โรคระบาด การกักตัว และวันแห่งการใคร่ครวญ ![]() จงชื่นชมยินดีในความหวัง อดทนต่อความยากลำบาก ขะมักเขม้นอธิษฐาน - โรม 12:12 ตอนนี้หลายคนจำเป็นต้องใช้เวลาอยู่บ้านและทำงานที่บ้าน ทำให้มีเวลาว่างมากขึ้นในการอ่านและใช้เวลากับคนที่เรารัก แทนที่จะเสียเวลาไปกับการทำอะไรตามใจตัวเอง เราลองใช้เวลาในการอ่านพระคัมภีร์ อธิษฐาน และรับใช้ในด้านใดก็ได้ที่พระเจ้าทรงปราถนาให้เราทำ
หลายปีที่แล้วผมได้มีโอกาสอ่านนวนิยายของอัลแบร์ต กามูส์ เรื่อง “โรคระบาด” ที่เขียนขึ้นในปี 1947 หลังสงครามโลกครั้งที่สอง กามูส์เป็นนักทฤษฏีปรัชญาที่เน้นอิสระและเชื่อว่าพระเจ้าไม่มีอยู่จริง หนังสือเล่มนี้พูดถึงโรคระบาดในเมืองอัลจีเรี่ยนประเทศโอราน มีการปิดทางเข้าออกชายแดนและต่อสู้กับการแแพร่ระบาดอย่างสุดความสามารถ
นี่ไม่ใช่การลงโทษเฉพาะผู้ที่เป็นนักบวช แต่เพราะนักบวชเหล่านั้นรับใช้อย่างหนักในการดูแลผู้ติดเชื้อและผู้ที่กำลังจะตายจากโรคระบาด ในสังคมที่ไม่พึ่งพาศาสนาอาจไม่เห็นคุณค่าของนักบวช แต่ ซี. เอส. ลิวอิส ได้ย้ำเตือนเราว่า “ความจริงแล้วข่าวประเสริฐที่คริสเตียนเชื่อนั้น คือความหวังที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของมนุษยชาติในสถานการณ์ที่เลวร้าย”
ในบทความเรื่อง “On Living in an Atomic Age” ช่วงเวลานั้น ซี. เอส. ลิวอิส เขียนไว้ว่า ความกลัวที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในใจมนุษย์คือการเพิ่มจำนวนของอาวุธนิวเคลียร์ ตอนนี้เราอาจเปลี่ยนคำว่า “ระเบิด” เป็น “ไวรัสโคโรน่า” ซึ่งความจริงและหลักการต่างๆ ก็ยังคงเหมือนเดิม “ความจริงแล้วข่าวประเสริฐที่คริสเตียนเชื่อนั้น คือความหวังที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของมนุษยชาติในสถานการณ์ที่เลวร้าย” บางทีเราก็คิดมากเกินไปเกี่ยวกับระเบิดปรมาณู ‘เราจะใช้ชีวิตอยู่ในยุคปรมาณูอย่างไร?’ ผมอยากจะตอบพวกเขาว่า ‘ทำไมละ มันจะต่างกับการที่คุณใช้ชีวิตในศตวรรษที่16 ที่กาฬโรคระบาดในลอนดอนแทบทุกปี หรือจะใช้ชีวิตในยุคที่ชาวไวกิ้งเดินทางจากสแกนดิเนเวียเพื่อมาฆ่าคนและสร้างอาณาจักรใหม่ หรือในยุคปัจจุบันที่เราต้องใช้ชีวิตอยู่กับความเสี่ยงที่จะเป็นโรคมะเร็ง กามโรค อัมพาต ถูกโจมตีทางอากาศ อุบัติเหตุบนทางรถไฟหรือท้องถนน’
