ผู้เขียน

ดูทั้งหมด

บทความ โดย Patricia Raybon

วันที่ 3 - ถ้อยคำแห่งความห่วงใย

ยอห์น 19:26-27

พระเยซู... ตรัสกับมารดาของพระองค์ว่า "หญิงเอ๋ย จงดูบุตรของท่านเถิด”

แล้วพระองค์ตรัสกับสาวก (ยอห์น)ว่า “จงดูมารดาของท่านเถิด”

เมื่อพ่อของฉันเสียชีวิตลงไม่นานหลังวันครบรอบแต่งงาน 40 ปีของพวกท่าน แม่ของฉันเสียใจมาก และรู้สึกกังวล ใครจะจ่ายค่าใช้จ่ายต่างๆ จะมีเงินพอหรือไม่ ถ้าต้องซ่อมแซมบ้านจะทำอย่างไร ในไม่ช้าแม่ก็เรียนรู้ว่าไม่จำเป็นต้องกังวลเลย เพราะพ่อของฉัน หากต้องเสียชีวิตลง ท่านได้จัดเตรียมการเงินทุกอย่างให้ไว้กับแม่ตั้งแต่หลายปีที่แล้ว ส่วนฉันและพี่สาวก็ตกลงจะช่วยแม่ในความต้องการด้านอื่นๆ

จากคำพูดประโยคสุดท้ายข้างต้นของพระเยซู การดูแลครอบครัวเช่นนี้มีความหมายพิเศษ แม้พระองค์กำลังถูกตรึงอยู่บนกางเขน แต่พระองค์ก็ยังทรงมองลงมายังมารีย์ แม่ของพระองค์ และยอห์น สาวกที่รักของพระองค์ แล้วพระองค์ทรงตรัสคำพูดที่สัมผัสใจว่า “หญิงเอ๋ย จงดูบุตรของท่านเถิด” และทรงตรัสกับยอห์นว่า “จงดูมารดาของท่านเถิด” (ยอห์น 19:26-27)

นี่คือถ้อยคำที่เต็มไปด้วยความรักที่ทรงตรัสออกมาในห้วงเวลาแห่งความทุกข์ระทม ในวัฒนธรรมชาวยิว ลูกชายที่กำลังจะสิ้นใจจะฝากฝังให้พี่ชายหรือน้องชายเป็นผู้ดูแลแม่ ในกรณีของพระเยซูก็จะเป็นน้องชาย (ดูมัทธิว 13:55) เนื่องจากโยเซฟ สามีของมารีย์น่าจะเสียชีวิตไปแล้ว แต่น้องชายของพระเยซูในขณะนั้นยังไม่ยอมรับว่าพระองค์เป็นพระคริสต์ คือองค์พระเมสสิยาห์

พระเยซูทรงให้ความสำคัญกับความเป็นอยู่ของมารีย์ จึงทรงแต่งตั้งยอห์นให้เป็นผู้ดูแลมารดาของพระองค์ “ตั้งแต่เวลานั้นมาสาวกคนนั้นก็รับมารดาของพระองค์มาอยู่ในบ้านของตน” (ยอห์น 19:27) สิ่งที่พระคริสต์ทรงกระทำสะท้อนให้เห็นว่า ผู้เชื่อทุกคนเป็นสมาชิกในครอบครัวใหม่ของพระเจ้า พระองค์ทรงสถาปนาสายสัมพันธ์แห่งการดูแลกันและกันเอาไว้ที่เชิงไม้กางเขน

แพทริเชีย เรย์บอน

ใคร่ครวญ : คุณดูแลคนอื่นอย่างไร การมองว่าผู้เชื่อเป็นครอบครัวของคุณ…

วันที่ 3 - ถ้อยคำแห่งความห่วงใย

ยอห์น 19:26-27

พระเยซู... ตรัสกับมารดาของพระองค์ว่า "หญิงเอ๋ย จงดูบุตรของท่านเถิด”

แล้วพระองค์ตรัสกับสาวก (ยอห์น)ว่า “จงดูมารดาของท่านเถิด”

