ในนิทานโบราณเรื่อง เด็กชายกับถั่ว เด็กชายคนหนึ่งล้วงมือเข้าไปในขวดโหลที่มีถั่วอยู่ เขากำได้ถั่วเต็มมือ แต่เอามือออกจากโหลไม่ได้เขาไม่อยากเสียถั่วแม้แต่เม็ดเดียวจึงเริ่มร้องไห้ ในที่สุดมีคนให้คำแนะนำให้เขาปล่อยถั่วออกจากมือไปบ้างเพื่อจะเอามือออกจากโหลได้ ความละโมบอาจเป็นเจ้านายที่ดุดัน

ครูที่ฉลาดซึ่งเขียนพระธรรมปัญญาจารย์กล่าวถึงข้อคิดนี้ โดยใช้บทเรียนเกี่ยวกับมือและเกี่ยวข้องกับเรา ท่านเปรียบเทียบให้เห็นความแตกต่างระหว่างคนเกียจคร้านกับคนละโมบว่า “คนโง่งอมือ และกินเนื้อของตนเอง ความสงบสุขกำมือหนึ่งยังดีกว่าการงานตรากตรำสองกำมือและการกินลมกินแล้ง” (4:5-6) ขณะที่คนเกียจคร้านผัดวันประกันพรุ่งจนเกิดความเสียหาย คนที่อยากมั่งคั่งก็ตระหนักว่าความพยายามของตน “ไม่มีความหมาย เป็นกิจการที่หมดหวัง” (ข้อ 8)

ปัญญาจารย์สอนว่า สภาพที่น่าปรารถนาคือการละจากความละโมบเพื่อจะพบความพึงพอใจจากสิ่งที่เป็นของเราโดยแท้ เพราะสิ่งที่เป็นของเราก็จะคงอยู่เสมอ พระเยซูตรัสว่า “เพราะถ้าผู้ใดจะได้สิ่งของสิ้นทั้งโลก แต่ต้องเสียชีวิตของตน ผู้นั้นจะได้ประโยชน์อะไร” (มก.8:36)