ผู้เขียน

ดูทั้งหมด
Adam R. Holz

Adam Holz

Adam is senior associate editor at Focus on the Family’s media review website, Plugged In. Adam has also served as associate editor at Discipleship Journal. He is the author of the NavPress Bible study Beating Busyness. Adam is married to Jennifer, an ordained Presbyterian minister. They have three children whose passions include swimming, gymnastics, drama, piano, and asking dad what’s for dessert. In his free time, Adam enjoys playing electric guitar.

บทความ โดย Adam Holz

ตัวแทนแห่งสันติสุข

ในปี 2015 กลุ่มผู้รับใช้ท้องถิ่นของเมืองโคโลราโดสปริงส์ รัฐโคโลราโดได้รวมตัวกันเพื่อรับใช้ชุมชน และกลุ่มซีโอเอสไอเลิฟยู (COSILoveYou) ได้ถือกำเนิดขึ้น ในฤดูใบไม้ร่วงของทุกปีพวกเขาจะส่งผู้เชื่อออกไปรับใช้ชุมชนในกิจกรรมที่เรียกว่า ซิตี้เซิร์ฟ (CityServe)

เมื่อหลายปีก่อน ผมและลูกๆได้รับมอบหมายให้ไปที่โรงเรียนประถมในตัวเมืองภายใต้กิจกรรมซิตี้เซิร์ฟ พวกเราทำความสะอาด ถอนวัชพืช และทำโครงงานศิลปะโดยสอดเทปพลาสติกสีต่างๆ ไปตามรั้วตาข่ายในลักษณะที่เหมือนกับภูเขา เรียบง่ายแต่สวยงามอย่างไม่น่าเชื่อ

ทุกครั้งที่ผมขับรถผ่านโรงเรียนแห่งนั้น โครงงานศิลปะเล็กๆของเราเตือนให้ผมนึกถึงเยเรมีย์ 29 ในเวลานั้นพระเจ้าทรงสั่งให้คนของพระองค์ตั้งถิ่นฐานและรับใช้ในเมืองที่พวกเขาอาศัยอยู่ พระองค์บัญชาเช่นนั้นถึงแม้พวกเขาจะเป็นเชลยและไม่ได้ต้องการจะอยู่ที่นั่น

ผู้เผยพระวจนะกล่าวว่า “จงบากบั่นเพื่อสันติสุขและความเจริญรุ่งเรืองของนครซึ่งเราให้เจ้าไปตกเป็นเชลยนั้น จงอธิษฐาน...เพื่อนครนั้น เพราะหากมันเจริญ เจ้าก็เจริญด้วย” (ข้อ 7 TNCV) คำว่า สันติสุขในที่นี้มาจากคำภาษาฮีบรูว่า ชาโลม มีความหมายครอบคลุมถึงความสมบูรณ์และความเจริญรุ่งเรือง ซึ่งมีเพียงความประเสริฐและการทรงไถ่ของพระเจ้าเท่านั้นที่จะทำให้เกิดขึ้นได้

เป็นเรื่องน่าอัศจรรย์ที่พระเจ้าทรงเรียกเราแต่ละคนให้เป็นตัวแทนแห่งสันติสุข(ชาโลม)ของพระองค์ในที่ที่เราอยู่ พระองค์ทรงเชื้อเชิญเราให้สร้างความงดงามและสำแดงถึงชีวิตที่ได้รับการไถ่ ด้วยวิธีที่เรียบง่ายและเป็นรูปธรรมในสถานที่ที่พระองค์ทรงจัดให้เราอยู่

จงพุ่งทะยานสูงขึ้น!

บางครั้งข้อความฝ่ายวิญญาณก็ปรากฏขึ้นในที่ซึ่งเราไม่คาดคิด อย่างเช่นในหนังสือการ์ตูน สแตน ลีผู้จัดพิมพ์หนังสือการ์ตูนมาร์เวลเสียชีวิตในปี 2018 ทิ้งมรดกไว้เบื้องหลังเป็นเหล่าฮีโร่ที่มีเอกลักษณ์ เช่น สไปเดอร์แมน ไอรอนแมน สี่พลังคนกายสิทธิ์ ฮัลค์ยักษ์เขียวจอมพลัง และอื่นๆอีกมากมาย

