นักประพันธ์ชื่อเฮนรี่ นูเวน ระลึกถึงการไปเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์ในกรุงเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก ประเทศรัสเชีย ซึ่งเขาใช้เวลาหลายชั่วโมงชื่นชมภาพวาดบุตรน้อยหลงหายที่วาดโดยเร็มแบรนดท์ เมื่อเวลาผ่านไป แสงธรรมชาติจากหน้าต่างด้านข้างทำให้นูเวนได้ชื่นชมภาพต่างๆ ที่ดูเปลี่ยนไป เนื่องจากแสงที่เปลี่ยนไปแต่ละภาพเผยให้เห็นความรักของบิดาในแง่มุมอื่นที่มีต่อบุตรที่หลงหาย

นูเวนอธิบายว่า ราวบ่ายสี่โมง คนสามคนในภาพ เหมือน “ก้าวออกมาข้างหน้า” คนหนึ่งคือบุตรคนโตที่ไม่พอใจเมื่อบิดาเต็มใจต้อนรับน้องชายผู้หลงหายให้กลับบ้านอย่างเอิกเกริก ทั้งที่เขาผลาญทรัพย์สมบัติของครอบครัวไปมากมาย นำความเจ็บปวดและอับอายมาสู่ครอบครัว (ลก.15:28-30)

อีกสองคนทำให้นูเวนระลึกถึงบรรดาผู้นำศาสนา ซึ่งอยู่ด้วยขณะที่พระเยซูกล่าวคำอุปมา พวกเขาบ่นถึงภูมิหลังของคนบาปที่พระเยซูเข้าไปคลุกคลีด้วย (ข้อ 1-2)

นูเวนเห็นตัวเองในคนเหล่านั้นคือ ในชีวิตที่สูญเปล่าของบุตรคนเล็กในคำกล่าวโทษของพี่ชายและบรรดาผู้นำศาสนา และในพระทัยของบิดาที่ยิ่งใหญ่เพียงพอสำหรับทุกคน

แล้วเราล่ะ เราเห็นตัวเองในภาพของเร็มแบรนดท์หรือไม่ ในบางแง่มุมทุกเรื่องราวที่พระเยซูเล่าล้วนเกี่ยวข้องกับเราไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง