Tag  |  ความพึงพอใจ

จงนิ่งเสีย!

ลองนึกภาพพ่อหรือแม่ที่อยู่ตรงหน้าเด็ก นิ้วชี้แตะจมูกและปากพร้อมทำเสียง “จุ๊ๆ” เบาๆ ด้วยความรัก ท่าทางและคำนี้มีไว้ปลอบโยนเด็กเล็กที่งอแงเพราะความผิดหวัง ไม่สบายตัวหรือเจ็บปวด ภาพแบบนี้เหมือนกันทั่วโลกในทุกยุคสมัยและเราต่างเคยให้หรือได้รับการแสดงความรักแบบนี้มาแล้ว ผมนึกถึงภาพนี้เมื่อผมใคร่ครวญสดุดี 131:2

ชิ้นที่ดีที่สุด

"ชิ้นของน้องใหญ่กว่าของผม!” ตอนเป็นเด็กผมกับพี่น้องมักโต้เถียงกันเรื่องแม่แบ่งพายให้ไม่เท่ากัน พ่อรู้สึกว่าเป็นเรื่องน่าขบขัน วันหนึ่งท่านยิ้มขณะส่งจานให้แม่แล้วบอกว่า “ช่วยตักพายชิ้นใหญ่เท่าหัวใจคุณให้ผมหน่อย” ผมกับพี่น้องมองด้วยความประหลาดใจขณะที่แม่หัวเราะและตักพายชิ้นใหญ่ที่สุดให้พ่อ

สันติสุขอันสมบูรณ์

เพื่อนคนหนึ่งเล่าให้ฟังว่าเธอแสวงหาสันติสุขและความพึงพอใจมาหลายปี เธอกับสามีมีธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ เธอจึงมีเงินซื้อบ้านหลังใหญ่ เสื้อผ้าสวยๆ และเครื่องประดับราคาแพง แต่ของเหล่านี้ไม่ตอบสนองความปรารถนาสันติสุขในจิตใจของเธอ การมีเพื่อนเป็นคนใหญ่คนโตก็เช่นกัน แต่แล้ววันหนึ่ง ตอนที่เธอรู้สึกเศร้าและสิ้นหวัง เพื่อนคนหนึ่งก็เล่าข่าวประเสริฐของพระเยซูให้เธอฟัง เธอได้พบองค์สันติราช และความเข้าใจเรื่องสันติสุขและความพึงพอใจแท้ของเธอก็เปลี่ยนไปตลอดกาล

ข้อเสนอดีที่สุด!

มากเท่าไรจึงจะพอ เราอาจถามคำถามนี้ในวันที่ประเทศพัฒนาแล้วหลายประเทศถือเป็นวันแห่งการจับจ่ายซื้อของ ฉันหมายถึงวันที่เรียกว่าแบล็ค ฟรายเดย์ หรือวันถัดจากวันขอบคุณพระเจ้า ซึ่งร้านค้าต่างเปิดทำการแต่เช้าและขายสินค้าลดราคา เป็นวันที่เริ่มต้นในสหรัฐและขยายไปหลายประเทศ นักจับจ่ายบางคนมีเงินจำกัดและพยายามหาซื้อของตามเงินที่มี แต่น่าเศร้าที่หลายคนจับจ่ายซื้อของด้วยความโลภและใช้ความรุนแรงแย่งกันซื้อสินค้าราคาถูก

สติปัญญาของผู้เขียนพระคัมภีร์เดิมที่รู้จักในชื่อ “ปัญญาจารย์” (1:1) ให้ยาแก้กระแสบริโภคนิยมอย่างบ้าคลั่งที่เราอาจพบเจอในร้านค้าต่างๆ และในใจของเราเอง ท่านชี้ว่าคนที่รักเงินจะไม่มีวันพอและจะถูกทรัพย์สมบัติของตัวเองครอบงำ กระนั้น พวกเขาก็จะตายตัวเปล่า “เขาได้คลอดมา...ฉันใดเขาจะกลับไปอีกเช่นเดียวกันฉันนั้น” (5:15) อัครทูตเปาโลกล่าวเหมือนปัญญาจารย์ในจดหมายถึงทิโมธี เมื่อท่านบอกว่าการรักเงินทองคือรากแห่งความชั่วทั้งปวง และเราควรแสวงหา “ทางของพระเจ้าพร้อมทั้งความสุขใจ”(1 ทธ.6:6-10)

ไม่ว่าเราจะอยู่อย่างมั่งคั่งหรือไม่ เราต่างหาวิธีการแย่ๆ มาเติมเต็มหัวใจที่ว่างเปล่าเพราะขาดพระเจ้า แต่เมื่อเราแสวงหาสันติสุขและความสุขสมบูรณ์จากพระเจ้า พระองค์จะทรงเติมเต็มเราด้วยความดีและความรักของพระองค์