ชายผู้โด่งดังที่ยิ้มแย้มและสวมแว่นกันแดดนี้มีวลีติดปากที่เขาใช้ลงท้ายคอลัมน์ในการ์ตูนมาร์เวลฉบับรายเดือนมากว่าทศวรรษ คือคำว่า จงพุ่งทะยานสูงขึ้น ในข้อความที่ลีทวีตในปี 2010 เขาอธิบายความหมายไว้ว่าคือ “การก้าวสูงขึ้นและมุ่งหน้าไปสู่ความรุ่งเรืองยิ่งขึ้น” นี่คือสิ่งที่ผมปรารถนาต่อทุกคนเมื่อผมทวีตข้อความ! จงพุ่งทะยานสูงขึ้น!

ผมชอบคำพูดนั้น ไม่ว่าสแตน ลีจะรู้หรือไม่ก็ตามแต่การใช้คำพูดที่พิเศษนี้สอดคล้องกับสิ่งที่เปาโลเขียนถึงชาวฟีลิปปี เมื่อท่านเตือนสติให้ผู้เชื่อเลิกมองอดีตแต่ให้มองไปเบื้องหน้าและเบื้องบน “แต่ข้าพเจ้าทำอย่างหนึ่ง คือลืมสิ่งที่ผ่านพ้นมา แล้วโน้มตัวไปยังสิ่งที่อยู่เบื้องหน้า และข้าพเจ้าบากบั่นมุ่งไปสู่หลักชัย เพื่อจะได้รับรางวัลคือการทรงเรียกแห่งเบื้องบนซึ่งมีในพระเยซูคริสต์” (3:13-14 THSV11)

เรามักติดอยู่กับความเสียใจและความสงสัยถึงการตัดสินใจในอดีต แต่ในพระคริสต์นั้น พระองค์เชื้อเชิญให้เรามอบวางความเสียใจโดยมุ่งมองไปข้างหน้าและบากบั่นไปสู่พระสิริอันรุ่งเรืองยิ่งกว่าของพระเจ้า ด้วยการตอบรับการอภัยโทษของพระองค์และเป้าประสงค์ที่พระองค์ทรงประทานให้กับเราด้วยพระเมตตา! จงพุ่งทะยานสูงขึ้น!

ผมเป็นแค่คนขับรถ

“พ่อคะ หนูขอค้างคืนกับเพื่อนได้ไหมคะ” ลูกสาวถามผมตอนที่ก้าวขึ้นรถหลังการฝึกซ้อม “ลูกรัก หนูรู้คำตอบอยู่แล้ว” ผมพูด “พ่อเป็นแค่คนขับรถ พ่อไม่รู้ว่าจะมีอะไรเกิดขึ้น ไปคุยกับแม่กันเถอะ”

“พ่อเป็นแค่คนขับรถ” กลายเป็นเรื่องตลกในบ้านเรา ทุกวันผมจะถามภรรยาที่เป็นคนจัดการว่าผมต้องอยู่ที่ไหน เมื่อไหร่ และจะพาใครไปที่ไหน เมื่อมีลูกวัยรุ่นถึงสามคน “งานพิเศษ” ของผมในการเป็น “คนขับรถ” นั้นบางครั้งก็ทำให้รู้สึกเหมือนเป็นอาชีพเสริมนอกเวลางาน ผมมักจะไม่รู้เลยว่าตัวเองรู้หรือไม่รู้อะไรบ้าง ดังนั้นผมจึงต้องคอยตรวจเช็คกับผู้ควบคุมตารางงานประจำวัน

ในมัทธิวบทที่ 8 พระเยซูพบชายคนหนึ่งที่รู้บางอย่างเกี่ยวกับการมอบและการรับคำสั่ง นายร้อยชาวโรมันคนนี้รู้ดีว่าพระเยซูมีสิทธิอำนาจในการรักษา เหมือนที่นายร้อยมีอำนาจออกคำสั่งแก่ผู้ที่อยู่ใต้บังคับบัญชา “ขอพระองค์ตรัสเท่านั้น บ่าวของข้าพระองค์ก็จะหายโรค ข้าพระองค์รู้ดี เพราะเหตุว่าข้าพระองค์อยู่ใต้วินัยทหาร แต่ก็ยังมีทหารอยู่ใต้บังคับบัญชาของข้าพระองค์” (ข้อ 8-9) พระคริสต์ทรงชมเชยความเชื่อของชายคนนี้ (ข้อ 10, 13) และทรงประหลาดใจที่เขาเข้าใจว่าพระองค์จะทรงใช้สิทธิอำนาจอย่างไรในทางปฏิบัติ