“ข้อแรกที่เราจะลงมือทำคือการรวบรวมสติของเราเอง หากวันหนึ่งเราจะต้องถูกทำลายโดยระเบิดปรมาณู จงปล่อยให้มันระเบิดขณะที่เรากำลังอธิษฐาน ทำงาน สอนและอ่านหนังสือ ฟังเพลง อาบน้ำให้ลูก เล่นกีฬา หรือคุยเล่นกับเพื่อนระหว่างจิบเบียร์ไปด้วย อย่าตื่นตระหนกเป็นฝูงแกะที่เกาะกันเป็นกลุ่มและกังวลถึงแต่ระเบิด ใช่ครับเราอาจจะแตกละเอียดเพราะระเบิด แต่อย่าให้สิ่งนี้มาครอบงำจิตใจของเรา” “พระเจ้าจะทรงเช็ดน้ำตาทุกๆหยด... ความตายจะไม่มีอีกต่อไป การคร่ำครวญ การร้องไห้ และการเจ็บปวดจะไม่มีอีกต่อไป เพราะยุคเดิมนั้นได้ผ่านพ้นไปแล้ว” สำหรับกามูส์ เชื้อไวรัสเปรียบเสมือนความชั่วร้ายในมนุษย์ ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือในช่วงสงครามโลก ความชั่วร้ายเกาะกุมอยู่ในหัวใจและสังคมมนุษย์ และเกิดขึ้นได้ทุกที่ทุกเวลาเหมือนกับการติดเชื้อจากโรคระบาด กามูส์ไม่มีทางออกและขาดความหวังที่แท้จริง
พระเยซูคริสต์คือความหวังที่แท้จริงของเรา พระองค์ผู้เดียวที่รับเอาความบาปและความตายของมนุษย์ไปหมดสิ้นแล้ว ด้วยการสิ้นพระชนม์บนไม้กางเขนและทรงฟื้นคืนพระชนม์ “ในโลกนี้ท่านจะประสบความทุกข์ยาก แต่จงชื่นใจเถิด เพราะว่าเราได้ชนะโลกแล้ว” (ยอห์น 16:33)
คำว่า “กักตัว” ถูกนำมาใช้ครั้งแรกในศตวรรษที่ 14 ที่เมืองเวนิส และในปัจจุบันดูเหมือนจะมีความเกี่ยวข้องกับสถานการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นในประเทศอิตาลี ในสมัยก่อนเมืองเวนิสเคยเป็นศูนย์กลางการค้าขายทางทะเล เพื่อป้องกันไม่ให้โรคแพร่ระบาดเข้าไปในเมือง ทางการจึงออกคำสั่งให้เรือทุกลำต้องลอยอยู่กลางทะเล 40 วัน ก่อนที่จะเข้ามาจอดเทียบท่าได้
คริสเตียนจำนวนมากหลงลืมไปว่าเรากำลังอยู่ในช่วงเวลา 40 วันแห่งการใคร่ครวญ เพราะไวรัสกำลังดึงดูดความสนใจทั้งหมดของเรา เหมือนกับเหตุการณ์ในพระคัมภีร์ที่เปโตรละสายตาไปจากพระเยซูเพราะกลัวคลื่นลมที่พัดแรงและเรือที่กำลังจะจม (มัทธิว 14:29-30)
“จงชื่นชมยินดีในความหวัง จงอดทนต่อความยากลำบาก จงขะมักเขม้นอธิษฐาน” (โรม 12:12) ในช่วงเวลาที่เราต้องกักตัว เรายังคงสามารถมี 40 วันแห่งการใคร่ครวญได้เหมือนที่เคยทำ โดยการอธิษฐาน ถือศีลอด เข้าเฝ้าพระเจ้า มีชีวิตที่ยอมจำนนต่อพระเจ้าและทำตามน้ำพระทัยพระองค์ ให้เราถวายเกียรติพระเจ้าของเราด้วยการจดจ่อที่พระองค์ วางใจในพระองค์ เชื่อฟังและรับใช้พระองค์อย่างสัตย์ซื่อ เราต้องไม่ละเลยที่จะนมัสการพระองค์ในทุกกรณี ให้เราใช้ช่วงเวลาที่ได้อยู่คนเดียวและการหยุดนิ่งเพื่อเข้าเฝ้าพระเจ้า แม้เราจะรู้สึกโดดเดี่ยวและเหงาจากการ “เว้นระยะห่างทางสังคม” ก็ตาม ขอให้เราใช้ช่วงเวลานี้ที่จะติดสนิทกับพระเจ้าและมีชีวิตที่เหมือนพระเยซูมากขึ้น
ความจริงในพระวจนะของพระเจ้า “ใจแน่วแน่ในพระองค์นั้น พระองค์ทรงรักษาไว้ในสันติภาพอันสมบูรณ์ เพราะเขาวางใจในพระองค์” (อิสยาห์ 26:3) - Robert M. Solomon - แชร์บทความนี้ |