เมื่อประเทศแอฟริกาใต้เปลี่ยนการปกครองจากรัฐบาลแบ่งแยกสีผิวเป็นประชาธิปไตยในปี 1994 ก็ได้พบปัญหาการจัดการอาชญากรรมที่เกิดจากนโยบายแบ่งแยกสีผิว ผู้นำประเทศไม่อาจเมินเฉยต่ออดีต แต่การลงโทษรุนแรงต่อผู้ทำผิดก็เสี่ยงต่อการทำให้บาดแผลของประเทศเลวร้ายยิ่งขึ้น เดสมอนด์ ตูตู อาร์คบิชอปแองกลิกันผิวสีคนแรกของแอฟริกาใต้อธิบายไว้ในหนังสือ ไม่มีอนาคตหากไม่มีการอภัย ว่า “เราทำให้เกิดความยุติธรรมได้อย่างแน่นอน เป็นความยุติธรรมที่เกิดจากการแก้แค้น และทำให้แอฟริกาใต้กลายเป็นเถ้าถ่าน”

โดยการจัดตั้งคณะกรรมการแห่งความจริงและการสมานฉันท์ ระบอบประชาธิปไตยใหม่เลือกหนทางที่ยากในการที่จะแสวงหาความจริง ความยุติธรรม และความเมตตา ผู้กระทำผิดได้รับการเสนอโอกาสให้กลับตัว หากเต็มใจสารภาพความผิดและจ่ายค่าเสียหาย โดยการเผชิญความจริงอย่างกล้าหาญเท่านั้นที่ทำให้ประเทศเริ่มได้รับการเยียวยา

สภาวะที่น่าลำบากใจของแอฟริกาใต้นี้สะท้อนการต่อสู้ที่เราทุกคนต้องเผชิญ เราเรียกว่าการร้องหาทั้งความยุติธรรมและความกรุณา (มคา.6:8) แต่ความกรุณามักถูกเข้าใจผิดว่าคือการขาดความรับผิดชอบ ในขณะที่การเรียกร้องความยุติธรรมอาจถูกบิดเบือนให้กลายเป็นการแก้แค้น

ทางเดียวที่เราจะมุ่งไปข้างหน้าคือความรักที่ไม่เพียง “เกลียดชังสิ่งที่ชั่ว”(รม.12:9) แต่ยังปรารถนาจะนำการเปลี่ยนแปลงและสิ่งดีไปสู่ “เพื่อนบ้าน” (13:10) ด้วยกำลังจากพระวิญญาณ เราเรียนรู้ที่จะมีอนาคตที่เอาชนะความชั่วด้วยความดีได้ (12:21)