แล้วพวกเราล่ะ เราจะวางใจในพระเยซูในงานประจำวันที่ได้รับมอบหมายจากพระองค์อย่างไร เพราะถึงแม้เราคิดว่าตัวเองเป็น “แค่คนขับรถ” แต่งานที่ทรงมอบหมายให้ทุกอย่างนั้นก็มีทั้งความหมายและจุดมุ่งหมายเพื่อแผ่นดินของพระเจ้า

พระเยซูทรงขจัดรอยเปื้อน

“นี่ล้อกันเล่นหรือเปล่า!” ผมตะโกนขณะค้นหาเสื้อเชิ้ตในเครื่องอบผ้า ผมเจอมัน และ...เจออย่างอื่นด้วย

เสื้อเชิ้ตสีขาวของผมมีรอยเปื้อนหมึกเป็นดวง อันที่จริงมันดูเหมือนลายเสือจากัวร์เพราะรอยหมึกเลอะเปื้อนทุกสิ่ง ชัดเจนว่าผมไม่ได้ตรวจดูกระเป๋าก่อน หมึกที่ซึมออกจากปากกาจึงเลอะผ้าทุกชิ้น

พระคัมภีร์มักจะใช้คำว่ารอยเปื้อนเพื่อบรรยายถึงความบาป รอยเปื้อนที่ซึมเข้าไปในเนื้อผ้าของสิ่งใดก็ตามทำลายของสิ่งนั้น และนี่คือวิธีที่พระเจ้าตรัสผ่านผู้เผยพระวจนะเยเรมีย์เพื่ออธิบายถึงความบาป และเตือนประชากรของพระองค์ว่าพวกเขาไม่มีกำลังพอที่จะชำระล้างรอยเปื้อนของบาปได้ “ถึงแม้ว่าเจ้าชำระตัวด้วยน้ำด่างและใช้สบู่มาก แต่รอยเปื้อนความผิดบาปของเจ้าก็ยังปรากฏอยู่ต่อเรา” (ยรม.2:22)

แต่ขอบคุณพระเจ้าที่ความบาปไม่ได้เป็นฝ่ายชนะ ในอิสยาห์ 1:18 เราได้ยินพระสัญญาของพระเจ้าที่บอกว่าพระองค์จะทรงชำระเราจากรอยเปื้อนของความบาป “ถึงบาปของเจ้าเหมือนสีแดงเข้ม ก็จะขาวอย่างหิมะ ถึงมันจะแดงอย่างผ้าแดง ก็จะกลายเป็นอย่างขนแกะ”

ผมไม่สามารถขจัดรอยหมึกออกจากเสื้อเชิ้ต เช่นเดียวกับที่ไม่สามารถลบรอยเปื้อนแห่งความบาปของผมออกไปได้ ขอบคุณพระเจ้าที่ทรงชำระเราในพระคริสต์ เช่นที่ 1 ยอห์น 1:9 ยืนยันว่า “ถ้าเราสารภาพบาปของเรา พระองค์ทรงสัตย์ซื่อและเที่ยงธรรม ก็จะทรงโปรดยกบาปของเรา และจะทรงชำระเราให้พ้นจากการอธรรมทั้งสิ้น”

ถูกใจและเป็นที่รักของพระเจ้า

ปุ่มสัญลักษณ์ “ถูกใจ” ที่เป็นรูปยกนิ้วโป้งในเฟซบุ๊กนั้นดูราวกับว่าจะอยู่กับเรามานานแล้ว แต่อันที่จริงเจ้าสัญลักษณ์ที่แสดงความชอบนี้เพิ่งจะมีขึ้นเมื่อปี 2009 นี้เอง ผู้ออกแบบสัญลักษณ์ “ถูกใจ” คือจัสติน โรเซนสไตน์กล่าวว่าเขาต้องการช่วยสร้าง “โลกที่ผู้คนเสริมสร้างกันและกันมากกว่าที่จะทำลายกัน” แต่โรเซนสไตน์กลับต้องเสียใจเมื่อสิ่งที่เขาคิดค้นอาจทำให้ผู้ใช้เสพติดสื่อสังคมออนไลน์ในทางที่เป็นผลเสีย

