นี่ไม่ใช่เพียงแค่การข้ามแม่น้ำ ตามกฎหมาย แม่ทัพโรมันทุกคนห้ามนำกองทัพเข้ากรุงโรม ดังนั้นเมื่อจูเลียส ซีซาร์ยกกองพลที่สิบสามของเขาข้ามแม่น้ำรูบิคอนเข้าสู่อิตาลีในปี 49 กคศ. จึงถือว่าเป็นกบฏ ผลลัพธ์ของการตัดสินใจของซีซาร์ไม่อาจย้อนกลับได้ ทำให้เกิดสงครามกลางเมืองอยู่หลายปีก่อนที่เขาจะกลายเป็นผู้ปกครองที่มีสิทธิ์ขาดเพียงผู้เดียว ทุกวันนี้คำว่า “ข้ามแม่น้ำรูบิคอน” ยังใช้สื่อความหมายว่า “ย้อนกลับไม่ได้แล้ว”

บางครั้งเราข้ามแม่น้ำรูบิคอนในเรื่องความสัมพันธ์ เพราะถ้อยคำที่เราพูดกับผู้อื่นเมื่อพูดไปแล้วก็ไม่สามารถเรียกกลับได้ เมื่อคำพูดออกจากปาก ย่อมเป็นได้ทั้งความช่วยเหลือและปลอบโยนหรือทำร้าย ซึ่งย้อนกลับไม่ได้เหมือนที่ซีซาร์เคลื่อนพลเข้าโรม ยากอบบรรยายภาพเกี่ยวกับคำพูดว่า “ลิ้นนั้นก็เป็นไฟ ลิ้นเป็นโลกที่ไร้ธรรมในบรรดาอวัยวะของเรา เป็นเหตุให้ทั้งกายมลทินไปทำให้วัฏฏะแห่งชีวิตเผาไหม้ และมันเองก็ติดไฟโดยนรก” (ยก.3:6)

เมื่อเรากังวลว่าเราได้ข้ามแม่น้ำรูบิคอนกับใครไป เราทูลขอการยกโทษจากเขาและจากพระเจ้าได้ (มธ.5:23-24; 1 ยน.1:9) แต่ที่ดียิ่งกว่าคือให้เราพักในพระวิญญาณของพระเจ้าทุกวัน ตามคำของเปาโลที่ว่า “จงให้วาจาของท่านประกอบด้วยเมตตาคุณเสมอ” (คส.4:6) เพื่อถ้อยคำของเราจะไม่เพียงถวายเกียรติพระเจ้า แต่ยกชูและหนุนใจคนรอบข้างด้วย