Tag  |  การหนุนใจ

อนุสรณ์ความกรุณาที่มีชีวิต

ผมโตมาในโบสถ์ที่เต็มไปด้วยธรรมเนียม ธรรมเนียมหนึ่งคือเมื่อสมาชิกครอบครัวหรือเพื่อนที่รักเสียชีวิต จากนั้นไม่นานที่ม้านั่งหรือภาพวาดที่ผนังตรงโถงทางเดินในโบสถ์มักจะมีแผ่นทองเหลืองจารึกว่า “เพื่อระลึกถึง...” จารึกชื่อของผู้จากไป ป้ายมันวาวนี้ย้ำเตือนถึงชีวิตหนึ่งที่จากไป ผมประทับใจอนุสรณ์เหล่านี้จนถึงทุกวันนี้ แต่ในขณะเดียวกันผมก็ได้คิดด้วยว่าป้ายเหล่านี้เป็นวัตถุและเป็นสิ่ง “ไม่มีชีวิต” มีวิธีไหนที่จะเพิ่มความ “มีชีวิต” ให้กับอนุสรณ์เหล่านี้ได้บ้าง

จุดประสงค์ในความเจ็บปวด

เมื่อซิว เฟิน รู้ว่าเธอมีอาการไตวายและต้องฟอกไตไปตลอดชีวิต เธอคิดจะยอมแพ้ หญิงโสดที่เกษียณ ผู้ติดตามพระเยซูมาเป็นเวลานานคนนี้ไม่อยากมีชีวิตอีกต่อไป แต่เพื่อนๆ หนุนใจให้เธออดทนและรับการฟอกไตแล้ววางใจว่าพระเจ้าจะช่วยเธอ

ส่งจดหมาย

รูบี้เป็นเหมือนเด็กวัยสี่ขวบทั่วไป เธอชอบวิ่ง ร้องเพลง เต้นรำ และเล่น เมื่อเธอเริ่มบ่นว่าเจ็บหัวเข่า พ่อแม่พาเธอไปตรวจ ผลออกมาน่าตกใจเพราะเธอเป็นมะเร็งระยะที่ 4 ที่ระบบเนื้อเยื่อประสาท รูบี้ต้องเข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาลทันที

พระพรของผู้หนุนใจ

ภาพยนตร์ในปี 2010 เรื่องประกาศก้องจอมราชา เป็นเรื่องราวของพระเจ้าจอร์จที่ 6 แห่งอังกฤษ ซึ่งต้องเป็นกษัตริย์โดยไม่คาดคิดเพราะพระเชษฐาทรงสละบัลลังก์ ขณะนั้นเกิดสงครามโลกครั้งที่สอง รัฐบาลจึงต้องการผู้นำที่พูดฉะฉานเพราะสื่อวิทยุมีอิทธิพลเพิ่มขึ้น แต่พระเจ้าจอร์จที่ 6 พูดติดอ่าง

ถึงเพื่อนรัก

ในศตวรรษแรก สิ่งที่อัครทูตยอห์นกระทำต่อกายอัส เพื่อนของท่านเป็นศิลปะที่กำลังจะถึงจุดจบในศตวรรษที่ยี่สิบเอ็ด นั่นคือ การเขียนจดหมาย

เสียงกระซิบ

ชายหนุ่มมีอาการกระสับกระส่ายระหว่างที่รอเครื่องบินขึ้น ตาของเขามองไปมาที่หน้าต่างเครื่องบิน จากนั้นเขาก็หลับตาและสูดหายใจลึกๆ เพื่อให้ใจสงบ แต่ไม่ได้ผล เมื่อเครื่องบินเริ่มบินขึ้น เขาโยกตัวไปข้างหน้าและข้างหลัง หญิงชราที่นั่งริมทางเดินฝั่งตรงข้ามเอื้อมมือมาแตะแขนเขาและชวนคุยเพื่อเบนความสนใจ เธอกระซิบกับเขาเบาๆ ว่า “คุณชื่ออะไรคะ” “คุณมาจากไหน” “เราจะปลอดภัยดี” และ “คุณทำได้ดีทีเดียว” ที่จริงเธออาจแสดงอาการรำคาญหรือไม่สนใจเขาก็ได้ แต่เธอเลือกที่จะสัมผัสและชวนเขาคุย สิ่งนี้อาจดูเล็กน้อยแต่เมื่อเครื่องลงจอดอีกสามชั่วโมงต่อมา เขาบอกกับเธอว่า “ขอบคุณมากครับที่ช่วยผมไว้”

ร่วมมือกัน

เพราะเหตุใดแต่ละปีจึงมีคนมากกว่าห้าล้านคนจ่ายเงินเพื่อจะได้วิ่งเป็นระยะทางหลายกิโลเมตร ผ่านทางวิบากที่ต้องปีนข้ามสิ่งกีดขวาง ลุยโคลน และไต่ขึ้นไปตามท่อที่มีน้ำไหลลงมา บางคนก็มองว่าเป็นความท้าทายส่วนตัวที่จะเพิ่มพูนความอดทนและการเอาชนะความกลัว บางคนก็ชื่นชอบเรื่องการทำงานเป็นทีมที่ผู้ร่วมแข่งขันจะต้องช่วยเหลือและสนับสนุนซึ่งกันและกัน มีคนหนึ่งใช้คำเรียกว่า “เขตปลอดการตัดสิน” ที่คนแปลกหน้าจะร่วมมือและช่วยเหลือกันให้ได้เข้าเส้นชัย (สเตฟานี คาโนวิทซ์ จากวอชิงตันโพสต์)

ไปให้ถึงเส้นชัย

ในการแข่งขันโอลิมปิคริโอเกมส์ ปี 2016 นักวิ่งระยะ 5,000 เมตรสองคนได้รับความสนใจจากผู้ชมทั่วโลก ขณะวิ่งไปได้ราว 3,200 เมตร นิกกี้ แฮมบลินจากนิวซีแลนด์ และ แอบบี้ ดิเอโกสติโนนักวิ่งอเมริกัน เกิดวิ่งชนกันและล้มลง แอบบี้ลุกขึ้นเร็วกว่าและเธอหยุดเพื่อช่วยนิกกี้ หลังจากวิ่งต่อไปได้ไม่นาน แอบบี้ก็เริ่มเซ ขาขวาของเธอบาดเจ็บ คราวนี้นิกกี้จึงหยุดวิ่งเพื่อให้กำลังใจแอบบี้ ในที่สุดแอบบี้ก็ไปถึงเส้นชัย โดยมีนิกกี้คอยอยู่ที่เส้นชัยเพื่อสวมกอดเธอ ถือเป็นภาพที่งดงามของการให้กำลังใจซึ่งกันและกัน

อย่าวิ่งคนเดียว

แจ็ค สามีของฉันรู้สึกหมดแรง เมื่อเขาวิ่งไปได้ 40 กิโลเมตรจากระยะทางทั้งหมด 41 กิโลเมตร

เราใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ หากท่านใช้บริการเว็บไซต์นี้ต่อไป นั่นเป็นการแสดงว่าท่านยอมรับ นโยบายการใช้คุกกี้ของเรา