ผมคิดว่าการสร้างสรรค์ของโรเซนสไตน์สื่อถึงความต้องการตามสัญชาตญาณของเราที่อยากได้คำชมและสัมพันธภาพ เราต้องการรู้ว่ามีคนอื่นที่รู้จักเรา สังเกตเห็นเรา และแน่นอนว่าชอบ(ถูกใจ)เรา สัญลักษณ์ “ถูกใจ” เพิ่งเกิดขึ้นไม่นาน แต่ความโหยหาที่จะรู้จักและเป็นที่รู้จักนั้นมีมานานตั้งแต่ที่พระเจ้าทรงสร้างมนุษย์

อย่างไรก็ตาม ปุ่ม “ถูกใจ” ก็ยังคงทำหน้าที่นี้ได้ไม่ดีพอ แต่ขอบคุณพระเจ้าที่เรารับใช้พระเจ้าผู้ซึ่งความรักของพระองค์นั้นลึกซึ้งยิ่งกว่าปุ่มสัญลักษณ์เหล่านี้ ในเยเรมีย์ 1:5 เราได้เห็นถึงความผูกพันอันมีเป้าหมายที่ลึกซึ้งของพระองค์กับผู้เผยพระวจนะคนหนึ่งที่พระองค์ทรงเรียกให้มาหาพระองค์ “เราได้รู้จักเจ้า ก่อนที่เราได้ก่อร่างตัวเจ้าที่ในครรภ์”

พระเจ้าทรงรู้จักผู้เผยพระวจนะคนนี้ก่อนที่ท่านจะปฏิสนธิในครรภ์ และท่านถูกออกแบบให้มีชีวิตที่มีความหมายและเพื่อจะทำพันธกิจ (ข้อ 8-10) และพระองค์ทรงเชื้อเชิญเราให้เข้ามาสู่ชีวิตที่มีเป้าหมายด้วยเช่นกัน โดยการที่เราได้มารู้จักพระบิดาองค์นี้ผู้ทรงรู้จัก รัก และถูกใจในตัวเราอย่างลึกซึ้ง

วันที่ 7 – พระคุณสำหรับวันนี้ | ขอพระคุณและสันติสุขเป็นของท่าน

ขอพระคุณและสันติสุขเป็นของท่าน

ปี 2020 เป็นปีที่ท้าทายอย่างแท้จริง โคโรนาไวรัสระบาดทั่วโลก ปัญหาทางเศรษฐกิจเกิดขึ้นทุกแห่ง ความขัดแย้งระหว่างเชื้อชาติคุกรุ่น เป็นเวลาแห่งการเปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรงในระดับโลกอย่างที่คาดไม่ถึงมาก่อน ซึ่งก่อให้เกิดความกลัวและความวิตกกังวลไปทั่ว

ไม่ว่าคุณจะได้รับข่าวทางหนังสือพิมพ์ โทรทัศน์ เว็บไซต์ หรือจากการสนทนากับเพื่อนบ้าน คุณจะพบว่าแทบไม่มีข่าวดีเลย เกือบทุกคืนที่ภรรยาและผมดูรายการถ่ายทอดข่าวต่างประเทศด้วยกัน แม้ว่าผู้ประกาศข่าวจะพยายามจบการรายงานข่าวด้วยเรื่องราวที่ให้ความหวัง แต่เรื่องดีเหล่านั้นไม่สามารถทดแทนความรู้สึกถึงการที่สิ่งต่างๆ กำลังพังทลายลงได้
สำหรับเปโตรผู้คุ้นเคยกับความยากลำบาก ในขณะที่เขียนจดหมายฉบับแรก เป็นเวลาเลวร้ายมากสำหรับผู้เชื่อในพระคริสต์ที่ต้องหลบหนีการตามทำร้ายและสังหารจากเนโร แต่กระนั้น จดหมายของเขายังเต็มไปด้วยความหวังสำหรับผู้ที่ต้องการพักเหนื่อยจากข่าวร้าย โดยที่คำเริ่มต้นจดหมายนั้นช่างแตกต่างอย่างสิ้นเชิงกับความทุกข์ทรมานที่ผู้เชื่อเผชิญอยู่ “ขอพระคุณและสันติสุขจงบังเกิดทวีคูณแก่ท่านทั้งหลายด้วยเถิด” (1 เปโตร 1:2)