เมื่อพ่อของฉันเสียชีวิตลงไม่นานหลังวันครบรอบแต่งงาน 40 ปีของพวกท่าน แม่ของฉันเสียใจมาก และรู้สึกกังวล ใครจะจ่ายค่าใช้จ่ายต่างๆ จะมีเงินพอหรือไม่ ถ้าต้องซ่อมแซมบ้านจะทำอย่างไร ในไม่ช้าแม่ก็เรียนรู้ว่าไม่จำเป็นต้องกังวลเลย เพราะพ่อของฉัน หากต้องเสียชีวิตลง ท่านได้จัดเตรียมการเงินทุกอย่างให้ไว้กับแม่ตั้งแต่หลายปีที่แล้ว ส่วนฉันและพี่สาวก็ตกลงจะช่วยแม่ในความต้องการด้านอื่นๆ

จากคำพูดประโยคสุดท้ายข้างต้นของพระเยซู การดูแลครอบครัวเช่นนี้มีความหมายพิเศษ แม้พระองค์กำลังถูกตรึงอยู่บนกางเขน แต่พระองค์ก็ยังทรงมองลงมายังมารีย์ แม่ของพระองค์ และยอห์น สาวกที่รักของพระองค์ แล้วพระองค์ทรงตรัสคำพูดที่สัมผัสใจว่า “หญิงเอ๋ย จงดูบุตรของท่านเถิด” และทรงตรัสกับยอห์นว่า “จงดูมารดาของท่านเถิด” (ยอห์น 19:26-27)

นี่คือถ้อยคำที่เต็มไปด้วยความรักที่ทรงตรัสออกมาในห้วงเวลาแห่งความทุกข์ระทม ในวัฒนธรรมชาวยิว ลูกชายที่กำลังจะสิ้นใจจะฝากฝังให้พี่ชายหรือน้องชายเป็นผู้ดูแลแม่ ในกรณีของพระเยซูก็จะเป็นน้องชาย (ดูมัทธิว 13:55) เนื่องจากโยเซฟ สามีของมารีย์น่าจะเสียชีวิตไปแล้ว แต่น้องชายของพระเยซูในขณะนั้นยังไม่ยอมรับว่าพระองค์เป็นพระคริสต์ คือองค์พระเมสสิยาห์

พระเยซูทรงให้ความสำคัญกับความเป็นอยู่ของมารีย์ จึงทรงแต่งตั้งยอห์นให้เป็นผู้ดูแลมารดาของพระองค์ “ตั้งแต่เวลานั้นมาสาวกคนนั้นก็รับมารดาของพระองค์มาอยู่ในบ้านของตน” (ยอห์น 19:27) สิ่งที่พระคริสต์ทรงกระทำสะท้อนให้เห็นว่า ผู้เชื่อทุกคนเป็นสมาชิกในครอบครัวใหม่ของพระเจ้า พระองค์ทรงสถาปนาสายสัมพันธ์แห่งการดูแลกันและกันเอาไว้ที่เชิงไม้กางเขน

แพทริเชีย เรย์บอน

ใคร่ครวญ : คุณดูแลคนอื่นอย่างไร การมองว่าผู้เชื่อเป็นครอบครัวของคุณ…

สวมใส่พระวิญญาณบริสุทธิ์

เด็กชายวัยแปดขวบสองคนในรัฐเมน ซึ่งเป็นรัฐชนบทของอเมริกา กลายเป็นที่จดจำด้วยการสวมชุดสูทไปโรงเรียนทุกวันพุธ ในไม่ช้า “วันพุธภูมิฐาน” ก็กลายเป็นวันยอดนิยม เพราะเพื่อนนักเรียนและเจ้าหน้าที่ในโรงเรียนต่างพากันแต่งตัวด้วยเช่นกัน เจมส์ผู้ริเริ่มความคิดนี้ชอบฟังคำชม “มันทำให้ผมรู้สึกดีมาก” เสื้อผ้าประจำวันพุธทำให้พวกเขาแตกต่าง กลายเป็นนักเรียนที่มีความภาคภูมิใจในโรงเรียนของพวกเขา

