เด็กหนุ่มชาวซามัวส่วนใหญ่มักจะสักเพื่อเป็นสัญลักษณ์ถึงความรับผิดชอบต่อคนในเผ่าและหัวหน้าเผ่า ดังนั้นจึงเป็นเรื่องธรรมดาที่ทีมรักบี้ชายชาวซามัวจะมีรอยสักเต็มแขน ในการเดินทางไปประเทศญี่ปุ่นที่ซึ่งการสักมีความหมายไปในด้านลบ ทีมซามัวรู้ว่ารอยสักนี้อาจเป็นปัญหาสำหรับเจ้าภาพ พวกเขาจึงสวมปลอกแขนสีเดียวกับผิวปิดบังรอยสักไว้เพื่อแสดงถึงมิตรไมตรี “เราเคารพและให้ความใส่ใจ…ในวิถีของคนญี่ปุ่น” กัปตันทีมอธิบาย “เราจะต้องแน่ใจว่าสิ่งที่เราแสดงออกนั้นเหมาะสม”

ในยุคนี้ที่เน้นการแสดงออกส่วนบุคคล การจำกัดขอบเขตของตนเองจึงเป็นเรื่องไม่ธรรมดา เปาโลเขียนถึงเรื่องนี้ไว้ในหนังสือโรมว่าบางครั้งความรักทำให้เราสละสิทธิ์ของตนเพื่อผู้อื่น แทนที่จะดึงดันเสรีภาพไปจนสุดขอบ บางครั้งความรักก็ควบคุมเราไว้ ท่านอธิบายว่าบางคนในคริสตจักรเชื่อว่ามีอิสระที่จะ “กินอะไรอะไรก็ได้” แต่บางคนกิน “ผักเท่านั้น” (รม.14:2) สิ่งนี้อาจดูเป็นปัญหาเล็กน้อยสำหรับเรา แต่ในศตวรรษแรกการยึดถือกฎเรื่องอาหารในพระคัมภีร์เดิมสร้างความขัดแย้ง เปาโลสอนทุกคนว่า “อย่ากล่าวโทษกันและกันอีกเลย” (ข้อ 13) ก่อนจบด้วยคำกล่าวถึงผู้ที่กินอะไรก็ได้ว่า “เป็นการดีที่จะไม่กินเนื้อสัตว์หรือเหล้าองุ่นหรือทำสิ่งใดๆ ที่จะเป็นเหตุให้พี่น้องสะดุด” (ข้อ 21)

ในบางครั้งการรักผู้อื่นหมายถึงการจำกัดเสรีภาพของตัวเราเอง เราไม่จำเป็นต้องทำทุกอย่างตามที่เรามีเสรีภาพที่จะทำ ในบางครั้งความรักก็จะคอยควบคุมเราเอาไว้