ในช่วงเวลาที่ดี การทักทายด้วยถ้อยคำเช่นนี้ไม่เป็นสิ่งที่ยาก แต่ในเวลาแห่งความกลัวและวิตกกังวล เปโตรหนุนใจให้ผู้อ่านจดหมายในขณะนั้นและรวมถึงเราด้วย ที่จะระลึกถึงพระคุณและสันติสุขในพระเยซูคริสต์ ซึ่งเป็นของขวัญอันดีเลิศจากพระเจ้า เป็น “มรดกอันล้ำค่า” “ซึ่งไม่รู้เปื่อยเน่า” (ข้อ 4) เป็นความหวังที่มีชัยเหนือข่าวร้ายของวันนี้ และเตือนให้เรามุ่งมองที่พระเยซูคริสต์ ผู้ซึ่งเติมเต็มเราด้วย “ความปีติยินดีเป็นล้นพ้นเหลือที่จะกล่าวได้” (ข้อ 8) เมื่อเรามอบแต่ละวันของเราไว้กับพระเจ้า

เขียนโดย อดัม อาร์ ฮอล์ซ

คิดใคร่ครวญ :
คุณคิดว่าการใคร่ครวญพระวจนะของพระเจ้าช่วยให้คุณยืนหยัดผ่านเวลาแห่งความกลัวและความวิตกกังวลได้อย่างไร? ข้อพระคำตอนใดที่คุณต้องการท่องจำไว้เพื่อใช้ในเวลาที่ยากลำบาก?

อธิษฐาน :
พระบิดา เมื่อข้าพระองค์เผชิญกับฤดูกาลที่ยากลำบากในชีวิต โปรดช่วยให้ข้าพระองค์เชื่อว่า พระองค์จะทรงยึดมั่นจิตใจข้าพระองค์ไว้ในความหวัง และเชื่อว่าพระองค์อยู่เหนือความกังวลและความกลัวที่ล้อมรอบข้าพระองค์อยู่…

วันที่ 7 - พระคุณสำหรับวันนี้ | ขอพระคุณและสันติสุขเป็นของท่าน

ขอพระคุณและสันติสุขเป็นของท่าน

ปี 2020 เป็นปีที่ท้าทายอย่างแท้จริง โคโรนาไวรัสระบาดทั่วโลก ปัญหาทางเศรษฐกิจเกิดขึ้นทุกแห่ง ความขัดแย้งระหว่างเชื้อชาติคุกรุ่น เป็นเวลาแห่งการเปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรงในระดับโลกอย่างที่คาดไม่ถึงมาก่อน ซึ่งก่อให้เกิดความกลัวและความวิตกกังวลไปทั่ว

ไม่ว่าคุณจะได้รับข่าวทางหนังสือพิมพ์ โทรทัศน์ เว็บไซต์ หรือจากการสนทนากับเพื่อนบ้าน คุณจะพบว่าแทบไม่มีข่าวดีเลย เกือบทุกคืนที่ภรรยาและผมดูรายการถ่ายทอดข่าวต่างประเทศด้วยกัน แม้ว่าผู้ประกาศข่าวจะพยายามจบการรายงานข่าวด้วยเรื่องราวที่ให้ความหวัง แต่เรื่องดีเหล่านั้นไม่สามารถทดแทนความรู้สึกถึงการที่สิ่งต่างๆ กำลังพังทลายลงได้
สำหรับเปโตรผู้คุ้นเคยกับความยากลำบาก ในขณะที่เขียนจดหมายฉบับแรก เป็นเวลาเลวร้ายมากสำหรับผู้เชื่อในพระคริสต์ที่ต้องหลบหนีการตามทำร้ายและสังหารจากเนโร แต่กระนั้น จดหมายของเขายังเต็มไปด้วยความหวังสำหรับผู้ที่ต้องการพักเหนื่อยจากข่าวร้าย โดยที่คำเริ่มต้นจดหมายนั้นช่างแตกต่างอย่างสิ้นเชิงกับความทุกข์ทรมานที่ผู้เชื่อเผชิญอยู่ “ขอพระคุณและสันติสุขจงบังเกิดทวีคูณแก่ท่านทั้งหลายด้วยเถิด” (1 เปโตร 1:2)