หลงใหลการเปรียบเทียบ

โธมัส เจ. ดีลองซึ่งเป็นศาสตราจารย์ที่คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดได้ตั้งชื่อแนวคิดที่แพร่หลายในหมู่นักศึกษาและเพื่อนร่วมงานของเขาว่า “หลงใหลการเปรียบเทียบ” เขาเขียนว่า “มากกว่าที่เคยเป็นมา...ที่บรรดานักบริหารธุรกิจ นักวิเคราะห์หุ้นวอลสตรีท นักกฎหมาย แพทย์และมืออาชีพด้านต่างๆ ถูกครอบงำให้เปรียบเทียบความสำเร็จของตนเองกับผู้อื่น...การทำเช่นนี้ส่งผลร้ายทั้งต่อตัวบุคคลและต่อองค์กร เมื่อคุณนิยามความสำเร็จตามปัจจัยภายนอกมากกว่าภายใน คุณก็กำลังลดทอนคุณค่าของความพึงพอใจ และการอุทิศตัวของคุณลง”

บทเรียน

แมรี่เป็นม่ายและมีปัญหาสุขภาพรุมเร้า ลูกสาวจึงชวนแม่ให้ย้ายมาอยู่ “อพาร์ตเม้นต์คุณยาย” ใกล้บ้านเธอ แม้จะต้องจากเพื่อนและครอบครัวไปไกล แต่แมรี่ก็ชื่นชมยินดีกับการจัดเตรียมของพระเจ้า

หัวใจที่อุทิศถวาย

นักธุรกิจคริสเตียนที่ประสบความสำเร็จคนหนึ่งเล่าให้เราฟังว่า จิตใจเขาต่อสู้เรื่องท่าทีต่อความร่ำรวย เขาออกตัวว่า “ความรวยทำให้ผมกลัว” พร้อมอ้างอิงถึงข้อพระคัมภีร์ ที่รบกวนจิตใจเขา เช่น ลูกา18:25 “เพราะว่าตัวอูฐจะลอดรูเข็ม ก็ง่ายกว่าคนมั่งมีจะเข้าในแผ่นดินของพระเจ้า” หรือลูกา16:19-32 เรื่องเศรษฐีกับลาซารัสที่สุดท้ายแล้วเศรษฐีก็ตกนรก และคำอุปมาเรื่องเศรษฐีโง่ในลูกา 12:16-21 นักธุรกิจคนนั้นกล่าวว่า “แต่ผมก็ได้เรียนรู้บทเรียนจากข้อสรุปของซาโลมอนเรื่องความมั่งคั่งว่าทุกสิ่งก็ ‘อนิจจัง’” (ปัญญาจารย์ 2:11) เขาตั้งใจจะไม่ให้เงินทองมาขัดขวางความทุ่มเทต่อพระเจ้า แต่จะรับใช้พระองค์ด้วยทรัพย์สินของเขาและช่วยเหลือคนขัดสน

เป็นเรื่องอะไรของเจ้าเล่า

โซเชียลมีเดียมีประโยชน์มาก แต่ฉันไม่ได้รับประโยชน์ในแง่ความพึงพอใจ แม้เป้าหมายที่ฉันตั้งไว้จะดี แต่ฉันยังรู้สึกท้อใจเมื่อเห็นคนอื่นทำสำเร็จก่อนหรือได้ผลลัพธ์ที่ดีกว่า ฉันจึงต้องเตือนตัวเองเสมอๆ ว่า พระเจ้าไม่ได้ประทานให้ฉันน้อยเกินไป พระองค์ประทานทุกอย่างที่จำเป็นสำหรับการทำงานที่พระองค์ทรงต้องการให้ฉันทำแล้ว

หลงทาง

การสำรวจออนไลน์ที่จัดทำโดยบริษัทกฎหมายในนิวยอร์คทำให้เห็นว่า ในย่านวอลล์สตรีทมีนักเล่นหุ้น นายหน้าค้าหุ้น นักการธนาคาร และผู้ที่มีอาชีพเกี่ยวข้องกับการให้บริการทางการเงินร้อยละ 52 มีความเกี่ยวข้องกับกิจกรรมผิดกฎหมาย หรือเชื่อว่าตนจะต้องยอมเกี่ยวข้องกับกิจกรรมผิดกฎหมายจึงจะประสบความสำเร็จ การสำรวจสรุปว่าผู้เชี่ยวชาญด้านการเงินเหล่านี้ “สูญเสียความรู้สึกผิดชอบชั่วดี” ไปแล้ว และ “ยอมรับว่าการกระทำความผิดร่วมกันเป็นหมู่คณะคือความผิดที่ต้องทำ"

เราใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ หากท่านใช้บริการเว็บไซต์นี้ต่อไป นั่นเป็นการแสดงว่าท่านยอมรับ นโยบายการใช้คุกกี้ของเรา