เสื้อผ้าฝ่ายจิตวิญญาณซึ่งทำให้เราแตกต่างในฐานะคนของพระเจ้า ก็ทำให้ใจเราชื่นบานเช่นกัน“จิตใจของข้าพเจ้าจะลิงโลดในพระเจ้าของข้าพเจ้า” อิสยาห์กล่าว “เพราะพระองค์ได้ทรงสวมข้าพเจ้าด้วยเสื้อผ้าแห่งความรอด พระองค์ทรงคลุมข้าพเจ้าด้วยเสื้อแห่งความชอบธรรม อย่างเจ้าบ่าวประดับตัวด้วยพวงมาลัย และอย่างเจ้าสาวตกแต่งตัวด้วยเพชรนิลจินดา”​ (อสย.61:10)

เมื่อชนอิสราเอลถูกกวาดต้อนไปเป็นเชลย เสื้อผ้าของพวกเขาทั้งที่สวมใส่และเสื้อผ้าฝ่ายวิญญาณนั้น มีสภาพเก่าและขาดวิ่น อิสยาห์ได้มอบพระสัญญาแห่งความหวังแก่พวกเขา คือ พระวิญญาณของพระเจ้าจะ “ประทานมาลัยแทนขี้เถ้าให้เขา น้ำมันแห่งความยินดีแทนการไว้ทุกข์ ผ้าห่มแห่งการสรรเสริญแทนจิตใจที่ท้อถอย” (ข้อ 3)

พระสัญญาเดียวกันนี้มีสำหรับคนของพระเจ้าในปัจจุบันเช่นกัน พระเยซูตรัสว่าโดยพระวิญญาณของพระองค์เราจะ “ประกอบด้วยฤทธิ์เดชที่มาจากเบื้องบน” (ลก.24:49) พระคริสต์ทรงประทานให้เรามีเสื้อผ้าแห่ง “ใจเมตตา ใจปรานี ใจถ่อม ใจอ่อนสุภาพใจอดทนไว้นาน” (คส.3:12) เมื่อเราสวมใส่พระองค์ เราก็จะสะท้อนความรักของพระองค์ให้โลกนี้ได้เห็น

มอบความกังวลไว้กับพระเยซู

แนนซี่กลัวอนาคตเพราะเธอมองเห็นแต่ปัญหา ทอมสามีของเธอเป็นลมไปสามครั้งขณะเดินป่าในชนบทของรัฐเมน แต่แพทย์ของโรงพยาบาลเล็กๆ ในละแวกนั้นตรวจไม่พบสิ่งผิดปกติใดๆ และที่ศูนย์การแพทย์ใหญ่แพทย์ได้ทำการตรวจเพิ่มเติมแต่ก็ไม่พบปัญหาเช่นกัน “ฉันกลัวมาก” แนนซี่กล่าว ขณะที่สามีของเธอได้รับอนุญาตให้กลับบ้าน เธอถามหมอโรคหัวใจเป็นครั้งสุดท้ายว่า “ตอนนี้เราต้องทำอย่างไร” หมอได้ให้คำแนะนำแห่งสติปัญญาที่เปลี่ยนมุมมองของเธอตลอดไป “กลับไปใช้ชีวิตของคุณ” เขากล่าว “นี่ไม่ใช่คำพูดติดตลก” แนนซี่เล่า “แต่เป็นคำแนะนำสำหรับเรา”

คำแนะนำนั้นตรงกับคำสอนของพระเยซูในคำเทศนาบนภูเขา พระองค์ตรัสว่า “อย่ากระวนกระวายถึงชีวิตของตนว่า จะเอาอะไรกิน หรือจะเอาอะไรดื่ม และอย่ากระวนกระวายถึงร่างกายของตนว่า จะเอาอะไรนุ่งห่ม ชีวิตสำคัญยิ่งกว่าอาหารมิใช่หรือ และร่างกายสำคัญยิ่งกว่าเครื่องนุ่งห่มมิใช่หรือ” (มธ.6:25) คำแนะนำนั้นไม่ได้บอกเราว่าไม่ต้องสนใจเรื่องการแพทย์ หรือปัญหาและอาการต่างๆของโรค ในทางกลับกันพระคริสต์ตรัสว่า “อย่ากระวนกระวาย” (ข้อ 25) จากนั้นทรงถามว่า “โดยความกระวนกระวาย อาจต่อชีวิตให้ยาวออกไปอีกสักศอกหนึ่งได้หรือ” (ข้อ 27)

