัง

โครงการนี้ชื่อว่า ซุปก้อนหิน คอยช่วยเหลือเรือนจำในอเมริกาโดยช่วยสนับสนุนอดีตผู้ต้องขังให้กลับคืนสู่ชุมชนได้ โครงการนี้ทำให้เม็กกี้ได้ย้ายเข้าไปอยู่ในสถานเตรียมความพร้อมก่อนกลับสู่สังคมและเลิกยาได้ ปัจจุบันฮันส์ช่วยประสานงานให้เธอและคนอื่นๆ ในการหางานทำ ในด้านการศึกษา การบำบัด และจัดหาทรัพยากรต่างๆสำหรับครอบครัว

พระคัมภีร์อธิบายถึงข้อดีของการมีพันธมิตรอย่างฉลาด “สอง​คน​ดีกว่า​คน​เดียว เพราะว่าเขาทั้งสองได้รับผลของงานดี ด้วยว่าถ้าคนหนึ่งล้มลง อีกคนหนึ่งจะได้พะยุงเพื่อนของตนให้ลุกขึ้น” (ปญจ.4:9-10) อย่างไรก็ตาม “แต่วิบัติแก่คนนั้นที่อยู่คนเดียวเมื่อเขาล้มลง และไม่มีผู้อื่นพะยุงยกเขาให้ลุกขึ้น” (ข้อ 10)

ในนิทานพื้นบ้านเรื่อง “ซุปก้อนหิน” นักเดินทางผู้หิวโหยได้ชักชวนชาวเมืองแต่ละคนให้แบ่งปันส่วนผสมหนึ่งอย่างเพื่อทำซุปแสนอร่อยให้กับทุกคน ในทำนองเดียวกัน พระคัมภีร์ยืนยันว่าเราจะแข็งแกร่งและมีประสิทธิภาพดีกว่าเมื่ออยู่ด้วยกัน (ข้อ 12) พระเจ้าทรงมีแผนการให้เราใช้ชีวิตในชุมชนเพื่อช่วยเหลือผู้อื่นและรับความช่วยเหลือเป็นการตอบแทน ซึ่งไม่ใช่นิทานปรัมปรา แต่เป็นความจริงของชีวิต

สะอาดจากภายใน

ในวันซึ่งอากาศหนาวจัดในเดือนพฤศจิกายน คริสตจักรของเราหวังว่าจะจัดเตรียมกระเป๋าบรรจุสิ่งของสองร้อยใบเพื่อให้กับคนไร้บ้าน ในการเตรียมตัวเพื่อช่วยบรรจุสิ่งของเหล่านั้น ฉันคัดแยกสิ่งของที่ได้รับบริจาค อธิษฐานขอถุงมือ หมวก ถุงเท้า และผ้าห่มใหม่ๆ โดยจะมีการแจกแซนด์วิชให้กับผู้ที่จะได้รับกระเป๋าของขวัญนี้ด้วย แล้วฉันก็สังเกตเห็นของชิ้นหนึ่งที่ทำให้ฉันประหลาดใจนั่นคือผ้าเช็ดตัว ฉันมุ่งให้ความสำคัญกับสิ่งที่ช่วยให้ผู้คนอบอุ่นและมีอาหาร แต่มีคนระลึกได้ว่าต้องช่วยให้ผู้รับของเรารู้สึกสะอาดด้วย

พระคัมภีร์พูดถึง “ความสะอาด” อีกแบบหนึ่งคือความสะอาดของจิตใจและวิญญาณ พระเยซูทรงชี้ให้เห็นเรื่องนี้ขณะที่ทรงประณามความหน้าซื่อใจคดของพวกธรรมาจารย์และฟาริสี พวกเขาถือรักษาข้อกำหนดที่เล็กน้อยที่สุดในธรรมบัญญัติแต่ “ข้อสำคัญแห่งธรรมบัญญัติคือความยุติธรรม ความเมตตา ความเชื่อนั้นได้ละเลยเสีย” (มธ.23:23) พระคริสต์ตรัสกับพวกเขาว่า “เจ้าขัดชำระถ้วยชามแต่ภายนอก ส่วนภายในถ้วยชามนั้นเต็มด้วยโจรกรรมและการมัวเมากิเลส...จงชำระถ้วยชามภายในเสียก่อน เพื่อข้างนอกจะได้สะอาดด้วย” (ข้อ 25-26)