ในช่วงเวลาที่ดี การทักทายด้วยถ้อยคำเช่นนี้ไม่เป็นสิ่งที่ยาก แต่ในเวลาแห่งความกลัวและวิตกกังวล เปโตรหนุนใจให้ผู้อ่านจดหมายในขณะนั้นและรวมถึงเราด้วย ที่จะระลึกถึงพระคุณและสันติสุขในพระเยซูคริสต์ ซึ่งเป็นของขวัญอันดีเลิศจากพระเจ้า เป็น “มรดกอันล้ำค่า” “ซึ่งไม่รู้เปื่อยเน่า” (ข้อ 4) เป็นความหวังที่มีชัยเหนือข่าวร้ายของวันนี้ และเตือนให้เรามุ่งมองที่พระเยซูคริสต์ ผู้ซึ่งเติมเต็มเราด้วย “ความปีติยินดีเป็นล้นพ้นเหลือที่จะกล่าวได้” (ข้อ 8) เมื่อเรามอบแต่ละวันของเราไว้กับพระเจ้า

เขียนโดย อดัม อาร์ ฮอล์ซ

คิดใคร่ครวญ :
คุณคิดว่าการใคร่ครวญพระวจนะของพระเจ้าช่วยให้คุณยืนหยัดผ่านเวลาแห่งความกลัวและความวิตกกังวลได้อย่างไร? ข้อพระคำตอนใดที่คุณต้องการท่องจำไว้เพื่อใช้ในเวลาที่ยากลำบาก?

อธิษฐาน :
พระบิดา เมื่อข้าพระองค์เผชิญกับฤดูกาลที่ยากลำบากในชีวิต โปรดช่วยให้ข้าพระองค์เชื่อว่า พระองค์จะทรงยึดมั่นจิตใจข้าพระองค์ไว้ในความหวัง และเชื่อว่าพระองค์อยู่เหนือความกังวลและความกลัวที่ล้อมรอบข้าพระองค์อยู่…

ของประทานจากพระเจ้า

หลายสิบปีก่อนผมไปค่ายของวิทยาลัยที่ทุกคนพูดถึงแบบประเมินบุคลิกภาพ คนหนึ่งบอกว่า “ฉันเป็น ISTJ!” อีกคนส่งเสียงสดใส “ฉันเป็น ENFP” ผมรู้สึกงง จึงล้อเล่นว่า “ผมเป็น ABCXYZ”

ตั้งแต่นั้นมาผมได้เรียนรู้มากมายเกี่ยวกับแบบประเมินนั้น (ของมายเยอส์บริกส์) และแบบประเมินอื่นๆ เช่น การประเมินลักษณะนิสัย ผมพบว่าสิ่งเหล่านี้น่าสนใจเพราะจะช่วยให้เราเข้าใจตนเองและผู้อื่นในแง่ที่เป็นประโยชน์และเผยให้เราเห็นถึงความชอบ จุดแข็งและจุดอ่อนของเรา หากเราไม่ใช้แบบประเมินต่างๆเหล่านี้มากเกินไป สิ่งเหล่านั้นอาจเป็นเครื่องมือที่มีประโยชน์ที่พระเจ้าใช้เพื่อช่วยให้เราเติบโต

พระคัมภีร์ไม่ได้นำเสนอแบบประเมินบุคลิกภาพกับเรา แต่พระคัมภีร์ยืนยันถึงเอกลักษณ์ของแต่ละคนในสายพระเนตรของพระเจ้า (ดู สดด.139:14-16, ยรม.1:5) และแสดงให้เห็นว่าพระเจ้าทรงจัดเตรียมให้เราทุกคนมีลักษณะเฉพาะ และของประทานพิเศษเฉพาะตัวเพื่อรับใช้ผู้อื่นในอาณาจักรของพระองค์อย่างไร ในโรม 12:6 เปาโลอธิบายความคิดนี้ เมื่อท่านบอกว่า “เราทุกคนมีของประทานที่ต่างกัน ตามพระคุณที่ได้ประทานให้แก่เรา”