ผู้เผยพระวจนะอิสยาห์ได้นำเสนอถึงสติปัญญาที่คล้ายกัน “จงกล่าวกับคนที่มีใจคร้ามกลัวว่า ‘จงแข็งแรงเถอะ อย่ากลัว ดูเถิด พระเจ้าของท่านทั้งหลายจะเสด็จมา’”(อสย.35:4) สำหรับแนนซี่และทอม ตอนนี้พวกเขาได้รับแรงบันดาลใจให้เดินวันละมากกว่าแปดกิโลเมตร พวกเขาไม่ได้เดินด้วยความกังวลอีกต่อไป แต่ก้าวเดินไปด้วยความชื่นชมยินดี

สันติสุขในพระคริสต์

พวกเขาจะชนะด้วยการโต้เถียงกันหรือไม่ ไม่มีทาง ผู้นำของเมืองเล็กๆ เตือนประชาชนที่อาศัยในเขตอุทยานอดิรอนแด็ก ที่ซึ่งการต่อสู้อย่างดุเดือดระหว่างนักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและเจ้าของธุรกิจขนาดเล็กได้จุดชนวน “สงครามอดิรอนแด็ก” ขึ้น ชื่อนี้บรรยายถึงการต่อสู้ของพวกเขาว่าจะอนุรักษ์พื้นที่ป่าดั้งเดิมทางตอนเหนือของนิวยอร์กไว้หรือจะพัฒนาพื้นที่แห่งนี้

“มาทางไหนก็กลับไปทางนั้น!” ผู้นำชุมชนตะโกนใส่นักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม แต่ไม่นานข้อความใหม่ก็ดังขึ้น “อย่าตะโกนใส่กัน พยายามคุยกันดีๆ” มีการทำข้อตกลงจัดตั้งพันธมิตรเพื่อเป็นสะพานเชื่อมระหว่างคู่พิพาททั้งสองฝ่าย การเจรจากันของพลเมืองนำไปสู่ข้อยุติ พื้นที่ป่าเกือบ 2.53 ล้านไร่ได้รับการอนุรักษ์ ขณะที่เมืองอดิรอนแด็กเจริญขึ้นกว่าที่เคยเป็นมาตลอดยี่สิบปี

การอยู่ร่วมกันอย่างสันติคือจุดเริ่มต้น แต่เปาโลสอนบางสิ่งที่ดีกว่าแก่ผู้เชื่อใหม่ในโคโลสี ท่านกล่าวว่า “จงเปลื้องทิ้งเสีย คือความโกรธ ความขัดเคือง การคิดปองร้าย การพูดให้ร้าย คำพูดหยาบโลน” (คส.3:8) เปาโลเตือนพวกเขาให้แลกเปลี่ยนวิถีเก่าของตนกับธรรมชาติใหม่ของพระคริสต์ ท่านเขียนว่า “จงสวมใจเมตตา ใจปรานี ใจถ่อม ใจอ่อนสุภาพ ใจอดทนไว้นาน” (ข้อ 12)

วันนี้คำเชิญได้ถูกมอบแก่ผู้เชื่อทุกคน ให้ละทิ้งชีวิตเก่าที่ดื้อดึงเพื่อมีชีวิตใหม่ในพระคริสต์ “จงให้สันติสุขของพระคริสต์ครองจิตใจของท่าน พระเจ้าทรงเรียกท่านไว้ให้เป็นกายเดียวด้วย เพื่อสันติสุขนั้น” (ข้อ 15) แล้วจากนั้น ด้วยสันติสุขที่อยู่ภายในเรา โลกจะได้เห็นพระเยซู

แต่งงานกับความรัก

ในงานแต่งงานของเมเรดิธ แม่ของเธออ่านพระวจนะตอนที่แสนไพเราะจากพระธรรม 1 โครินธ์ บทที่ 13 ซึ่งมักถูกเรียกว่าเป็น “บทแห่งความรัก” ของพระคัมภีร์ ข้อความฟังดูเหมาะสมอย่างที่สุดสำหรับโอกาสนี้ “ความ​รัก​นั้น​ก็​อดทน​นาน​และ​กระทำ​คุณ​ให้ ความ​รัก​ไม่​อิจฉา ไม่​อวด​ตัว ไม่​หยิ่ง​ผยอง” (ข้อ 4) เมื่อฟังแล้วฉันนึกสงสัยว่าบ่าวสาวยุคใหม่จะรู้หรือไม่ว่าสิ่งใดทำให้อัครทูตเปาโลกล่าวถ้อยคำที่ซาบซึ้งเหล่านี้ เปาโลไม่ได้เขียนกลอนรัก ท่านเขียนคำวิงวอนต่อคริสตจักรที่แตกแยกด้วยความพยายามที่จะเยียวยา​การ​แบ่งแยกอย่างรุนแรงที่เกิดขึ้น