การทำตัวเหมือนว่าเราไม่มีตำหนิในฝ่ายวิญญาณก็เป็นเพียงแค่การแสดงหากเราไม่แสวงหาการชำระให้สะอาดที่พบได้ในพระคริสต์ “มีอะไรล้างบาปข้าได้” คือคำถามจากบทเพลงชีวิตคริสเตียนเก่าแก่บทหนึ่ง “มีแต่พระโลหิตพระเยซู” ผ้าเช็ดตัวผืนใหม่อาจเป็นของขวัญเพื่อชำระเราภายนอกได้ แต่พระเยซูทรงชำระเราจากภายใน ทรงล้างชำระแม้กระทั่งบาปที่ร้ายกาจที่สุดของเรา

วันที่ 3 - ถ้อยคำแห่งความห่วงใย

ยอห์น 19:26-27

พระเยซู... ตรัสกับมารดาของพระองค์ว่า "หญิงเอ๋ย จงดูบุตรของท่านเถิด”

แล้วพระองค์ตรัสกับสาวก (ยอห์น)ว่า “จงดูมารดาของท่านเถิด”

เมื่อพ่อของฉันเสียชีวิตลงไม่นานหลังวันครบรอบแต่งงาน 40 ปีของพวกท่าน แม่ของฉันเสียใจมาก และรู้สึกกังวล ใครจะจ่ายค่าใช้จ่ายต่างๆ จะมีเงินพอหรือไม่ ถ้าต้องซ่อมแซมบ้านจะทำอย่างไร ในไม่ช้าแม่ก็เรียนรู้ว่าไม่จำเป็นต้องกังวลเลย เพราะพ่อของฉัน หากต้องเสียชีวิตลง ท่านได้จัดเตรียมการเงินทุกอย่างให้ไว้กับแม่ตั้งแต่หลายปีที่แล้ว ส่วนฉันและพี่สาวก็ตกลงจะช่วยแม่ในความต้องการด้านอื่นๆ

จากคำพูดประโยคสุดท้ายข้างต้นของพระเยซู การดูแลครอบครัวเช่นนี้มีความหมายพิเศษ แม้พระองค์กำลังถูกตรึงอยู่บนกางเขน แต่พระองค์ก็ยังทรงมองลงมายังมารีย์ แม่ของพระองค์ และยอห์น สาวกที่รักของพระองค์ แล้วพระองค์ทรงตรัสคำพูดที่สัมผัสใจว่า “หญิงเอ๋ย จงดูบุตรของท่านเถิด” และทรงตรัสกับยอห์นว่า “จงดูมารดาของท่านเถิด” (ยอห์น 19:26-27)

นี่คือถ้อยคำที่เต็มไปด้วยความรักที่ทรงตรัสออกมาในห้วงเวลาแห่งความทุกข์ระทม ในวัฒนธรรมชาวยิว ลูกชายที่กำลังจะสิ้นใจจะฝากฝังให้พี่ชายหรือน้องชายเป็นผู้ดูแลแม่ ในกรณีของพระเยซูก็จะเป็นน้องชาย (ดูมัทธิว 13:55) เนื่องจากโยเซฟ สามีของมารีย์น่าจะเสียชีวิตไปแล้ว แต่น้องชายของพระเยซูในขณะนั้นยังไม่ยอมรับว่าพระองค์เป็นพระคริสต์ คือองค์พระเมสสิยาห์

พระเยซูทรงให้ความสำคัญกับความเป็นอยู่ของมารีย์ จึงทรงแต่งตั้งยอห์นให้เป็นผู้ดูแลมารดาของพระองค์ “ตั้งแต่เวลานั้นมาสาวกคนนั้นก็รับมารดาของพระองค์มาอยู่ในบ้านของตน” (ยอห์น 19:27) สิ่งที่พระคริสต์ทรงกระทำสะท้อนให้เห็นว่า ผู้เชื่อทุกคนเป็นสมาชิกในครอบครัวใหม่ของพระเจ้า พระองค์ทรงสถาปนาสายสัมพันธ์แห่งการดูแลกันและกันเอาไว้ที่เชิงไม้กางเขน

แพทริเชีย เรย์บอน

ใคร่ครวญ : คุณดูแลคนอื่นอย่างไร การมองว่าผู้เชื่อเป็นครอบครัวของคุณ…

วันที่ 3 - ถ้อยคำแห่งความห่วงใย

ยอห์น 19:26-27

พระเยซู... ตรัสกับมารดาของพระองค์ว่า "หญิงเอ๋ย จงดูบุตรของท่านเถิด”

แล้วพระองค์ตรัสกับสาวก (ยอห์น)ว่า “จงดูมารดาของท่านเถิด”

เมื่อพ่อของฉันเสียชีวิตลงไม่นานหลังวันครบรอบแต่งงาน 40 ปีของพวกท่าน แม่ของฉันเสียใจมาก และรู้สึกกังวล ใครจะจ่ายค่าใช้จ่ายต่างๆ จะมีเงินพอหรือไม่ ถ้าต้องซ่อมแซมบ้านจะทำอย่างไร ในไม่ช้าแม่ก็เรียนรู้ว่าไม่จำเป็นต้องกังวลเลย เพราะพ่อของฉัน หากต้องเสียชีวิตลง ท่านได้จัดเตรียมการเงินทุกอย่างให้ไว้กับแม่ตั้งแต่หลายปีที่แล้ว ส่วนฉันและพี่สาวก็ตกลงจะช่วยแม่ในความต้องการด้านอื่นๆ

จากคำพูดประโยคสุดท้ายข้างต้นของพระเยซู การดูแลครอบครัวเช่นนี้มีความหมายพิเศษ แม้พระองค์กำลังถูกตรึงอยู่บนกางเขน แต่พระองค์ก็ยังทรงมองลงมายังมารีย์ แม่ของพระองค์ และยอห์น สาวกที่รักของพระองค์ แล้วพระองค์ทรงตรัสคำพูดที่สัมผัสใจว่า “หญิงเอ๋ย จงดูบุตรของท่านเถิด” และทรงตรัสกับยอห์นว่า “จงดูมารดาของท่านเถิด” (ยอห์น 19:26-27)

นี่คือถ้อยคำที่เต็มไปด้วยความรักที่ทรงตรัสออกมาในห้วงเวลาแห่งความทุกข์ระทม ในวัฒนธรรมชาวยิว ลูกชายที่กำลังจะสิ้นใจจะฝากฝังให้พี่ชายหรือน้องชายเป็นผู้ดูแลแม่ ในกรณีของพระเยซูก็จะเป็นน้องชาย (ดูมัทธิว 13:55) เนื่องจากโยเซฟ สามีของมารีย์น่าจะเสียชีวิตไปแล้ว แต่น้องชายของพระเยซูในขณะนั้นยังไม่ยอมรับว่าพระองค์เป็นพระคริสต์ คือองค์พระเมสสิยาห์

พระเยซูทรงให้ความสำคัญกับความเป็นอยู่ของมารีย์ จึงทรงแต่งตั้งยอห์นให้เป็นผู้ดูแลมารดาของพระองค์ “ตั้งแต่เวลานั้นมาสาวกคนนั้นก็รับมารดาของพระองค์มาอยู่ในบ้านของตน” (ยอห์น 19:27) สิ่งที่พระคริสต์ทรงกระทำสะท้อนให้เห็นว่า ผู้เชื่อทุกคนเป็นสมาชิกในครอบครัวใหม่ของพระเจ้า พระองค์ทรงสถาปนาสายสัมพันธ์แห่งการดูแลกันและกันเอาไว้ที่เชิงไม้กางเขน

แพทริเชีย เรย์บอน

ใคร่ครวญ : คุณดูแลคนอื่นอย่างไร การมองว่าผู้เชื่อเป็นครอบครัวของคุณ…

สวมใส่พระวิญญาณบริสุทธิ์

เด็กชายวัยแปดขวบสองคนในรัฐเมน ซึ่งเป็นรัฐชนบทของอเมริกา กลายเป็นที่จดจำด้วยการสวมชุดสูทไปโรงเรียนทุกวันพุธ ในไม่ช้า “วันพุธภูมิฐาน” ก็กลายเป็นวันยอดนิยม เพราะเพื่อนนักเรียนและเจ้าหน้าที่ในโรงเรียนต่างพากันแต่งตัวด้วยเช่นกัน เจมส์ผู้ริเริ่มความคิดนี้ชอบฟังคำชม “มันทำให้ผมรู้สึกดีมาก” เสื้อผ้าประจำวันพุธทำให้พวกเขาแตกต่าง กลายเป็นนักเรียนที่มีความภาคภูมิใจในโรงเรียนของพวกเขา

เสื้อผ้าฝ่ายจิตวิญญาณซึ่งทำให้เราแตกต่างในฐานะคนของพระเจ้า ก็ทำให้ใจเราชื่นบานเช่นกัน“จิตใจของข้าพเจ้าจะลิงโลดในพระเจ้าของข้าพเจ้า” อิสยาห์กล่าว “เพราะพระองค์ได้ทรงสวมข้าพเจ้าด้วยเสื้อผ้าแห่งความรอด พระองค์ทรงคลุมข้าพเจ้าด้วยเสื้อแห่งความชอบธรรม อย่างเจ้าบ่าวประดับตัวด้วยพวงมาลัย และอย่างเจ้าสาวตกแต่งตัวด้วยเพชรนิลจินดา”​ (อสย.61:10)

