“ของรักของข้า” ปรากฏครั้งแรกในมหากาพย์ไตรภาค เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ของโทลคีน ภาพกอลลั่มสิ่งมีชีวิตผอมแห้งที่หมกมุ่นกับ “แหวนแห่งอำนาจ” ที่มันรัก ได้กลายเป็นสัญลักษณ์ของความโลภ ความหมกมุ่นและความคลั่งไคล้ทุกวันนี้

เราเข้าใจปัญหานี้ดี ท่ามกลางความทรมานที่กอลลั่มทั้งรักทั้งเกลียดแหวนและชีวิตของตัวเอง เสียงของมันสะท้อนความหิวโหยในใจของเรา เวลาที่เราจะอยากได้สิ่งใดเป็นพิเศษหรือแค่รู้สึก “อยากมีมากขึ้น” เรามักมั่นใจว่าเมื่อเราได้ “ของรัก” ที่เราต้องการแล้ว เราจะพึงพอใจ แต่ไม่เป็นเช่นนั้น สิ่งที่เราคิดว่าจะทำให้เราเต็มอิ่ม กลับทำให้เรารู้สึกว่างเปล่ายิ่งกว่าเดิม

มีการดำเนินชีวิตอีกแบบหนึ่งที่ดีกว่า ดังที่ดาวิดเขียนไว้ในสดุดี 16 ว่าเมื่อความปรารถนาในใจเรา ส่งผลให้เราดำเนินชีวิตอย่างสิ้นหวัง (ข้อ 4) เราระลึกได้ว่าหันมาพึ่งพระเจ้าได้ (ข้อ 1) แล้วเตือนตัวเองว่า หากแยกจากพระองค์ เราก็ไม่มีอะไรเลย (ข้อ 2)

เมื่อเราเลิกมองหาความพึงพอใจ “จากที่ข้างนอกนั่น” แล้วหันมามองความงดงามของพระเจ้า (ข้อ 8) ในที่สุดเราจะได้ลิ้มรสความพึงพอใจที่แท้จริง คือชีวิตที่ดื่มด่ำกับความชื่นบานต่อพระพักตร์พระองค์” และเดินกับพระองค์ทุกเวลาใน “วิถีแห่งชีวิต” ทั้งตอนนี้และตลอดไป (ข้อ 11)