พูดง่ายๆก็คือคริสตจักรในเมืองโครินธ์ “ยุ่งเหยิง” นักวิชาการดักลาส เอ แคมป์เบลล์กล่าว ปัญหาร้ายแรงมีตั้งแต่การร่วมประเวณีระหว่างพี่น้อง การค้าประเวณี และการแก่งแย่งชิงดีในบรรดาผู้นำ สมาชิกฟ้องร้องเป็นความกัน การนมัสการก็มักจะวุ่นวายเพราะคนที่พูดภาษาแปลกๆ แย่งกันเพื่อให้คนอื่นได้ยินตัวเอง ส่วนคนอื่นๆเผยพระวจนะเพื่อให้ดูน่าประทับใจ (ดู 1 คร.14)

แคมป์เบลล์กล่าวว่า ภายใต้ความสับสนวุ่นวายนี้คือ “ความล้มเหลวขั้นพื้นฐานในการปฏิบัติต่อกันและกันด้วยความรัก” เปาโลต้องการแสดงให้พวกเขาเห็นสิ่งที่ประเสริฐกว่า ท่านจึงสอนเรื่องความรักเพราะ “ความ​รัก​ไม่​มี​วัน​สูญ​สิ้น แม้​การ​เผย​พระ​วจนะ​ก็​จะ​เสื่อม​สูญ​ไป แม้​การ​พูด​ภาษา​แปลกๆนั้น ​ก็​จะ​มี​เวลา​เลิก​กัน แม้​วิชา​ความ​รู้​ก็​จะ​เสื่อม​สูญ​ไป” (13:8)

คำเตือนใจถึงความรักของเปาโลทำให้เกิดบรรยากาศที่ดีในงานแต่งงานได้แน่นอน และขอให้ถ้อยคำเหล่านั้นผลักดันเราทุกคนที่จะใช้ชีวิตด้วยความรักและความเมตตาเช่นกัน

ของขวัญแห่งความทุกข์ยาก

พี่น้องตระกูลไรท์ประสบความสำเร็จในการทำให้มนุษย์บินได้ แต่เส้นทางสู่ความสำเร็จของชายสองคนไม่ง่ายเลย แม้ต้องพบกับความล้มเหลวนับครั้งไม่ถ้วน การเยาะเย้ย ปัญหาเรื่องเงิน และการบาดเจ็บสาหัสของหนึ่งในพวกเขา แต่อุปสรรคที่พวกเขาเผชิญไม่อาจหยุดสองพี่น้องได้ ดังที่ออร์วิลล์ ไรท์ตั้งข้อสังเกตไว้ว่า “ไม่มีนกตัวใดบินได้ในภาวะไร้ลม” เดวิด แมคคัลโลผู้ เขียนชีวประวัติกล่าวว่า แนวคิดนี้หมายความว่าความทุกข์ยากอาจ “เป็นสิ่งที่คุณต้องการเพื่อจะพาตัวคุณไปให้สูงขึ้น” แมคคัลโลกล่าว “ความสุขของพวกเขาไม่ใช่การขึ้นไปให้ถึงยอดเขา แต่ความสุขของพวกเขาคือการได้ปีนภูเขา”

เปโตรสอนหลักการฝ่ายวิญญาณที่คล้ายกันนี้แก่คริสตจักรยุคแรกที่ถูกข่มเหง ท่านบอกพวกเขาว่า “อย่า​ประหลาด​ใจ ที่​ท่าน​ต้อง​ได้รับ​ความ​ทุกข์​ยาก​อย่าง​แสน​สาหัส​เป็น​การ​ลอง​ใจ” (1 ปต.4:12) นี่ไม่ใช่การปฏิเสธความเจ็บปวดของการทนทุกข์ เปโตรรู้ว่าความหวังในพระคริสต์ทำให้เราวางใจพระเจ้ามากขึ้น