เปาโลอธิบายว่าของประทานเหล่านั้นไม่ใช่เพื่อเราแต่เพียงผู้เดียว แต่มีจุดประสงค์เพื่อรับใช้คนของพระเจ้านั้นคือพระกายของพระคริสต์ (ข้อ 5) ของประทานเหล่านั้นแสดงถึงพระคุณและความประเสริฐของพระองค์ ซึ่งทำงานในเราและผ่านเราทุกคน ของประทานเหล่านั้นเชื้อเชิญให้เราแต่ละคนเป็นภาชนะพิเศษในการรับใช้พระเจ้า

“ขอโปรดช่วยให้ข้าพระองค์เชื่อ”

“ความเชื่อของลูกอยู่ที่ไหน แม้ลึกลงไป ณ ที่นั่น ไม่มีสิ่งใดเลยนอกจากความว่างเปล่าและมืดมิด...ถ้ามีพระเจ้า ขอทรงยกโทษให้ลูกด้วย”

ผู้ที่เขียนถ้อยคำเหล่านี้อาจทำให้คุณแปลกใจ คือแม่ชีเทเรซ่าผู้ซึ่งเป็นที่รักและทรงเกียรติคุณในฐานะผู้รับใช้คนยากไร้ในเมืองกัลกัตตา ประเทศอินเดีย แม่ชีเทเรซ่าต่อสู้อย่างมากเพื่อความเชื่อของเธอมาเป็นเวลากว่าห้าทศวรรษ หลังจากที่เธอเสียชีวิตในปี 1997 การต่อสู้ครั้งนั้นจึงถูกเปิดเผยขึ้นเมื่อส่วนหนึ่งในสมุดบันทึกของเธอได้รับการตีพิมพ์เป็นหนังสือ ขอทรงเป็นแสงสว่างของข้าพระองค์

เราจะทำอย่างไรกับความสงสัยหรือความรู้สึกที่ว่าพระเจ้าไม่อยู่ด้วย ช่วงเวลาเหล่านั้นอาจสร้างความทุกข์ทรมานกับผู้เชื่อบางคนมากกว่าคนอื่นๆ แต่มีช่วงหนึ่งในชีวิตของผู้เชื่อที่สัตย์ซื่อจำนวนมากที่จะประสบกับช่วงเวลาหรือฤดูกาลแห่งความสงสัยเช่นนี้

ผมรู้สึกขอบคุณที่พระคัมภีร์มอบคำอธิษฐานที่สวยงามและขัดแย้ง ซึ่งแสดงถึงทั้งความเชื่อและการขาดความเชื่อ ในมาระโกบทที่ 9 พระเยซูทรงพบบิดาผู้มีบุตรชายที่ถูกผีทำให้ทุกข์ทรมานตั้งแต่ยังเป็นเด็ก (ข้อ 21) เมื่อพระเยซูตรัสว่าชายคนนั้นต้องมีความเชื่อ (“ใครเชื่อก็ทำให้ได้ทุกสิ่ง” ข้อ 23) เขาตอบว่า “ข้าพเจ้าเชื่อ ที่ข้าพเจ้ายังขาดความเชื่อนั้นขอโปรดช่วยให้เชื่อเถิด” (ข้อ 24)

คำวิงวอนที่ซื่อสัตย์จากใจจริงนี้เชื้อเชิญเราทั้งหลายที่ต่อสู้กับความสงสัยให้มอบมันไว้กับพระเจ้า โดยเชื่อวางใจว่าพระองค์จะทรงเสริมความเชื่อของเราให้แข็งแกร่งได้ และยึดเราไว้อย่างมั่นคงในท่ามกลางหุบเหวที่ลึกที่สุดและมืดมนที่สุดที่เราจะเดินข้ามไป

เราใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ หากท่านใช้บริการเว็บไซต์นี้ต่อไป นั่นเป็นการแสดงว่าท่านยอมรับ นโยบายการใช้คุกกี้ของเรา