เมื่อชนอิสราเอลถูกกวาดต้อนไปเป็นเชลย เสื้อผ้าของพวกเขาทั้งที่สวมใส่และเสื้อผ้าฝ่ายวิญญาณนั้น มีสภาพเก่าและขาดวิ่น อิสยาห์ได้มอบพระสัญญาแห่งความหวังแก่พวกเขา คือ พระวิญญาณของพระเจ้าจะ “ประทานมาลัยแทนขี้เถ้าให้เขา น้ำมันแห่งความยินดีแทนการไว้ทุกข์ ผ้าห่มแห่งการสรรเสริญแทนจิตใจที่ท้อถอย” (ข้อ 3)

พระสัญญาเดียวกันนี้มีสำหรับคนของพระเจ้าในปัจจุบันเช่นกัน พระเยซูตรัสว่าโดยพระวิญญาณของพระองค์เราจะ “ประกอบด้วยฤทธิ์เดชที่มาจากเบื้องบน” (ลก.24:49) พระคริสต์ทรงประทานให้เรามีเสื้อผ้าแห่ง “ใจเมตตา ใจปรานี ใจถ่อม ใจอ่อนสุภาพใจอดทนไว้นาน” (คส.3:12) เมื่อเราสวมใส่พระองค์ เราก็จะสะท้อนความรักของพระองค์ให้โลกนี้ได้เห็น

มอบความกังวลไว้กับพระเยซู

แนนซี่กลัวอนาคตเพราะเธอมองเห็นแต่ปัญหา ทอมสามีของเธอเป็นลมไปสามครั้งขณะเดินป่าในชนบทของรัฐเมน แต่แพทย์ของโรงพยาบาลเล็กๆ ในละแวกนั้นตรวจไม่พบสิ่งผิดปกติใดๆ และที่ศูนย์การแพทย์ใหญ่แพทย์ได้ทำการตรวจเพิ่มเติมแต่ก็ไม่พบปัญหาเช่นกัน “ฉันกลัวมาก” แนนซี่กล่าว ขณะที่สามีของเธอได้รับอนุญาตให้กลับบ้าน เธอถามหมอโรคหัวใจเป็นครั้งสุดท้ายว่า “ตอนนี้เราต้องทำอย่างไร” หมอได้ให้คำแนะนำแห่งสติปัญญาที่เปลี่ยนมุมมองของเธอตลอดไป “กลับไปใช้ชีวิตของคุณ” เขากล่าว “นี่ไม่ใช่คำพูดติดตลก” แนนซี่เล่า “แต่เป็นคำแนะนำสำหรับเรา”

คำแนะนำนั้นตรงกับคำสอนของพระเยซูในคำเทศนาบนภูเขา พระองค์ตรัสว่า “อย่ากระวนกระวายถึงชีวิตของตนว่า จะเอาอะไรกิน หรือจะเอาอะไรดื่ม และอย่ากระวนกระวายถึงร่างกายของตนว่า จะเอาอะไรนุ่งห่ม ชีวิตสำคัญยิ่งกว่าอาหารมิใช่หรือ และร่างกายสำคัญยิ่งกว่าเครื่องนุ่งห่มมิใช่หรือ” (มธ.6:25) คำแนะนำนั้นไม่ได้บอกเราว่าไม่ต้องสนใจเรื่องการแพทย์ หรือปัญหาและอาการต่างๆของโรค ในทางกลับกันพระคริสต์ตรัสว่า “อย่ากระวนกระวาย” (ข้อ 25) จากนั้นทรงถามว่า “โดยความกระวนกระวาย อาจต่อชีวิตให้ยาวออกไปอีกสักศอกหนึ่งได้หรือ” (ข้อ 27)

ผู้เผยพระวจนะอิสยาห์ได้นำเสนอถึงสติปัญญาที่คล้ายกัน “จงกล่าวกับคนที่มีใจคร้ามกลัวว่า ‘จงแข็งแรงเถอะ อย่ากลัว ดูเถิด พระเจ้าของท่านทั้งหลายจะเสด็จมา’”(อสย.35:4) สำหรับแนนซี่และทอม ตอนนี้พวกเขาได้รับแรงบันดาลใจให้เดินวันละมากกว่าแปดกิโลเมตร พวกเขาไม่ได้เดินด้วยความกังวลอีกต่อไป แต่ก้าวเดินไปด้วยความชื่นชมยินดี

เราใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ หากท่านใช้บริการเว็บไซต์นี้ต่อไป นั่นเป็นการแสดงว่าท่านยอมรับ นโยบายการใช้คุกกี้ของเรา