นี่เป็นความจริงโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเราทนทุกข์เพราะการเป็นผู้เชื่อในพระเยซู เหมือนที่คริสเตียนในยุคแรกเจอ เปโตรเขียนถึงพวกเขาว่า “จง​ชื่น​ชม​ยินดี​ใน​การ​ที่​ท่าน​ได้​มี​ส่วน​ร่วม​ใน​ความ​ทุกข์​ยาก​ของ​พระ​คริสต์​ เพื่อ​ว่า​เมื่อ​พระ​สิริ​ของ​พระ​เจ้า​ปรากฏ​ขึ้น ท่าน​ทั้ง​หลาย​ก็​จะ​ได้​ชื่น​ชม​ยินดี​เป็น​อัน​มาก​ด้วย” (ข้อ 13) ท่านกล่าวต่อว่า “ถ้า​ท่าน​ถูก​ด่า​ว่า เพราะ​พระ​นาม​ของ​พระ​คริสต์​ ท่าน​ก็​เป็น​สุข ด้วย​ว่า​พระ​วิญญาณ​แห่ง​พระ​สิริ​และ​ของ​พระ​เจ้า​ทรง​สถิต​อยู่​กับ​ท่าน​” (ข้อ 14)

ในขณะที่ผู้เขียนชีวประวัติยกย่องคุณลักษณะของพี่น้องตระกูลไรท์ ขอให้คนอื่นเห็นคุณลักษณะอันเปี่ยมด้วยความรักของพระเจ้าที่กระทำการอยู่ในตัวเรา พระองค์ทรงใช้ความทุกข์ยากของเราเพื่อยกเราสู่ระดับที่สูงขึ้น

การสถิตอยู่ด้วยของพระเจ้า

ขณะที่หลานๆดูหนังสือรุ่นในชั้นมัธยมปลายของฉัน พวกเขาประหลาดใจกับทรงผม เสื้อผ้าที่ล้าสมัย และรถยนต์ “โบราณ” ในภาพ ส่วนฉันเห็นบางสิ่งแตกต่างออกไป สิ่งแรกคือรอยยิ้มของเพื่อนเก่า บางคนก็ยังเป็นเพื่อนกันอยู่ แต่ยิ่งกว่านั้น ฉันเห็นฤทธิ์อำนาจในการดูแลของพระเจ้า การทรงสถิตอันอ่อนโยนอยู่ล้อมรอบฉันในโรงเรียนที่ฉันพยายามปรับตัวให้เป็นที่ยอมรับ ความประเสริฐของพระองค์ที่ทรงคอยดูแลฉันนั้น เป็นพระเมตตาที่ประทานให้แก่ทุกคนที่แสวงหาพระองค์

ดาเนียลรู้ถึงการสถิตอยู่ด้วยของพระเจ้า ระหว่างที่เป็นเชลยในบาบิโลนท่านได้อธิษฐานใน “เรือนของท่าน ที่มีหน้าต่างห้องชั้นบนของท่านเปิดตรงไปยังกรุงเยรูซาเล็ม” (ดนล.6:10) แม้พระราชาจะมีคำสั่งไม่ให้ทำเช่นนั้น (ข้อ 7-9) จากจุดที่ท่านเฝ้าอธิษฐานนั้น ดาเนียลจดจำได้ถึงพระเจ้าผู้ซึ่งการทรงสถิตของพระองค์ค้ำจุนท่านไว้โดยทรงสดับฟังและตอบคำอธิษฐาน เช่นนั้นแล้วพระเจ้าจึงจะสดับฟัง ตรัสตอบ และช่วยเหลือท่านอีกครั้ง

แต่ถึงแม้จะมีกฎหมายใหม่ ดาเนียลก็ยังคงแสวงหาการทรงสถิตของพระเจ้าไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้น ท่านจึงอธิษฐานเหมือนเช่นที่เคยทำมาหลายครั้งก่อนหน้านี้ (ข้อ 10) ขณะอยู่ในถ้ำสิงโต ทูตสวรรค์ของพระเจ้าปกป้องดาเนียลให้ปลอดภัย ขณะที่พระเจ้าผู้สัตย์ซื่อทรงช่วยกู้ท่านไว้ (ข้อ 22)

