เมื่อคุณไปตามเมืองสำคัญๆ ของโลก คุณจะได้เห็นประตูที่มีชื่อเสียงเช่น ประตูบรันเดนบูร์ก (เบอร์ลิน) ประตูยัฟฟา (เยรูซาเล็ม) และประตูที่ถนนดาวนิ่ง (ลอนดอน) ไม่ว่าประตูจะถูกสร้างขึ้นเพื่อป้องกันหรือใช้ในพิธีการ ต่างก็สื่อถึงความแตกต่างระหว่างการอยู่ด้านนอกกับการอยู่ด้านใน ประตูเหล่านั้น บ้างก็เปิดให้ทุกคนเข้าได้ บ้างก็เปิดให้เฉพาะบางคน

ประตูเข้าสู่เบื้องพระพักตร์พระเจ้าเปิดอยู่เสมอ บทเพลงสดุดี 100 ที่เราคุ้นเคย เป็นคำเชื้อเชิญชนอิสราเอลให้เข้าสู่เบื้องพระพักตร์พระเจ้าผ่านประตูพระนิเวศ พวกเขาต้อง “โห่ร้องยินดี” และ “เข้าเฝ้าพระองค์ด้วยบทเพลงชื่นบาน” (ข้อ 1-2 อมตธรรม) ในสมัยโบราณการโห่ร้องยินดีเป็นการถวายการต้อนรับที่คู่ควรกับพระราชา ชาวโลกทั้งสิ้นต้องร้องเพลงเรื่องพระเจ้าด้วยความชื่นบานเสียงชื่นชมยินดีนี้มาจากการที่พระเจ้าได้ทรงมอบตัวตนให้กับพวกเขา (สดุดี 100:3) พวกเขาเข้าประตูด้วยการสรรเสริญและโมทนาเพราะพระเจ้าประเสริฐและความรักมั่นคงของพระองค์ดำรงอยู่ทุกชั่วชาติพันธุ์ (สดุดี 100:4-5) แม้ยามที่พวกเขาลืมว่าตนเองเป็นใครและหลงห่างไปจากพระเจ้า พระองค์ยังคงสัตย์ซื่อและเชื้อเชิญพวกเขาให้เข้าสู่เบื้องพระพักตร์พระองค์

ประตูเข้าสู่เบื้องพระพักตร์พระเจ้ายังคงเปิดอยู่ เชื้อเชิญเราให้เข้ามาถวายนมัสการ