ระหว่างการฟื้นฟูใหญ่ในหมู่เวลส์ต้นศตวรรษที่ 20 จี.แคมป์เบลล์มอร์แกน ครูสอนพระคัมภีร์และนักประพันธ์ได้อธิบายสิ่งที่เขาสังเกตเห็น เขาเชื่อว่าพระวิญญาณของพระเจ้าทรงเคลื่อนไหวท่ามกลาง “คลื่นบทเพลงศักดิ์สิทธิ์” ดนตรีสร้างความเป็นหนึ่งเดียวกันในที่ประชุม ซึ่งหนุนใจให้ทุกคนอธิษฐานสารภาพบาป และร้องเพลงตามความสมัครใจหากมีใครที่ไปตามอารมณ์และอธิษฐานยาวเกินไป หรือพูดไม่สอดคล้องกับผู้อื่น ก็จะมีคนเริ่มร้องเพลงเบาๆ และคนอื่นจะร่วมร้อง และเสียงประสานจะค่อยๆ ดังขึ้นจนกลบเสียงอื่น

บทเพลงฟื้นฟูเช่นนี้มีอยู่ในพระคัมภีร์ซึ่งกล่าวถึงบทบาทสำคัญของดนตรี เพื่อเฉลิมฉลองชัยชนะ (อพย.15:1-21) ในการนมัสการถวายพระวิหาร (2 พศด.5:12-14) และเป็นกลยุทธ์ในกองทัพ (20:21-23) ในพระคัมภีร์ยังมีบทเพลงสดุดีอยู่กลางเล่ม (สดด.1-150) และในพันธสัญญาใหม่ มีจดหมายจากเปาโลถึงชาวเอเฟซัส อธิบายถึงชีวิตในพระวิญญาณที่ “ปราศรัยกันด้วยเพลงสดุดี เพลงนมัสการ และเพลงสรรเสริญ” (อฟ.5:19)

บทเพลงเกี่ยวกับความเชื่อช่วยให้เราเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันท่ามกลางความขัดแย้ง ในการนมัสการและทุกเรื่องของชีวิต เมื่อบทเพลงทั้งเก่าและใหม่สอดคล้องกัน เราได้รับการฟื้นฟูครั้งแล้วครั้งเล่า ไม่ใช่โดยฤทธิ์เดชหรือกำลัง แต่โดยพระวิญญาณและบทเพลงของพระเจ้า