การมองย้อนอดีตขณะที่เผชิญการทดลองในปัจจุบันอาจช่วยให้เราระลึกได้ถึงความสัตย์ซื่อของพระเจ้า ดังที่กษัตริย์ดาริอัสกล่าวถึงพระเจ้าว่า “พระองค์ทรงช่วยกู้และช่วยให้พ้นภัย พระองค์ทรงกระทำหมายสำคัญและการอัศจรรย์ในฟ้าสวรรค์และบนพื้นพิภพ” (ข้อ 27) พระเจ้าทรงประเสริฐในเวลานั้น และพระองค์ยังทรงประเสริฐในเวลานี้ การทรงสถิตของพระองค์จะดูแลปกป้องคุณ

พระเจ้าจะทรงตอบ

เมื่อศิษยาภิบาลทิโมธีสวมแถบคอเสื้อของนักเทศน์ขณะเดินทาง มักจะมีคนแปลกหน้าเข้ามาหา “ขอช่วยอธิษฐานเผื่อฉันด้วย” คนในสนามบินพูดเมื่อเห็นแถบคอเสื้อด้านบนเสื้อสูทสีเข้มธรรมดาๆของเขา ในเที่ยวบินครั้งล่าสุด หญิงคนหนึ่งสังเกตเห็นจึงคุกเข่าลงข้างที่นั่งของเขาและร้องขอว่า “คุณเป็นศิษยาภิบาลหรือเปล่า คุณอธิษฐานเผื่อฉันได้ไหม” แล้วศิษยาภิบาลก็อธิษฐาน

ข้อความตอนหนึ่งในเยเรมีย์ให้ความกระจ่างว่าทำไมเราจึงรู้ว่าพระเจ้าทรงได้ยินและทรงตอบคำอธิษฐาน พระเจ้าทรงห่วงใย! พระองค์ให้สัญญากับคนที่พระองค์ทรงรักซึ่งเป็นคนบาปและถูกเนรเทศว่า “เพราะเรารู้แผนงานที่เรามีไว้สำหรับเจ้า เป็นแผนงานเพื่อสวัสดิภาพ ไม่ใช่เพื่อทุกขภาพ” (29:11) พระเจ้าทรงรอคอยเวลาที่พวกเขาจะกลับมาหาพระองค์ “แล้วเจ้าจะทูลขอต่อเรา และมาอธิษฐานต่อเรา” แล้วพระองค์ตรัสว่า “และเราจะฟังเจ้า เจ้าจะแสวงหาเราและพบเราเมื่อเจ้าแสวงหาเราด้วยสิ้นสุดใจของเจ้า” (ข้อ 12-13)

ผู้เผยพระวจนะได้เรียนรู้ถึงสิ่งนี้และอีกหลายสิ่งเกี่ยวกับการอธิษฐานขณะที่ท่านถูกคุมขังในเรือนจำ พระเจ้าทรงรับรองกับท่านว่า “จงทูลเรา และเราจะตอบเจ้า และจะบอกสิ่งที่ใหญ่ยิ่งและที่ซ่อนอยู่ ซึ่งเจ้าไม่รู้นั้นให้แก่เจ้า” (33:3)

พระเยซูทรงหนุนใจให้เราอธิษฐานเช่นกัน พระองค์ตรัสว่า “พระบิดาของท่านทรงทราบก่อนที่ท่านทูลขอแล้ว” (มธ.6:8) ดังนั้นจง “ขอ” “หา” และ “เคาะ” เมื่ออธิษฐาน (7:7) ทุกคำร้องทูลของเราจะนำเราให้ใกล้ชิดมากขึ้นกับพระองค์ผู้ทรงตอบคำอธิษฐานของเรา เราไม่จำเป็นต้องเป็นคนแปลกหน้าในการอธิษฐานต่อพระเจ้า พระองค์ทรงรู้จักเราและอยากได้ยินจากเรา เราสามารถนำความกังวลของเราทูลต่อพระองค์ได้ในเวลานี้

เราใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ หากท่านใช้บริการเว็บไซต์นี้ต่อไป นั่นเป็นการแสดงว่าท่านยอมรับ นโยบายการใช้คุกกี้ของเรา